Business Model ตอนที่ 49 โมเดลธุรกิจแบบ Supermarket

สรุปเทรนด์อนาคตที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงค้าปลีก Supermarket

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความคุ้นเคยกับ Supermarket หรือระบบการค้าปลีกสมัยใหม่เป็นอย่างดี โดยสถานการณ์ที่ผ่านมาการเข้ามาของ e-Commerce ดูเหมือจะเข้ามา Disrupt โมเดลดังกล่าวแต่ในความเป็นจริงแล้ว Supermarket ยังเป็นสิ่งที่ไม่ตาย เพียงแค่เกิดการพัฒนาบางอย่างขึ้น และมันน่าสนใจมาก
แต่เดิมแล้วรูปแบบของโมเดลนี้คือธุรกิจที่รวมสินค้าอุปโภคและบริโภคคล้ายกับร้านสะดวกซื้อ เพียงแค่จะเป็นโมเดลที่ใหญ่กว่า โดยมีแผนกโซนชัดเจน เช่น อาหารสด ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ภายในบ้าน ฯลฯ มีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายมากกว่า ในราคาถูกผู้บริโภคสามารถเอื้อมถึง จึงทำให้โมเดลดังกล่าวได้รับความนิยมต่อผู้บริโภคจำนวนมาก เช่น ในต่างประเทศมีแบรนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ตชื่อว่า Toy R us วางจำหน่ายขายเฉพาะของเล่นเท่านั้น มีราคาตั้งแต่แพงไปจนราคาถูก หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ ธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นสามารถให้บริการที่ไหนก็ได้ เพราะมีสินค้าให้ลูกค้าได้เลือกซื้ออย่างหลากหลาย ซึ่งแตกต่างจาก Boutique หรือร้านค้าที่ขายสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง จุดแข็งของซุปเปอร์มาร์เก็ตจึงตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบในที่เดียว (One Stop Shopping) และเน้นไปที่การผสมผสานรูปแบบต่างๆ (hybrid concept) ให้บริการอาหารควบคู่กับการขายสินค้าอุปโภคบริโภค อย่างไรก็ตามช่วง 2 – 3 ปี มานี้เราพบเห็นการเปลี่ยนแปลงของซุปเปอร์มาร์เก็ตไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะโมเดลรูปแบบที่ไม่หยุดนิ่งและนำมาผสมผสานกันกับเทคโนโลยี ก่อนหน้านี้เราได้พบกับซุปเปอร์มาร์เก็ตอัจฉริยะอย่าง Amazon Go ที่หยิบของลงตระกร้าและตัดเงินอัติโนมัติ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ไร้พนักงานจ่ายเงินอย่างใน Central และ The Mall และปัจจุบันซุปเปอร์มาร์เก็ตได้พัฒนาไปไกลมากขึ้นอีกหนึ่งขั้น
ทุกวันนี้มีบริการสั่งของในซุปเปอร์มาร์เก็ตและให้นำมาส่งถึงบ้านทันใจ โดย 7-11 นี่แหละที่เลือกจับมือกับ Platform อย่าง Line Man นับเป็นอีกขั้นของร้านสะดวกซื้อที่จะสะดวกยิ่งกว่าเคย ออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น การสร้างช่องทางเลือกซื้อสินค้าและบริการที่สะดวกสบายหลากหลายทำให้ธุรกิจยังเติบโตต่อไปได้ ในขณะที่หลายคนกำลังเผชิญกับผลกระทบอย่างหนักทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายต้องปิดสาขาลงในหลายแห่งจากสินค้าออนไลน์ การพัฒนาช่องทางออนไลน์ควบคู่กับร้านค้าเป็น omni-channel แบบกลยุทธ์ด้านบนยังคงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ สร้างความแตกต่างให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งเทคโนโลยีกับซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่ได้ผูกกันในเรื่องของแอปพลิเคชันส่งของเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเรื่อง Data ที่เก็บพฤติกรรมการใช้จ่ายเลือกซื้อสินค้าเช่น ปกติสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตจะเป็นสินค้าปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเมื่อถึงเวลาที่หมดเขาจะกลับมาซื้อซ้ำตลอด บางคนต้องซื้อยาสีฝันทุก 2 เดือน ซื้อแชมพูทุก 1 เดือน เมื่อใกล้จะหมดพฤติกรรมที่เขาจะกลับมาซื้อซ้ำก็มีโอกาสสูงเมื่อเรามี Data ก็จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคแบบเรียลไทม์เพื่อนำเสนอนำเสนอโปรโมชั่นภายในร้านค้าที่ตรงใจได้ อาจส่งโปรโมชั่นเข้าสมาร์ทโฟนเพื่อบอกลูกค้าได้เลยว่าวันนี้เรามีโปรโมชั่นยาสีฝันและแชมพูอยู่

สรุปเทรนด์อนาคตที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงค้าปลีกซุปเปอร์มาร์เก็ต

  1. ระบบการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจาก Big Data
  2. ระบบสั่งสินค้าจากที่อยู่อาศัยและจัดส่งถึงที่
  3. ระบบสมาชิกเพื่อรับสินค้าเป็นรายเดือน
  4. การพัฒนาช่องทางออนไลน์ควบคู่กับร้านค้า (omni-channel)
  5. เน้นไปที่การผสมผสานรูปแบบต่างๆ (hybrid concept) ให้บริการอาหารควบคู่กับการขายสินค้าอุปโภคบริโภค

DIGITAL BUSINESS CONSULT สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/