สิ่งที่ Tim Cook ทำเรียกว่ากลยุทธ์ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไป (No frills) จะหมายถึงคุณค่าของสินค้าและบริการที่ลดลงจนถึงจุดต่ำสุด หรือเรียกง่ายๆ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป หรือยิ่งน้อยยิ่งดี ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายถูกจำกัดไว้ให้ลูกค้าในรูปแบบของราคาถูกลง ทำให้เราได้เป็นเข้าของ Apple ในราคาไม่ถึง 50,000 บาท

Business Model ตอนที่ 31 ลดสเปกแบบฉบับ No Frills กลยุทธ์การขาย iPhone XR ของ Apple
-
- Posted byby sukchai
- 1 minute read
แม้จะใช้โมโครโพรเซสเซอร์ประมวลผลตัวเดียวกันกับ iPhone Xs และ iPhone Xs Max แต่ Apple ก็ยังคงเป็น Apple กลยุทธ์การกักสเปกสมาร์ทโฟนก็ยังเป็น License ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะปรับราคาเพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดเพิ่ม ให้กับคนที่อยากจับแบรนด์ Apple แต่รายได้ไม่ถึง โดยทำให้คุ้มกับราคาจ่ายมากที่สุด และกักสเปกบางส่วนไปอย่างเช่น หน้าจอใหม่ Liquid Retina HD (LCD) แต่ถ้าพูดราคา 29,900 ถึง 35,900 บาท แม้ว่าจะปรับให้ถูกลงแล้ว ก็ยังถือว่าสูงมาก ขณะที่ค่ายอื่นราคาขนาดนี้ได้ระดับสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปทีเดียว

สิ่งที่ Tim Cook ทำเรียกว่ากลยุทธ์ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไป (No frills)
โดยปกติแล้ว No frills จะหมายถึงการลดคุณค่าของสินค้าและบริการที่ลดลงจนถึงจุดต่ำสุด หรือเรียกง่ายๆ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป หรือยิ่งน้อยยิ่งดี ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายถูกจำกัดไว้ให้ลูกค้าในรูปแบบของราคาถูกลง ทำให้เราได้เป็นเข้าของ Apple ในราคาไม่ถึง 50,000 บาท และยังกลายเป็นหนึ่งในหลักการที่ได้ผลในการทำให้ราคาสินค้าถูกลง แต่ยังสร้างมาตรฐานในการขายสินค้าและบริการได้อยู่ โดยเจ้าของธุรกิจยังสามารถใช้ประโยชน์จากต้นทุนที่ต่ำลงและกระบวนการต่างๆ ก็ยังถูกลดลงอีกด้วย โดยที่ลูกค้ายังคงได้สินค้ามีคุณภาพในราคาประหยัด และยังเป็นการกระตุ้นทำให้ลูกค้าสนใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การลดคุณค่าของสินค้าและบริการที่ลดลงจนถึงจุดต่ำสุดไม่ใช่กลยุทธ์ที่เพิ่งจะมีในแวดวงของสมาร์ทโฟน แต่มันเริ่มชัดขึ้นในสายการบินต้นทุนต่ำ ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1950 สมัยนั้นสำหรับการใช้บริการเครื่องบินนั้น ถือเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้เฉพาะคนมีเงินเท่านั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงเกินไปสำหรับคนทั่วไป แต่ Southwest Airlines บิดาของสายการบินโลว์คอสผู้ค้นพบ Business Model ใหม่นี้ ขายราคาตั๋วบินเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการนี้ได้ โดยจ่ายเพียง 13 เหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าคู่แข่งซึ่งขายอยู่ 62 เหรียญสหรัฐ โดยใช้กลยุทธ์ No frills ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปนี่แหละ ปกติแล้วสายการบินอื่นๆ จะใช้เครื่องบินหลายรุ่นทำให้พนักงานซ่อมบำรุงและนักบินต้องเสียเวลาทำความคุ้นเคยกับรุ่นของเครื่องบินหลายชนิด แต่ Southwest Airlines เลยแก้ปัญหาด้วยการใช้รุ่นเดียวกันทั้งหมด และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเช่าลานจอดเครื่องบินด้วยการทำให้เวลาที่เครื่องบินจอดอยู่บนพื้นดินให้เหลือน้อยที่สุด และไม่มีบริการอาหารในเครื่องบินยกเว้นเครื่องดื่ม และไม่ขนย้ายสัมภาระไปให้สายการบินอื่น ไม่มีระบบจองที่นั่ง ด้วย Business Model ใหม่นี้ทำให้เป็นต้นแบบของการทำธุรกิจสายการบินโลว์คอสทั่วโลก นอกจากนี้ Business Model แบบ No frills ยังปรากฏในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ต่างประเทศเช่นกัน ที่มักจะขายสินค้าทั่วไปที่ไม่ใช่แบรนด์เนม มีพนักงานเพียงไม่กี่คน อาจจะไม่มีบริการถุงพลาสติกให้ ลูกค้าจะต้องนำถุงผ้ามาใช้เอง หรือถ้าต้องการถุงพลาสติกก็อาจจะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มเติม ธุรกิจแบบนี้เหมาะสำหรับตลาดที่มีลูกค้าที่ใส่ใจในราคาสินค้า หรือโดยเฉพาะลูกค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคา ที่มักจะซื้อสินค้าและบริการในราคาที่เหมาะสมกับพวกเขา เพราะฉะนั้นธุรกิจแบบนี้เหมาะกับธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการผลิตสินค้าต้นทุนต่ำแต่สินค้าและบริการยังคงได้มาตราฐานเท่าเดิมมาตีโจทย์ให้แตกกับ BMC FOR ENTREPRENEUR
หลักสูตร “Business Model for Entrepreneur” รุ่นที่ 5 เพิ่มยอดขาย ต่อยอดไอเดียธุรกิจ และก้าวข้ามการล่มสลายในธุรกิจ SME ด้วย Business Model เพื่อรวบรวมความคิดของคุณได้อย่างเป็นขั้นตอน ร่วมค้นหาจุดแข็งที่ควรทำให้โดดเด่นและปรับปรุงจุดอ่อน “เราสอนให้คุณเข้าใจได้ง่ายเพื่อนำไปใช้ให้เห็นผลจริง” โดยดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/2QdnEbs ติดต่อได้ที่ E-mail : supat.u[email protected] โทรศัพท์: 083-8536076DIGITAL BUSINESS CONSULT
สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบันBusiness Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/
