Business Model ตอนที่ 35 ทางลัดกระตุ้นยอดขายด้วยการให้ลูกค้าจ่ายแบบ Pay per use

ระบบจ่ายเมื่อใช้ (Pay per use) เป็นรูปแบบที่ให้ลูกค้าเลือกใช้บริการที่ตรงกับความต้องการด้วยตัวเอง และจ่ายเมื่อใช้เท่านั้น ส่งผลให้กระตุ้นยอดขายได้ดี

อยากจะยกเลิกการยกตัวอย่างรูปแบบโมเดลธุรกิจ Amazon.com ของ Jeff Bezos เหลือเกิน แต่ทำอย่างไรได้ในเมื่อมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกรายนี้มี Business Model ที่น่าสนใจจริงๆ โดยเฉพาะการปฏิวิติค่าใช้จ่ายเพื่อได้สิทธิ์เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานเซิร์ฟเวอร์ที่จำเป็น ในไลน์ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบการบริการบนระบบคลาวด์ที่ปลอดภัยที่ให้บริการความสามารถในการประมวลผล การจัดเก็บฐานข้อมูล การส่งเนื้อหาและฟังก์ชันการทำงานอื่นๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจขยายและเติบโตมากขึ้น หรือ ‘Amazon Web Services’ ในรูปแบบจ่ายเมื่อใช้ (Pay per use) ขณะที่รายอื่นๆ ขายเป็นแบบเหมาจ่ายแทน

 

ทำไมโมเดลนี้ ถึงถูกดึงมาใช้กับ Amazon Web Services ข้อดีคืออะไร?

ก็เพราะว่าระบบจ่ายเมื่อใช้ (Pay per use) เป็นรูปแบบที่ให้ลูกค้าเลือกใช้บริการที่ตรงกับความต้องการด้วยตัวเอง และจ่ายเมื่อใช้เท่านั้น ส่งผลให้กระตุ้นยอดขายได้ดี ต่างการรูปแบบโมเดลธุรกิจเกี่ยวกับ Cloud computing รายอื่นๆ ซึ่งโมเดลนี้ยังถูกนำไปนำไปใช้อย่างกว้างขวางในตลาด Consumer media อย่าง โทรทัศน์ และบริการออนไลน์อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นโมเดลที่ลูกค้าสามารถจ่ายค่าบริการตามการใช้งานของตัวเองแทนที่จะจ่ายค่าบริการตามที่กำหนดมาให้

โดยในแต่ละธุรกิจก็มีการคิดค่าบริการที่แตกต่างกันอยู่ เช่น อาจจะคิดค่าบริการตามจำนวนยูนิตที่ใช้ หรือตามช่วงระยะเวลาที่ใช้บริการ ธุรกิจแบบนี้ถือได้ว่าแฟร์กับลูกค้า เพราะลูกค้าสามารถจ่ายบริการจำนวนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าใช้มากหรือใช้น้อย โดยปกติแล้วลูกค้ามักจะใช้บริการตามใจตนเองเลยอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทที่จะประมาณการขาย เพื่อให้มั่นใจได้จะได้รับรายได้ที่ประจำ หลายบริษัทเลยมีการกำหนดค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในสัญญา เพื่อเป็นการันตีว่าลูกค้าจะไม่คืนสินค้า

ความท้าทายเมื่อต้องเผชิญ

อย่างไรก็ตามการใช้โมเดลแบบนี้ก็มีความท้าทายไม่น้อย แม้จะกระตุ้นยอดขายให้รายได้ดี สร้างการดึงดูดลูกค้าด้วยการบริการที่ยืดหยุ่น แต่เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์รายรับที่แน่นอนได้ อีกทั้งยังต้องกำหนดระยะเวลาไม่น้อยเพื่อให้ลูกค้าเคยชินกับสินค้า จะได้มีการกลับมาใช้อย่างสม่ำเสมอ

ซึ่ง Pay per use นั้นก็ถือว่าเป็นโมเดลต้นแบบของการเก็บค่าโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Pay per click แทนที่จะต้องจ่ายโฆษณาที่โชว์นั้นทั้งหมด ก็เปลี่ยนมาจ่ายค่าโฆษณาเท่าจำนวนที่ครั้งที่มีคนคลิกโฆษณาตัวนั้น หรือสตาร์ทอัพในธุรกิจ Car-sharing ที่มีการทำธุรกิจเช้ารถระยะสั้น โดยเปิดให้ลูกค้าเช่ารถได้เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันและคิดค่าบริการเป็นนาที แต่ในค่าบริการรายนาทีนี้ได้รวมค่าน้ำมันรถ ค่าที่จอดรถ ค่าประกันรถยนต์ ไว้หมดแล้ว ซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณแล้วจะถูกกว่าการเดินทางโดยรถสาธารณะ หรือแม้แต่ธุรกิจประเภทประกันภัยเอง ที่หลายๆบริษัทประกันภัยรถยนต์นั้น ให้ลูกค้าได้จ่ายค่าประกันตามระยะทางที่เราขับ Pay as you drive ให้ลูกค้าจ่ายค่าบริการที่สอดคล้องกันกับพฤติกรรมในการขับรถของตัวเอง

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบั

ออกแบบ Business Model Canvas ฟรี!​

 

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/