ถอดโมเดลการหารายได้ Content จาก YouTube ภายใต้ ‘Revenue sharing’ ซึ่งจะแบ่งรายได้ในอัตรา 2:1 ซึ่งทั้งสองนั้นต่างก็ได้ผลประโยชน์ทั้งคู่

Business Model ตอนที่ 41 สร้างรายได้มหาศาลให้ธุรกิจด้วย Revenue sharing
-
- Posted byby sukchai
- 1 minute read
แอปพลิเคชันใน App store หรือเพลงต่างๆ ใน iTunes Store นั้น เจ้าของแอปพลิเคชันและเจ้าของเพลงเองก็จะได้ส่วนแบ่งจากการขายแอปพลิเคชันและเพลง ซึ่งจะแบ่งรายได้ในอัตรา 2:1 ซึ่งทั้งสองนั้นต่างก็ได้ผลประโยชน์ทั้งคู่ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-win situation) ซึ่งแม้แต่ในวงการหนังสือเอง ที่ภายหลังก็เปิดนักเขียนได้หนังสือออนไลน์ลงบนเว็บไซต์ และสามารถเปิดขายหนังสือเล่มนั้นลงบนอินเตอร์เน็ต นักเขียนเองก็จะได้รายได้จากยอดขายที่ขายไป อย่างสตาร์ทอัพไทย Ookbee โดยโมเดลธุรกิจแบบนี้เรียกว่า ‘Revenue sharing’
Revenue sharing คือโมเดลที่วางที่มารายได้มาจากการขายสินค้าด้วยกันระหว่างบริษัท หรือกลุ่มคน หรือแม้กระทั่งบุคคลทั่วไป เรียกง่ายๆ ว่าระหว่างพันธมิตรด้วยกันเอง มักจะเห็นได้ในอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์ม เช่น ธุรกิจประเภท e-Commerce ที่มีโฆษณาเข้ามาเกี่ยงข้อง และจะได้รายได้จากจำนวนครั้งที่ลูกค้าคลิกโฆษณา (Business Model : ตอนที่ 2 ‘การตลาดแบบ Affiliate’ กลยุทธ์โฆษณาสินค้า) โดยแบ่งกันเป็นเปอร์เซ็นต์
หากยังไม่เห็นภาพ
เราจะมาถอดโมเดลรายได้ของ Blogger ที่ได้ ‘Revenue sharing’ จาก YouTube มาบอกกัน
เราต่างรู้กันดีว่า YouTube มีโมเดลรายได้มาจากการโฆษณา
คำถามก็คือแล้วเหล่า Creators ที่คอยสร้าง Content บน Channel ล่ะ นอกจากได้จากการทำ Advertorial แล้วยังมีที่มาจากไหนได้อีก
คำตอบก็คือ YouTube เองเขาก็วางโมเดลตอบแทนรายได้เล็กๆ น้อยๆ ให้ ซึ่งคนที่จ่ายคือ Google ให้กับวิดีโอของ YouTube Partner ได้ค่าตอบ 0.1 – 5 USD โดยมีหลักการคิดแบบนี้
1. Marketers (ผู้ลงโฆษณา)
แบรนด์ผู้สร้าง Campaign โฆษณา ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ แบนเนอร์ ฯลฯ โดยตั้ง Campaign ได้ทั้ง CPC (Cost per Click) สำหรับโฆษณารูปแบบ Banner หรือ CPV (Cost per View) สำหรับโฆษณาที่เป็นคลิปสั้นๆ ประมาณ 15 วินาที ในงบประมาณที่พอใจ เช่น Marketers สร้าง Campaign โดยกำหนด CPC เท่ากับ 0.15 USD หรือ 0.15 x 1,000 = 150 USD เพราะฉะนั้น Marketers จะเสียให้กับ Google ที่เป็นบริษัทแม่ YouTube ราคา 150 USD
2. Publishers (ผู้ผลิตวิดีโอเจ้าของ Channel)
ส่วนนี้แหละที่สำคัญ โดยการแชร์รายได้ของการขายสินค้าระหว่างกันในที่นี่คือการขายโฆษณา จะถูกทำผ่าน Content ของเจ้าของ Channel ที่จะทำการเลือกหาโฆษณาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน Channel ของตนเองนำมาติดกับวิดีโอ โดย Google จะเสนอค่าโฆษณาให้เจ้าของ Channel เป็น CPC = 0.05 USD เมื่อมีคน Click โฆษณาผ่านวิดีโอของเจ้าของ Channel แต่ Publishers ไม่สามารถกำหนดรายได้ขึ้นอยู่กับราคา CPC และ CTR (Click through Rate: อัตราส่วนผู้ที่คลิกโฆษณาต่อผู้ชมทั้งหมดด้วย) รายได้จึงไม่ได้อยู่ที่ยอดวิว แต่อยู่ที่ยอด CTR เช่น มีคนดูวิดีโอ 20,000 Views แต่ CTR = 10% หมายความว่าคนคลิกโฆษณาแบนเนอร์ 10% จากคนดูวิดีโอ 20,000 views เพราะฉะนั้น Publishers จะมีรายได้เท่ากับ 10%x20,000 = 2,000 คน นำมาคิดรายได้ต่อ CPC เท่ากับ 0.05(2,000) = 100 USD
*Publishers ควรจะคัดเลือก Ads. ที่เหมาะสมกับ Content หรือ Keywords หรือ Channel Description เพื่อให้สอดคล้องกับ Traffic (ผู้ที่เข้ามาดูหรือ Subscribe Channel นั้นๆ) จะได้เป็นการเพิ่ม CTR และโอกาสทำเงินกับ YouTube
3. Google (YouTube)
YouTube เป็นตัวกลางที่วางโมเดลนี้ระหว่าง Marketers และ Publishers โดยแชร์รายได้ส่วนต่างจากค่าโฆษณาที่ได้จาก Marketers ให้ Publishers เช่น เมื่อมีผู้คลิก Banner ครบ 1,000 ครั้ง เช่น ขาย CPC ให้ Marketers ราคา 0.15 USD ส่วน Publishers ได้เงิน CPC 0.05 USD เพราะฉะนั้น YouTube จะได้เมื่อมีคนคลิกโฆษณา 1,000 ครั้งเท่ากับ (0.15- 0.05)1,000 = 100 USD
สำหรับคนที่ต้องการเป็น YouTube Partner ต้องมีข้อกำหนดต่อไปนี้
- YouTube Partner จะต้องมี Channel คน Subscribe อย่างน้อย 1,000 คน
- มีเวลาในการดูอย่างน้อย 4,000 ชั่วโมงภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา
- ช่อง / เนื้อหาต้องเป็นไปตามนโยบายโปรแกรมพันธมิตร YouTube ข้อกำหนดในการให้บริการของ YouTube นโยบายสแปมของ YouTube และหลักเกณฑ์ของชุมชน
*คนที่สนใจสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ขั้นตอนการสร้างรายได้จาก YouTube
ธุรกิจประเภทนี้จะได้ประโยชน์ถ้าหากมีการรวมตัวกัน เพราะสามารถช่วยกันสร้างรายได้และสามารถแบ่งกำไรให้กันได้ด้วย ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์จากฐานลูกค้าของอีกฝ่ายที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งมักจะเห็นได้ในธุรกิจประเภทแพลตฟอร์มทั้งแบบ B2B และ B2C
DIGITAL BUSINESS CONSULT
สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/