Business Model ตอนที่ 52 อำนาจการตลาดแบบ Two-sided market คืออะไร

Two-sided market

โมเดลธุรกิจที่ทำให้ ‘เฟซบุ๊กและกูเกิล’ ครอง 73% ของส่วนแบ่งรายได้โฆษณาดิจิทัลทั้งหมดของสหรัฐฯ

อำนาจการตลาดแบบ Two-sided market คืออะไร?

‘Two-sided market คือ ตลาดสองด้าน’ (หรืออาจ 3 ด้าน 4 ด้านก็ได้) แต่ในความหมายก็คือเป็นการตลาดที่มีลูกค้าสองกลุ่มหรือสามกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน แต่ต้องการประโยชน์ร่วมกัน โดยผ่านสื่อกลางหรือแพลตฟอร์ม เช่น สตาร์ทอัพอย่าง Grab ที่วาง Customer Segments ออกมาเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ขับและกลุ่มผู้ใช้งานรถยนต์

สำหรับ Two-sided market ในบางครั้งเราอาจหมายความถึงโมเดลธุรกิจแบบระบบลูกค้าหลายด้าน ตัวอย่าง เว็บไซต์หางาน มีการเชื่อมกันระหว่างผู้สมัครงานและบริษัท ยิ่งมีคนจากกลุ่มหนึ่งใช้แพลตฟอร์มมากขึ้นเท่าไหร่ กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งก็ยิ่งให้ความสนใจกับคนกลุ่มนั้นมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าอาจจะมีมากกว่าสามกลุ่มก็ได้ หรือที่เราจะเรียกว่า Multi-sided markets เช่น กูเกิลและเฟซบุ๊ก มีการวางลูกค้า ทั้งหมดสามด้าน คือ ผู้ใช้งาน (Users)  ผู้ผลิตเนื้อหา (Publishers) และผู้ลงโฆษณา (Marketers) และวางธุรกิจให้อยู่ตรงกลางเพื่อจัดการกับความต้องการของลูกค้าสามกลุ่มได้ตอบสนองประโยชน์กันเอง

ความน่าสนใจก็คือ ด้วยวิธีที่ดึงดูดกันแหละกันเองของกลุ่มเป้าหมายสองหรือสามกลุ่มนี้ ยิ่งมีคนใช้งานอีกฝั่งหนึ่งมาก ก็ยิ่งเพิ่มอีกฝั่งหนึ่งให้มากขึ้นตาม ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า การผูกขาดตลาดกลายๆ หรืออำนาจเหนือตลาด ด้วยยุทธวิธีให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มดึงดูดกันเองแบบดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันกูเกิลและเฟซบุ๊กทำรายได้มากกว่า 73% ของส่วนแบ่งทางการตลาดด้านโฆษณาดิจิทัลในสหรัฐฯ ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน (Users) ที่ยังมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นแบบนี้ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะมีแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์รายใหม่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดโฆษณานี้

รายได้ทั่วโลกของ Google จากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ถึงไตรมาส 3 ปี 2561 (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 Statistic: Revenue of Google from 1st quarter 2008 to 3rd quarter 2018 (in million U.S. dollars) | Statista
Find more statistics at Statista

รายได้ทั่วโลกของ Facebook ในไตรมาส 3 ปี 2018 (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 Statistic: Facebook's global revenue as of 3rd quarter 2018 (in million U.S. dollars) | Statista
Find more statistics at Statista

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงโมเดลธุรกิจดังกล่าวนั้นไม่ได้วางกลยุทธ์ได้ง่าย เนื่องจากการวางโมเดลธุรกิจแบบนี้จำเป็นต้องสูญเสียรายได้ในกลุ่มเป้าหมายบางส่วน เช่น กูเกิลและเฟซบุ๊ก เลือกให้ผู้ใช้งาน (Users) ได้ใช้บริการฟรี เพื่อเพิ่มและขยายความต้องการของตลาดต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งมีผู้ใช้งานมากขึ้น ก็ยิ่งดึงดูดผู้ผลิตเนื้อหา (Publishers) และผู้ลงโฆษณา (Marketers) มากขึ้นตาม และสองกลุ่มหลังเป็นกลุ่มที่จ่ายเงินให้กับกูเกิลและเฟซบุ๊ก ทำให้เริ่มแรกกูเกิลและเฟซบุ๊กก็ยอมเสียสละรายได้โดยให้บริการฟรีตั้งหลายปีในกลุ่มลูกค้ากลุ่มแรก เพื่อสร้างผู้ใช้งานให้ขยายมากขึ้นเรื่อยๆ 

สำหรับในธุรกิจอื่นก็สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีแค่แพลตฟอร์มเท่านั้นที่ใช้งานรูปแบบโมเดลนี้ได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ด้วย

  1. Value Proposition (คุณค่าที่จะนำเสนอให้ลูกค้า) ในที่นี้หมายถึงคุณจะสามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการอะไรให้กับลูกค้า
  2. Customer Segments (ใครคือลูกค้า) เราสร้างคุณค่า (Value Proposition) เพื่อใคร?
  3. Key Resource (ทรัพยากรหลักที่ต้องลงทุน) และต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่แข่งไม่สามารถทำออกแข่งกันได้ง่ายๆ เช่น Key Resource ของกูเกิลและเฟซบุ๊ก คือ Data Users และระบบ Algorithm

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/