แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทย ขาดทุนแล้วไง กำไรคือ Big Data

ไทยต้องเตรียมพร้อม! ออกมาตรการกำกับดูแลข้อมูลระดับประเทศ (Data Portability) เมื่อ e-Commerce ข้ามพรมแดนและผู้เล่นรายใหญ่ เริ่มสมรภูมิการแข่งขัน

ขาดทุนแล้วไง
กำไรคือ Big Data

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทย เมื่อ e-Commerce ข้ามพรมแดนและผู้เล่นรายใหญ่ เริ่มสมรภูมิการแข่งขัน

ไทยต้องเตรียมพร้อม! ออกมาตรการกำกับดูแลข้อมูลระดับประเทศ (Data Portability) เมื่อ e-Commerce ข้ามพรมแดนและผู้เล่นรายใหญ่ เริ่มสมรภูมิการแข่งขัน

ปัจจัยการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทย ขาดทุนแล้วไง กำไรคือ Big Data

ภายใน 2 ปีต่อจากนี้ คนไทยจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ และส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งมาจากปัจจัยของการเข้าถึงเครื่อข่ายสัญญาณไร้สาย อัตราการใช้สมาร์ทโฟน นักช้อปเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงมีระบบชำระเงินที่ง่ายและสะดวกกว่าเดิม นอกจากนี้ รัฐบาลไทยก็ยังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเริ่มใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้นอีกด้วย จากยุทธศาสตร์ e-Commerce ที่ควบคุมในปี 2017-2021

แม้อีคอมเมิร์ซจะเติบโตอย่างมาก แต่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซกลับ ‘ขาดทุน’ ซึ่ง ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อธิบายถึงประเด็นดังกล่าวภายในงาน “นวัตกรรมพลิกโลก การเปลี่ยนผ่านและความท้าทายของประเทศไทย” ในหัวข้อ “การแข่งขันในแพลตฟอร์มหลายมิติ: E-commerce” ว่า รูปแบบการให้บริการของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซส่วนมากจะใช้กลยุทธ์ ‘Zero Pricing’ เปิดให้ใช้ บริการฟรี เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาใช้แพลตฟอร์มเยอะ เมื่อไม่เกิดการสร้างรายได้ จึงทำให้ขาดทุน แต่ในตัวเลขของการขาดทุนนั้น ไม่ใช่การขาดทุนที่เสียเปล่า เพราะผู้ใช้ที่เข้ามาใช้ในแพลตฟอร์มได้จ่ายในรูปแบบของข้อมูลแทน ทั้งในเรื่องของข้อมูลการซื้อสินค้า การค้นหาสินค้า การซื้อสินค้าซ้ำ รวมถึงรูปแบบการชำระเงิน และการจัดส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Big Data ใหญ่และมีคุณค่า ที่ไม่สามารถแปลงออกมาเป็นตัวเลขเพื่อหามาร์เก็ตแชร์ได้

จากประเด็นดังกล่าว หากเราจะจำกันได้ Digital Business Consult เคยเขียนเรื่อง Business Model ที่คล้ายๆ กันนี้ที่ชื่อว่า เทคนิคการใช้ Leverage Customer Data เพื่อเพิ่มราย ของ Google, Facebook และแม้กระทั่งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเบอร์ 1 ของโลกอย่าง Amazom ซึ่งในช่วงแรกแพลตฟอร์มทั้งหมดนี้ก็ให้บริการฟรี แต่มีการเก็บ Data พฤติกรรมทั้งหมดของ Users ไว้

ซึ่ง Big Data ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมข้อมูลผู้บริโภคนี่เอง ที่จะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์มขึ้น

Social Media Platform vs e-Commerce Platform

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทย ขาดทุนแล้วไง กำไรคือ Big Data

ด้วยปัจจัยทั้งหมดด้านบนนี้เอง จึงทำให้หลายแบรนด์จากเดิมแค่ทำการตลาดเพื่อโปรโมทสินค้าส่งเสริมการตลาดผ่านทางแพลตฟอร์ม Social Media เท่านั้น ก็จะเริ่มเทงบการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

Social Media Platform = ส่งเสริมการตลาด

e-Commerce Platform = ส่งเสริมการขาย

และทั้งสอง Platform ยังให้ข้อมูลที่เป็น Big Data ที่ต่างกันอีกด้วย ขณะที่ Social Media มักจะได้ข้อมูลพฤติกรรมความสนใจ แต่ e-Commerce จะได้ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อ ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล Big Data กลุ่มเป้าหมายมาใช้ต่อ เนื่องจากสุดท้ายแล้ว Social Media และ e-Commerce ทั้งสองแพลตฟอร์มเป็นเส้นเดียวกันของการเดินทางของลูกค้า (Consumer Journey) ก่อนที่จะมาเจอแบรนด์

ไทยเตรียมรับบมือ e-Commerce เร่ง ออก กม.คุม แพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทย ขาดทุนแล้วไง กำไรคือ Big Data

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในอนาคตสำหรับไทยเรื่องแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จะกลายเป็นเรื่องของการเข้ามากํากับดูแลและเข้าใช้ Big Data อย่างเท่าเทียม เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติ และอีคอมเมิร์ซของไทยที่กำลังสะสม Big Data ซึ่งสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ข้อมูลที่ไม่ใช่ส่วนบุคคลคลหรือข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช่แพลตฟอร์ม (Users) หรือข้อมูลผู้บริโภคที่แพลตฟอร์มนำมาพัฒนาต่อด้วย AI และอัลกอริทึ่ม

ก่อนหน้านี้ เรื่องข้อมูลของผู้บริโภคเคยเป็นปัญหาสำคัญมาแล้วในยุโรป สหรัฐฯ และออสเตรเลีย จากการที่เหล่าแพลตฟอร์มสามารถดำเนินการใดๆ กับข้อมูลของ Users ในฐานะผู้บริโภคก็ได้ และกฎหมายก็ยังตามไม่ทัน แต่เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลใดที่ควรส่งแก่แพลตฟอร์ม สหภาพยุโรปจึงได้กำหนดให้ความเป็นส่วนตัวและป้องกันข้อมูลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และออกกฎหมายเพื่อควบคุมเรื่องสิทธิส่วนบุคคลด้วยเฉพาะที่ชื่อว่า GDPR หรือแม้กระทั่งออสเตรเลีย ก็ได้พยายามเสนอแนวคิด Consumer Data Right ในการปฏิรูปนโยบายแข่งขันและนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลตนเองเพื่อเปรียบเทียบและย้ายไปซื้อสินค้าบริการจากผู้ขายและแพลตฟอร์มที่ต้องการ การให้ Consumer Right จะทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลทางเลือกและสร้างการแข่งขันในธุรกิจ

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน