Business Model ตอนที่ 27 กลยุทธ์ Lock-in ปิดประตูใจให้ลูกค้าไม่ไปไหน

Business Model ตอนที่ 27 กลยุทธ์ Lock-in ปิดประตูใจให้ลูกค้าไม่ไปไหน

สิ่งนี้เรียกว่า กลยุทธ์ Lock-in ที่ทำให้ลูกค้าต้องกลับมาซื้อสินค้าของตัวเองอีกครั้ง เนื่องจากสินค้าที่ลูกค้าซื้อไปใช้นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้สินค้าจากแบรนด์เดียวกันเท่านั้น ไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจและใช้สินค้าของเราไปอีกนาน กำไรและรายได้ของบริษัทจะได้มาจากการขายสินค้าชิ้นนั้นซ้ำๆ ให้กับลูกค้าเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นแหล่งที่มารายได้หลักจึงเป็นเจ้ากาแฟแคปซูลนี่แหละ

Nespresso นับเป็นการเปลี่ยน Business Model ครั้งใหญ่ของ Nestle เลยก็ว่าได้ ตลาดกาแฟสำเร็จรูปแบบซองมันจะมีอะไรให้น่าเล่นและท้าทายนักหนา ขณะที่รายอื่นๆ พยายามคิดค้นสูตรกาแฟใหม่ๆ แต่ Nestle เขามาเวย์อื่นๆ ฉีกตัวเองและตลาดด้วยการเปลี่ยน Business Model ใหม่นี่สิ

มัดลูกค้าด้วยโมเดลแบบ Lock-in

เรารู้ว่าทุกคน กำลังคิดหัวแทบแตก มันจะมีวิธีทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ แบบระยะยาวโดยที่ไม่ทำร้ายธุรกิจด้วยการทำให้ลูกค้าเสพติดโปรโมชัน แน่นอนการสร้าง Brand Loyalty ก็เป็นหนึ่งในหลายสิ่งอย่างที่ทุกคนคิด (แต่ความเป็นจริงก็ไม่ได้ง่ายเลย) เราเลยคิดถึงสิ่งที่ Nestle เคยทำและคิดว่ามันน่าสนใจไม่น้อยทีเดียวที่อยากจะแนะนำให้พวกคุณลองดู Nestle เปิดตัว Nespresso ขึ้นมาเป็นแบรนด์ที่วางตำแหน่ง (Positioning) ระหว่างกาแฟสดและกาแฟสำเร็จรูป ภายใต้รูปแบบที่มีนวัตกรรมเครื่องชงกาแฟผ่านแคปซูลอัตโนมัติ เพียงนำแคปซูลเข้าเครื่องทำเอสเพรสโซ่ กดปุ่ม นั่งรอ ก็จะได้เครื่องดื่มที่ไม่ต่างกับบาริสต้ามานั่งชงให้ แหม่ ดูเผินๆ เหมือน Nespresso ขายเครื่องใช่ไหม แต่บอกได้เลยว่าไม่ใช่เป้าหมาย เจ้าเครื่องนี่เพียงแต่ทำหน้าที่ไม่ให้ลูกค้าหันไปใช้แบรนด์อื่นเท่านั้น Nespresso รู้ดีว่าเมื่อมีเครื่อง คุณต้องกลับมาซื้อแคปซูลเรื่อยๆ เขาจึงออกแบบมาพิเศษให้เจ้าเครื่องนี่และแคปซูลไม่สามารถไปใส่กับเจ้าอื่นๆ ได้นอกจากคุณต้องเปลี่ยนเครื่องเท่านั้น ซึ่งการเปลี่ยนแบรนด์ของลูกค้าจะทำให้ลูกค้าเสียค่าต้นทุนของการเปลี่ยนใจ (Switching cost) เนื่องจากต้นทุนแฝงในการเปลี่ยนต่างๆ มีสูง และเมื่อลูกค้ามองว่าจะเกิดความเสี่ยงที่ต้องเปลี่ยนสินค้าใหม่ที่ไม่แน่ใจอีกว่าจะดีเท่าของเก่าหรือไม่ เท่ากับตัดคู่แข่งไปได้อีกหนึ่งทาง สิ่งนี้เรียกว่า กลยุทธ์ Lock-in ที่ทำให้ลูกค้าต้องกลับมาซื้อสินค้าของตัวเองอีกครั้ง เนื่องจากสินค้าที่ลูกค้าซื้อไปใช้นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้สินค้าจากแบรนด์เดียวกันเท่านั้น ไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจและใช้สินค้าของเราไปอีกนาน กำไรและรายได้ของบริษัทจะได้มาจากการขายสินค้าชิ้นนั้นซ้ำๆ ให้กับลูกค้าเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นแหล่งที่มารายได้หลักจึงเป็นเจ้ากาแฟแคปซูลนี่แหละ Nespresso รู้ดีว่าเครื่องทำกาแฟสิ่งที่เสียง่ายที่สุดคือวงยางรอบๆ ที่ใช้กันการรั่วซึมของน้ำเวลาที่มีแรงดัน หากยางเสื่อมเร็วเครื่องก็จะสั้นตามไป เสียโอกาสในการสร้างการซื้อกาแฟแคปซูลซ้ำ ทีมวิศวกรของ Nespresso แก้ไขเรื่องดังกล่าวด้วยการติดวงยางไว้ที่กาแฟแคปซูลแทน เป็นการยืดอายุการใช้งานเครื่องทำกาแฟให้นานขึ้นและยังสร้างระบบปิดให้ผลิตภัณฑ์อีกด้วย

Lock-in ในอุตสาหกรรมอื่น

Nespresso ไม่ใช่รายแรก โมเดลเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ
  1. Gillette (มีดโกนและใบมีด)
  2. Kodak (กล้องและฟิล์ม)
  3. Packard (เครื่องพิมพ์และหมึก)
  4. Sony (กล้องและเลนส์)
  5. Apple (อุปกรณ์และระบบ iOS)
เราสามารถสร้างคุณค่ามากมายผ่านผลิตภัณฑ์และบริการของเรา เพื่อทำให้ลูกค้าล็อคตัวเองไว้กับสินค้านั้นๆ การจะใช้กลยุทธ์ Lock-in บริษัทจึงต้องมั่นใจว่า สินค้าของคุณจะมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมพอที่ลูกค้าจะชื่นชอบเป็นสาวกให้ใช้สินค้าของเราต่อไป ทำให้ลูกค้ามั่นใจและจะไม่เปลี่ยนใจไปใช้แบรนด์อื่น ที่ขายสินค้าเหมือนหรือคล้ายกัน ส่วนใหญ่แล้วบริษัทมักจะผลิตสินค้าที่ต้องใช้คู่กันกับสินค้าชิ้นนั้นออกมา เพื่อเป็นการดึงลูกค้าไปไม่ให้ใช้สินค้าของแบรนด์อื่นๆ  

มาตีโจทย์ให้แตกกับ BMC FOR ENTREPRENEUR

หลักสูตร “Business Model for Entrepreneur” รุ่นที่ 5 เพิ่มยอดขาย ต่อยอดไอเดียธุรกิจ และก้าวข้ามการล่มสลายในธุรกิจ SME ด้วย Business Model เพื่อรวบรวมความคิดของคุณได้อย่างเป็นขั้นตอน ร่วมค้นหาจุดแข็งที่ควรทำให้โดดเด่นและปรับปรุงจุดอ่อน “เราสอนให้คุณเข้าใจได้ง่ายเพื่อนำไปใช้ให้เห็นผลจริง” โดยดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/2QdnEbs ติดต่อได้ที่ E-mail : supat.u[email protected] โทรศัพท์: 083-8536076  

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/