Business Model ตอนที่ 43 เจาะนวัตกรรมคู่แข่งด้วย ‘นวัตกรรมย้อนรอย’

นวัตกรรมย้อนรอยกลยุทธ์และข้อได้เปรียบที่อินเดียและจีนทำใช้เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการพัฒนาประเทศ

นวัตกรรมย้อนรอยกลยุทธ์และข้อได้เปรียบที่อินเดียและจีนทำใช้เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการพัฒนาประเทศ

Reverse Innovation หรือนวัตกรรมย้อนรอยเป็นโมเดลธุรกิจที่หลายองค์กรเริ่มตื่นตัวและปรับรูปแบบธุรกิจไปแล้ว เนื่องจากกลยุทธ์นี้เป็นแนวคิดการผลิตสินค้าที่สวนทางจากหลักการเดิมๆ ไปเลย

ปกติเวลาที่บริษัทจะผลิตสินค้ามักจะทำเพื่อตอบสนองกับตลาดที่มีศักยภาพเป็นหลัก เช่น ตลาดสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น ก่อนจะกระจายไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลย คือ สินค้าจากแบรนด์ระดับ Hi-end อย่าง Hermes ร้องเท้ากีฬา Nike บางรุ่น หรือแม้กระทั่งสมาร์ทโฟนอย่าง Apple ที่จะเข้าประเทศพัฒนาแล้วก่อน

แต่ระยะหลังหลายปีที่ผ่านมานวัตกรรมย้อนรอยถูกนำมาใช้มากขึ้น เพื่อการพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองประเทศที่กำลังพัฒนาแทน ทำให้เป็นรูปแบบโมเดลสวนทางกับรูปแบบระบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่ต้องการสินค้าคุณภาพเดียวกับฝั่งพัฒนาแล้ว แต่อยู่ในราคาเอื้อมถึง

ซึ่งที่ Vijay Govindarajan และ Chris Trimble สองศาสตราจารย์แห่ง Dartmouth University จำกัดความไว้คำนี้ไว้ว่าคือ Reverse innovation หรือนวัตกรรมย้อนรอย ที่สร้างสินค้าเพื่อตลาดเกิดใหม่ โดยใช้แกะรอยนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตให้กับญี่ปุ่นสหรัฐฯ เยอรมนี เป็นต้น จากนั้นก็ผลิตโดยอาจเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ ลดต้นทุนบางอย่างเพื่อนําไปขายในประเทศกำลังพัฒนาที่ลูกค้าเรียกร้องหาสินค้าราคาถูกลง เช่น เครื่องมือแพทย์ที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือพาหนะที่ผลิตขึ้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อประเทศมีรายได้น้อย ด้วยการผลิตสินค้าที่มีราคาถูกลง ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็น Trickle-up Innovation

 

ทำไมเราถึงใช้จีนกับอินเดียเป็นโมเดลธุรกิจ?

ในอดีตประเทศอย่างอินเดียและจีน ก็เคยเป็นประเทศที่มีรายได้น้อยมาก่อน แต่กลับกลายมาเป็นตลาดที่น่าสนใจได้ ทำให้ในช่วงหลังมานี้มีหลากหลายบริษัทได้เข้าไปเปิดแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในประเทศเหล่านี้ เพื่อที่จะนำสินค้านวัตกรรมไปเผยแพร่ให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเพราะหลายบริษัทนั้นขายสินค้าได้เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ จนทำให้ธุรกิจประเภทนี้เกิดขึ้นมา ยิ่งเป็นสินค้าที่มีราคาถูกก็ยิ่งเป็นที่น่าสนใจ และเหมาะสมที่จะขาย

ไม่เพียงแต่แค่จีนและอินเดียเท่านั้น หากเรามองไปที่ประเทศเพื่อนบ้านเราตอนนี้อย่างเมียนมาจากเมื่อ 3 – 4 ปีก่อน ที่แค่สัญญาณโทรศัพท์ก็ติดๆ ดับๆ แล้วนั้น ตอนนี้มี 4G ที่ไหลลื่นมาก โครงสร้างพื้นฐานที่หลายคนมองว่าเมืองไทยเท่านั้นที่จะสร้างได้และประเทศด้อยพัฒนาต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ถึงจะตามนวัตกรรมเหล่านี้ได้ทัน ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วด้วยสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรมย้อนรอย จนหลายประเทศเกิดปรากฏการณ์ Leap Frog ที่โตอย่างก้าวกระโดด โดยใช้เวลาน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่แต่ก่อนกว่าจะคิดค้นนวัตกรรมเจ๋งๆ ได้ใช้เวลา 40 – 50 ปี แต่ประเทศเหล่านั้นกลับตามนวัตกรรมประเทศพัฒนาแล้วได้ทันโดยใช้การ Reverse innovation แทน

ธุรกิจประเภทนี้เป็นที่น่าสนใจมากถ้าเรามีการวิจัยและพัฒนาที่มากพอ หรือมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ก่อนที่น่าจะสินค้าเหล่านี้ไปตั้งไว้ที่ตลาดเกิดใหม่ (Emerging countries) เช่น อินเดีย และจีน เพื่อให้ได้กลุ่มลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/