‘Trash to cash’ มาสร้างกำไรจากบางอย่างที่ไม่ใช้แล้วในธุรกิจกันเถอะ! ถือได้ว่าเป็น win-win situation ทั้ง Suppliers และ Manufacturer

Business Model ตอนที่ 51 ‘Trash to cash’ สร้างเงินจากขยะ
-
- Posted byby kuljira
- 1 minute read
Trash to cash
มาสร้างกำไรจากบางอย่าง
ที่ไม่ใช้แล้วในธุรกิจกันเถอะ!
Trash to cash คือการเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน โดยไอเดียมีพื้นฐานมาจากการรีไซเคิลหรือนำของกลับมาใช้อีกครั้ง สินค้าที่เคยใช้ไปแล้วหรือถูกขายเป็นส่วนๆ ไปแล้วนั้นจะถูกนำมารวบรวมแล้วนำไปดัดแปลงให้อยู่ในรูปของสินค้าใหม่ ซึ่งกำไรจากสินค้าเหล่านี้อาจจะต่ำหรือไม่มีเลยก็ได้ แต่การเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินนั้นถือได้ว่าเป็น win-win situation ทั้ง Suppliers และ Manufacturer
หลักการ Trash to cash
ผู้ประกอบการสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องรีไซลเคิลขยะมูลฝอย ตัวเลือกแรกคือ ขายทรัพยากรที่ไม่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปยังตลาดอื่นๆ เช่น ในตลาดรถยนต์มือสองที่มีมานานแล้ว หรือในตลาดอื่นๆ มีการนำไอเดียเหล่านี้ไปปรับใช้ และอาจจะมองได้ว่าการขายสินค้าประเภทนี้เป็นการช่วยรักษาธรรมชาติ หรือทำบริษัทต่างๆ หันมาสนใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
Case study
Greenwire บริษัทในอังกฤษ เป็นตัวอย่างที่น่าจับตามองในฐานะบริษัทผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องของการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือเก่า โน๊ตบุ๊ค เพื่อนำไปซ่อมแซมและขายใหม่ ซึ่งบริษัทเองก็ได้มีการตรวจสอบคุณภาพ ตกแต่งและซ่อมแซมสินค้า ก่อนที่จะนำไปขายใหม่ในราคาที่ถูกลง โดยเฉพาะการเจาะเข้าไปในบประเทศกำลังพัฒนา
ทำให้คำว่า ‘ขยะ’ ในธุรกิจนั้นหมายถึงทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้แล้ว สามารถใช้ได้แค่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value chain) และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใน Value chain อื่นได้ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ชัดก็คือ ‘การเปลี่ยนอวนจับปลาให้เป็นชุดว่ายน้ำ’ ในฐานะที่คุณเป็นชาวประมงและมีอวนไม่ใช้แล้วอยู่ ถ้าเป็นคนอื่นมันก็จะกลายเป็นแค่ชยะหนึ่งชิ้น เพียงแต่คุณไม่ได้มองแบบนั้น และสามารถนำสิ่งที่ธุรกิจคุณไม่ได้ใช้เปลี่ยนให้มันกลายเป็นสินค้าใหม่ได้นั่นเอง

สร้างมูลค่าผ่านเรื่องราวไม่ใช่แค่สินค้า
แน่นอนว่าถ้าการแค่คุณขายสินค้ามันคงไม่ได้ทำให้คุณขายได้หรอก แต่ถ้าคุณสร้างความประหลาดใจให้ลูกค้าด้วยการเล่าเรื่องราวที่มากว่าจะเป็นสินค้า 1 ชิ้นนั้น ต้องมาจากวัตถุดิบที่เป็นขยะอะไร และถ้าไม่ใช่วัตถุดิบนั้นจะส่งผลอะไรต่อโลกบ้าง จะช่วยทำให้สินค้าน่าสนใจมากขึ้น เช่น Intermarché ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งของฝรั่งเศสกับการสร้างแคมเปญ นำผักผลไม้หน้าตาอัปลักษ์ ที่ลูกค้าส่วนมากไม่เลือกซื้อด้วยเหตุผลที่มันไม่สวย มาทำแคมเปญใหม่ ‘พบกับแครอทอัปลักษณ์แต่กลับสร้างซุปที่สวยงาม’ พร้อมลดราคาลง 30%
ผลก็คือ ขณะที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ ต้องทิ้งผักผลไม้อัปลักษณ์จำนวนมาก แต่ Intermarché เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ขายผักผลไม้อัปลักษณ์ได้มากกว่าผักผลไม้ปกติเสียอีก และยังสร้างลูกค้าขาประจำให้พวกเขาแวะเวียนมาซื้อซ้ำได้เพิ่มขึ้น 60%
โมเดลดังกล่าว ไม่ได้หยุดแค่การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้อีก 1 ธุรกิจเลยทีเดียว โดยการทำสิ่งที่เรียกว่า กิจการเพื่อสังคม (SE) หรือ Social Enterprise
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก่อเกิดองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อว่า Food Recovery Network (FRN) ขึ้น ผู้ก่อตั้งคือ Ben Simon มองเห็นปัญหาว่า โลกนี้มีผักและผลไม้ถูกคัดทิ้งจากฟาร์มและซุปเปอร์มาร์เก็ต เฉพาะแค่ในสหรัฐฯ ประเทศเดียวมากกว่าปีละ 3 พันล้านต้น! (ไม่อยากจะคิดว่าถ้าทั่วโลกรวมกันจะมหาศาลขนาดไหน) และที่เจ็บปวดกว่านั้นก็คือในขณะที่พวกเราคัดทิ้งด้วยเหตุผลที่ว่ามันหน้าตาอัปลักษณ์นั้น กลับมีคนอดยากและหิยโหยนับล้านคนทั่วโลก ไม่รวมกีบปริมาณน้ำที่ต้องเสียเปล่าไปกับการเพาะปลูกแล้วไม่ได้ขาย
ภายหลังจากการก่อตั้งด้วย Story ที่ปูมาดีขนาดนี้แน่นอนว่ามันประสบความสำเร็จถล่มทลาย ภายในเวลาไม่กี่ปี Ben Simon สามารถกู้อาหารที่ต้องถูกทิ้งเปล่าไปให้คนยากไร้อดยากได้รอดตายจากการขาดอาหาร ลดปริมาณน้ำที่ต้องสูญเสียไปกับการเพาะปลูกแล้วไม่ได้ขาย และยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อน ที่เกิดขึ้นจากผักผลไม้เน่าเสียลงได้
“รู้ไหมว่าปัญหาความรุนแรงของอาหารเหลือทิ้งนั้น สามารถบาดแผลและผลกระทบต่อปรากฎการณ์เรือนกระจก จนทำให้รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป ต้องออกกฎหมายควบคุมการทิ้งอาหารออกมา โดยเฉพาะฝรั่งเศสมีกฎหมายห้ามซุปเปอร์มาร์เก็ตทำลายอาหารที่ยังกินได้หรือใกล้หมดอายุ แต่ต้องบริจาคแทน ซึ่งมาพร้อบทคาดโทษตัวเลขมหาศาล”
โมเดลธุรกิจ Trash to cash จึงเป็นทางเลือกด้านการฟื้นฟูสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของธุรกิจ และยังสามารถสร้างกำไรจากการช่วยโลกที่ได้ผลระยะยาวกว่าการทำ CSR ที่เสียแต่เงินซะอีก
สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/
