Business Model ตอนที่ 30 หากอยากขายของได้ทุกยุค ต้องกลยุทธ์ Mass customization

Mass customization เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจเริ่มปรับแต่งนำมาใช้ในธุรกิจมากขึ้น เพราะโลกธุรกิจของเราเริ่มปรับเปลี่ยนการตลาดและการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ

เริ่มต้นยุคใหม่ที่ทุกอย่างลูกค้าต้อง Custom ได้

Mass customization เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจเริ่มปรับแต่งนำมาใช้ในธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากทุกวันนี้ โลกธุรกิจของเราเริ่มปรับเปลี่ยนการตลาดและการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการหรือแนวโน้มของผู้บริโภคมากขึ้น ผนวกกับการเข้ามาของเทคโนโลยีบางประการที่ทำให้การแข่งขันบางอุตสาหกรรมแข่งแกร่งขึ้น หรือทำให้บางอุตสาหกรรมหายไปเลยจากสนามการค้าก็มีมาแล้ว ปกติแล้ว เวลาธุรกิจจะเริ่มต้นทำการตลาดจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Market segmentation ที่ได้จากข้อมูลเชิงประชากร อาทิ เพศ อายุ รายได้ การศึกษา เขตที่อยู่อาศัย เป็นต้น จากนั้นก็จะนำมาวิเคราะห์ตลาดเพื่อออกสินค้าและบริการ ซึ่งวิธีดังกล่าวแทบใช้ไม่ได้ผลแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากวิธีการแบบเดิมเป็นการจำแนกที่ผิวเผินเกินไป ขณะที่การเข้าถึงข้อมูล (Data) ที่เป็นพฤติกรรม (Behaviors) หรือข้อมูลที่แยกย่อยลงไปอีก อย่างเช่น แฟนบอล (มีส่วนร่วมกับเนื้อหาปานกลาง), แฟนบอล (มีส่วนร่วมกับเนื้อหาสูง), เพื่อนของแฟนฟุตบอล, กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาม กำลังศึกษาระดับมหาวิทยาลัย, ผู้จัดการฝ่ายขาย, CEO, Barista, แอดมินเพจ, ไปกลับระหว่างที่ทำงานกับบ้าน, เพิ่งกลับมาจากการท่องเที่ยวเมื่อ 1 สัปดาห์ที่แล้ว เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ยังสามารถทำให้เกิดการผสมรวมกันได้ จนเกิดสิ่งที่เรียกว่าตลาดจำเพาะ (Niche market) และกลายเป็น Mass Customization ขึ้น หรือการผลิตแบบความต้องการเฉพาะของลูกค้า

ถึงทางตันของ Economy of Scale

ย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว การผลิตที่เพื่อลดต้นทุนโดยการเน้นจำนวนมากๆ เป็นที่นิยมอย่างมาก แต่จากการเปลี่ยนไปของการเข้าถึงข้อมูลผู้บริโภคแบบกลยุทธ์ Mass customization ทำให้ค้นพบว่า การผลิตแบบ Economy of Scale ในธุรกิจแทบไปต่อได้ยาก ขณะที่อุตสาหกรรมที่เน้นสร้างมาตรฐาน มีความคิดสร้างสรรค์ เน้นงานดีไซน์ สร้างมาสร้างสินค้าและบริการแบบใหม่หรือแบบจำเพาะให้กับลูกค้าแต่ละราย หรือแต่ละกลุ่มนั้น กำลังเติบโตมากในยุคนี้ ซึ่งสามารถแบ่งการผลิตจำเพาะตามความต้องการของลูกค้า (Mass customization) ออกมาได้ 3 ประเภทดังนี้
  1. ผลิตตามสั่ง (Make to Order) เป็นระบบแบบระบบ Pull เช่น กางเกงยีนส์ยี่ห้อ Levi’s ที่ให้บริการ Levi’s personal pairs ที่ลูกค้าสามารถออกแบบกางเกงยีนส์ให้เหมาะกับรูปร่างซึ่งมีให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลังจากนั้นพนักงานจะนำกางเกงที่ลูกค้าออกแบบไว้ไปผลิตก่อนที่จะส่งสินค้ากลับไปยังร้านและส่งต่อให้ลูกค้าอีกที เพราะลูกค้าสามารกำหนดไซต์หรืออื่นได้ตามที่ต้องการ ซึ่งกลายมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ
  2. ผลิตเพื่อเก็บสต็อก (Make to Stock) เป็นระบบแบบระบบ Push เช่น การใช้การพยากรณ์จากข้อมูลพฤติกรรมและข้อมูลแยกย่อยแบบละเอียด หรือสังเกตจากความคิดเห็นของผู้บริโภคที่เจอปัญหาหรือใช้งานสินค้าและบริการลำบาก แล้วไม่ชอบ ผู้ประกอบการก็พัฒนาเป็นสินค้าตัวใหม่
  3. ประกอบตามสั่ง (Assembly to Order) เป็นระบบแบบ Push-Pull เช่น Dell computer ที่เปิดให้ลูกค้าสามารถประกอบสินค้าขึ้นมาเองได้ โดยเลือกจากความต้องการของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสเป็ค ความเร็ว ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอื่นๆ ที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ความใจชอบ หรืออุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มักจะให้ลูกค้าได้เลือกรถรุ่นที่ต้องการ สีที่ต้องการ เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์ออโต้ รุ่นท็อปหรือไม่ท็อป
การทำธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Mass customization ช่วยทำให้ลูกค้าเกิดคสามจงรักภักดีกับแบรนด์หรือสินค้าถ้าเราสามารถผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ เหมาะกับธุรกิจที่สามารถผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้าได้เร็ว มีระบบหลังบ้านที่ดี สามารถตอบสนองต่อความยากในการผลิตค้าได้ สามารถสินค้าที่มีต้นทุนต่ำแต่ได้คุณภาพที่สูง ยิ่งในอุตสาหกรรมที่รับออร์เดอร์ออนไลน์หรือที่มีคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์เข้ามาช่วยนั้น ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตอบสนองของลูกค้ารวมถึงขนาดของการผลิตสินค้าจำนวนมาก  

มาตีโจทย์ให้แตกกับ BMC FOR ENTREPRENEUR

หลักสูตร “Business Model for Entrepreneur” รุ่นที่ 5 เพิ่มยอดขาย ต่อยอดไอเดียธุรกิจ และก้าวข้ามการล่มสลายในธุรกิจ SME ด้วย Business Model เพื่อรวบรวมความคิดของคุณได้อย่างเป็นขั้นตอน ร่วมค้นหาจุดแข็งที่ควรทำให้โดดเด่นและปรับปรุงจุดอ่อน “เราสอนให้คุณเข้าใจได้ง่ายเพื่อนำไปใช้ให้เห็นผลจริง” โดยดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/2QdnEbs ติดต่อได้ที่ E-mail : supat.u[email protected] โทรศัพท์: 083-8536076  

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/