“Big Data” ดีต่อใจ!! เพื่อคนทำธุรกิจ (มีคลิป)

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้” ทักทายกันในวันไหว้เทศกาลตรุษจีน พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันเที่ยว ไปรับแต๊ะเอียหรือไม่ก็ให้แต๊ะเอียกันกับขนบธรรมเนียมในช่วงเทศกาล สำหรับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี วันนี้ (15 ก.พ.) ยังคงมีประเด็นเรื่องของ Big Data ที่ได้กล่าวทิ้งท้ายกันไว้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ข้อมูลที่เกิดขึ้นและสามารถเอาไปใช้งานได้ในอนาคต

โดยทางผู้ดำเนินรายการได้กล่าวว่ามีหลายสถาบันที่ทำการเปิดการสอนเช่น นิด้ารวมไปถึงราชมงคล ธัญบุรีก็เปิดสอนในระดับปริญญาโท พร้อมกับตั้งคำถามว่าแล้วจะเอาไปต่อยอดหรือทำอะไรได้บ้างหรือไม่สำหรับเรื่องนี้

ก็อยากจะเรียนให้ทราบว่ากรณีถ้าเราเป็นผู้ประการ จริง ๆแล้วมันต้องเริ่มต้นคิดก่อนหลาย ๆคนโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ค่อยให้ความสำคัญกับข้อมูลของลูกค้า คือไม่ค่อยมีข้อมูลว่าลูกค้าของเราเป็นใคร ซื้อสินค้าเราเมื่อไหร่คือรู้จักขายเป็นหลักแล้วไม่มีการบันทึกข้อมูล

จริง ๆแล้ววันนี้ถ้าเริ่มต้นต้องเก็บข้อมูลก่อน โดยมองแบบง่าย ๆก่อนมองไปว่าถ้าเรารู้จักลูกค้าแล้วเราขายกลับไปให้ลูกค้าที่เคยซื้อของ ๆเราได้มันจะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้น

เพราะฉะนั้นถ้าสินค้าของเรามันเป็นสินค้าที่ลูกค้ามีโอกาสซื้อซ้ำบ่อย การเก็บข้อมูลค้ามันจะทำให้ลดต้นทุนในการสื่อสารกับลูกค้าแล้วก็จะรู้ปริมาณสินค้าที่ลูกค้าต้องการ สามารถวางแผนการผลิตได้ถ้าสินค้าของเราลูกค้าซื้อนานๆทีข้อมูลแบบนี้อาจจะทำให้เราเองสามารถเตือนลูกค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันเครื่องพอถึงเวลาปุ๊บเขาโทรมาเลยใช่มั้ย อันนี้นาน ๆที

อยากเรียนต่อว่าวันนี้ทุกคนเก็บข้อมูลหมด เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มต้นคิดก่อนว่าเราจะเข้าใจลูกค้าเรายังไง เข้าใจพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของเขากับเรายังไง เข้าใจพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเขายังไง นี่มันเริ่มกว้างขึ้นแล้วนะการเข้าใจพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเขามันนำไปสู่เรื่องของการขายสินค้าในระยะยาว ไม่ใช่แค่ขายแล้วจบ

การขายสินค้าระยะยาวยกตัวอย่างเช่น สมมติยกตัวอย่างง่าย ๆถ้าเราเองวันนี้คนที่ทำธุรกิจบ้านเริ่มทำอย่างที่เราเรียกว่า  Internet of think หรือ Iot บิวส์เข้าไปในบ้านเช่นปิดไฟด้วยแอพฯ  เปิดประตูด้วยแอพฯอะไรอย่างนี้ หรือมีกล้องวงจรปิดติดตั้งให้ดูจากไหนก็ได้

ถามว่าเรื่องพวกนี้ทำเพื่ออะไรโอเคมันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันมันจะเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าเพราะว่าหมู่บ้านคือการอยู่กันเป็นชุมชนโดยที่คุณไม่ต้องสร้างชุมชนอีกคือธุรกิจส่วนใหญ่อยากสร้างชุมชนของตัวเอง แต่คนทำธุรกิจหมู่บ้านเขาสร้างชุมชนมาแล้วมีคนมาอยู่แล้ว ถ้าเข้าใจปุ๊บมันมาสู่เรื่องของขายสินค้าหรือบริการอื่น ๆอีกมหาศาล ที่ไม่ใช่แค่ตัวบ้านเท่านั้น

ส่วนประเด็นที่ว่าการมีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับผู้ที่ดูแลหมู่บ้านบ้านจัดสรรหรือชุมชนบ้านหลังในแถว ๆนั้นจะช่วยในเรื่องของการเก็บข้อมูลนั้น อยากเรียนว่าจริง ๆแล้วการเข้าไปคุยมันจะไม่เหมือนเราเอาอุปกรณ์ไปติดตั้งไง อย่างทุกวันนี้เราใช้ Facebook และ Facebook ก็เก็บพฤติกรรมของเรา เราใช้ Google ทาง Google เก็บพฤติกรรมของเรา หรือ Line ก็เก็บพฤติกรรมของเรา พวกนี้เอาไปทำเป็น Big Data หมด มีความเข้าใจลูกค้าสามารถเสนอสินค้าและบริการได้หลากหลายช่องทาง หลากหลายรูปแบบครับ อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง

แล้วการเข้าไปใช้ในบ้านของเขาถือเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของเขาหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้อยากเรียนว่าเราไม่ได้เข้าไปล่วงละเมิดตัวข้อมูลของลูกค้า เพราะ Big Data มันไม่ได้เป็นเรื่องของการทำข้อมูลเป็นรายบุคคลแต่เป็นการทำข้อมูลของกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะคล้ายๆกัน

ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า วันหนึ่งข้างหน้าหมู่บ้านที่เราสร้างใหม่เราจะดีไซน์ต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นนะ เราสามารถเอา Information ที่ได้ไปต่อรอง สมมติเราต้องบิวส์อินเรื่องแอร์ บิวส์อินเรื่องทีวี บิวส์อินเรื่องตู้เย็นก็สามารถทำได้ แล้วหมู่บ้านหลาย ๆหมู่บ้านเดี๋ยวนี้มันก็จะไม่ใช่หมู่บ้านแบบหมู่บ้านเดี่ยว คอนเซ็ปที่เรียกว่า “Mixed use”ก็คือว่าอาจจะมีโรงแรม มีห้างสรรพสินค้า อาจจะมีคอมมูนิตี้มอล์อยู่ในละแวกเดียวกันด้วย อันนี้คือการใช้ประโยชน์จาก Big Data

ทีนี้ผมคิดว่าเรื่องนี้สำหรับเอสเอ็มอี การลงทุนเรื่องนี้อาจจะยังไม่คุ้มค่าในปัจจุบันแต่อีกไม่นานจะคุ้มค่า เพราะเครื่องมือพวกนี้มันจะราคาถูกลงเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นให้ตระหนักว่าการเข้าใจลูกค้าโดยใช้ข้อมูลที่ลูกค้าส่งให้เราหรือเราไปเก็บจากส่วนอื่น ๆบนโลกออนไลน์ มันจะเป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจของเราในวันข้างหน้า แค่สำนึกตรงนี้พอแล้วก็เริ่มต้นเก็บ