โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
สวัสดีครับวันนี้ (1มี.ค.) ทางผู้ดำเนินรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ได้หยิบประเด็นเรื่องของการมอบรางวัลประจำปีของโธธ โซเชียล โอบีว็อค ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ดาต้าของโลกออนไลน์เจ้าหลักของประเทศไทยมาชวนพูดคุยถึงสัดส่วนการใช้ดาต้าหรือโซเชียลในประเทศไทยเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมว่าเรื่องนี้น่าสนใจมากนะครับ
โดยทางผู้ดำเนินรายการอ้างถึงรายงานของเรื่องที่ระบุว่าคนไทยใช้ Facebook เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ถ้าเพิ่มขึ้นก็อาจจะไม่ได้สูงสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นในส่วนของ Messenger อยู่ในอันดับ 7 ของโลกก็อาจจะอันดับสูงขึ้นแต่ว่าจำนวนคนที่ใช้ก็เท่าเดิมไม่ได้มากเท่าไหร่ ส่วน IG ก็บอกว่าตอนนี้น่าสนใจมากเริ่มมีการเติบโตเพราะมีคนใช้อยู่ 13.6 ล้านคน โตถึง 24 % และ Twitter ยังคงมาแรงเรื่อย มีคนใช้อยู่ 12 ล้าน เติบโต 33 % แต่ Active Usersเหมือนว่าจะมีการใช้งานต่อเนื่อง 5.7 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจครับ
ต้องเรียนว่าข้อมูลที่ได้จากทางผู้จัดงาน Thailand Zocial Awards ผมก็ไปงานมา ตัวบริษัทโธธ โซเชียลจริงๆเป็นบริษัทที่ขายเซอร์วิสในเรื่องของบริการที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ และการจับตาดูข้อมูลบนออนไลน์ที่ภาษาเราเรียกว่า Social Media Monitoring ก็คือติดตามว่ามีใครพูดถึงธุรกิจเรา พูดถึงตัวสินค้าเรา พูดถึงชื่อบริษัทเราบนโลกโซเชียลออนไลน์แบบไหน อย่างไรบ้าง เขาเลยได้ข้อมูลนี้มาซึ่งข้อมูลนี้ถือว่าเป็นต้นน้ำทำให้เขาไปให้บริการเกี่ยวกับเรื่องการจับตาดูแบรนด์บนโลกออนไลน์ได้
ทีนี้ตัวเลขอย่างที่ผู้ดำเนินรายการพูดถึงเรื่องของ Facebook ต้องเรียนว่า Facebook 49 ล้านเพิ่มขึ้นแค่ 4 % แต่จริง ๆแล้วถ้าไปดูข้อมูลของตัวบริษัทข้ามชาติที่ชื่อ VR Social ซึ่งอยู่ที่สิงคโปร์ เขาก็เปิดเผยรายงานช่วงต้นเดือนที่แล้วประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ว่าผู้ใช้ Facebook ในเมืองไทยมี 51 ล้านคน แล้วก็จากข้อมูลทีมงานของทางบริษัทผมก็ออกมาว่ามีคนใช้ประจำจริง ๆแค่ 40-45 ล้านคน
ประเด็นคือวันนี้คนใช้ Facebook ไม่ได้มากเหมือนเดิมเพราะบ้านเรามีอีกประเภทหนึ่งนั่นคือคนหนึ่งคนมีหลาย Account ครับ เพราะฉะนั้นโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวอาจจะเปิดหลาย Account ครับ เพราะเนื่องจากว่า Facebookมันอิงกับตัวอีเมล์ ก็เปิดอีเมล์ซึ่งมันเปิดง่ายครับ เปิดแล้วก็เปิด Facebook ต่อเลย อันนี้ก็จะเป็นเงื่อนไขหนึ่ง ในขณะเดียวกันการที่ Facebook ตอนนี้ปรับลอการิทึมเรื่อย ๆคนก็เริ่มรู้สึกรำคาญกับตัว Facebook ค่อนข้างมาก บางทีเราไม่ได้ต้องการรู้เรื่องของเพื่อนบน Facebook แต่เราอยากได้ข่าวสารข้อมูลดี ๆที่มาจากเพจต่าง ๆ แต่ปรากฏว่าไม่เห็นข้อมูลของเพจแล้ว
ส่วน Messenger ของ Facebook ที่มี 21 ล้าน อันนี้ก็ต้องบอกว่ามันก็อิงกับการที่ว่า Facebook เองก็พยายามให้คนคุยกันผ่าน Messenger ของเขามากยิ่งขึ้น ปรากฏว่าคนไทยไม่ค่อยคุยกันผ่าน Messenger ก็ไปใช้ไลน์แทน ในแง่ของการทำงานผมมักจะคุยผ่าน Messenger กับคนอื่นเพราะผมรู้สึกว่ามันไม่รกไม่ค่อยมีใครดึงผมเข้ากลุ่ม ฉะนั้นพอเป็นไลน์โอ้โหกลุ่มเยอะมากอ่านกันไม่ทัน แล้วทุกคนก็มาโพสต์อะไรกันเต็มไทม์ไลน์ของไลน์ไปหมด ในขณะที่Facebook ก็ถือว่าคุยเรื่องงานอย่างเดียวคือถ้าเวลาคุยงานผมบอกเลยถ้าคุณใช้ Facebook คุณคุยกับผมผ่าน Facebook ดีที่สุดครับ
มันก็เลยทำให้ Messenger ยังไม่ขยับสู้ไลน์ไม่ได้สำหรับประเทศไทย ส่วน Instagram ผมว่ามันก็เติบโตตามเทรนด์ของตัวมือถือ ตัววัยรุ่นนะครับ วัยรุ่นชอบถ่ายรูปมากแล้วก็ถ้าสังเกตนะครับวัยรุ่นยุคนี้จะมีมือถือเป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้นการถ่ายรูปมันก็มาพร้อมตัว Instagram มันก็ไปด้วยกัน ส่วนตัว Twitter ก็เพิ่มขึ้นในสัดส่วนพอ ๆกันกับทาง Instagram คือประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งสังเกตหรือไม่ว่าในสไลต์ของทางผู้จัดงานพูดถึง Active Users ของ Twitter คนเดียวเลย บอกว่ามีอยู่ 57 ล้าน Active Users นี่ผมไม่แน่ใจว่าในความหมายของเขาคืออะไร ก็เข้าใจว่าน่าจะมาใช้ประจำและจะเป็นคนที่โพสต์ประจำเพราะว่าบน Twitter มีคนกลุ่มหนึ่งคืออ่านอย่างเดียวไม่โพสต์อะไรเลย แต่อีกกลุ่มหนึ่งคืออ่านแล้วก็โพสต์ด้วย หรือแชร์ข้อมูลจากที่อื่นหรือเขียนเอง เพราะฉะนั้นอันนี้ก็น่าสนใจครับตัวเลขของตัว Twitter
แล้วปรากฏว่าตัว Twitter เราก็คุยกันมานานแล้วว่าคนใช้ Twitter จะเป็นเด็กมากขึ้น ในขณะที่ข้อมูลของไลน์เองเขาบอกว่ากลุ่มผู้ใช้ไลน์เป็นทุกคนทุกกลุ่มอายุนะครับ แล้วก็ได้ลูกค้าจากกลุ่มสูงวัยเยอะ อันนี้ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ
ทีนี้ในงานเองเขาก็มีการพูดถึงข้อมูลบางส่วนที่เอามาแชร์กันก็คือว่าอย่าง Facebook คนไทยใช้กันเยอะ ๆ ช่วงประมาณ 6 โมงเย็นถึงห้าทุ่มถือเป็นช่วงที่พีคสุดเลย ถ้าบอกสุด ๆจริง ๆถ้าระบุเวลาเลยก็ประมาณทุ่มถึง 3 ทุ่มเป็นช่วงที่พีคสุดครับ แล้วคนไทยเองในแง่ของ Reaction รู้หรือไม่ว่าคนไทยชอบกดสัญลักษณ์อะไร ? หัวใจ 44 % แล้วก็หัวเราะ 21 % แล้วก็มา Wow 17 % Sad 13 % แล้วก็ Angry 5 %
ส่วน Instagram ช่วงพีคของวันเสาร์กับวันอาทิตย์คล้ายกันคือเหมือนพีคทั้งวัน แต่ถ้าเป็นวันจันทร์ถึงศุกร์จะพีคประมาณช่วง 5 โมงเย็นถึงประมาณสัก 4 ทุ่ม แปลว่าอะไรครับ เวลามันเขยิบเลื่อนมาใช่มั้ย ถ้า Facebook มันคือประมาณสักทุ่มนึงแต่ถ้า Instagram มันจะสัก 5 โมง ส่วน Twitter เขาก็มีข้อมูลมาว่ามันก็มาช่วงดึก ๆเลยนะประมาณสักทุ่มจนถึงตี 1 เป็นกลุ่มเด็ก ๆ กลุ่มนี้เขามีพลังเหลือเฟือ เด็กวัยรุ่นใช้เยอะไง ฉะนั้นพอเด็กวัยรุ่นใช้เยอะอันนี้มันก็จะเป็นเรื่องที่เขาสามารถที่จะนอนดึกได้ เดี๋ยวนี้ผมก็นอนดึกไม่ไหวแล้ว สู้พลังของเด็กไม่ไหวครับ
อันนี้ก็เป็นข้อมูลจากเมื่อวานนี้ที่เขาเอามาแลกเปลี่ยนกัน ตัวที่น่าสนใจอื่น ๆผมคิดว่าอย่างนี้ครับ วันนี้ตัวเลขจาก Facebook ที่มีการเปลี่ยนลอการิทึมในช่วง 3-4 เดือนมานี้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า Engagement ต่อโพสต์ลดลง 27% ปัญหาที่เกิดขึ้นแปลว่าถ้าอยากจะให้คนมีส่วนร่วมต่อโพสต์เท่าเดิมอาจจะต้องซื้อไม่เช่นนั้นคอนเทนส์ก็ต้องดีมาก ๆ
อันนี้ผมคิดว่ามันก็เลยเป็นจุดที่ในแง่ของคนทำโซชียลเองก็ต้องเริ่มหา Platform ใหม่ ตอนนี้ Platform ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมกลายเป็นไลน์ครับ เพราะว่าไลน์นี่มัน 40 กว่าล้านแต่ปัญหาของไลน์ก็ยังเป็นปัญหาเดิมก็คือปัญหาที่เราไม่สามารถโฆษณาให้คนในไลน์เห็นได้ ฉะนั้นตอนนี้สิ่งที่คนทำหรือที่เห็นก็คือว่าโปรโมทผ่าน Facebook เพื่อให้คนมากดไลน์แอดของธุรกิจ อันนี้เป็นสิ่งที่เราเริ่มเห็นเพราะว่าเราเริ่มเห็นแนวโน้มแล้วว่าพึ่งพาทางFacebook อย่างเดียวไม่ได้ครับ
แต่ถ้าคนที่อยากได้เข้าถึงข้อมูลอื่น ๆของลูกค้า การโฆษณาผ่าน Facebook ก็ยังเป็นอะไรที่มันสำคัญอยู่ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจอยู่เพราะว่าความที่ Facebook เองเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าไง แต่จุดที่สำคัญอย่างที่ผมบอกว่า Active Users ที่ทาง Digital business consult สำรวจมามันแค่ประมาณ 40-45 ล้าน แปลว่ามีคนจำนวนมากไม่ได้ใช้ Facebook ประจำ เพราะฉะนั้นแปลว่าเราไม่สามารถส่ง Massage ถึงคนเล่านั้นได้นะครับ อันนี้เป็นจุดที่น่าซีเรียสเหมือนกัน
แล้วอีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าการใช้ Facebook ในบ้านเราเองในต่างจังหวัดนี่น้อยมาก 49 ล้านจากตัวเลขของทางผู้จัดเมื่อวานนี้เป็นกรุงเทพฯ 22 ล้าน น่ากลัวมากเลยครับเพราะว่ามันมากมายมหาศาลเกินไป เพราะว่าประชากรกรุงเทพฯจริง ๆแล้วรวมทุกคนแล้วนี่นะ รวมทั้งคนที่ย้ายถิ่นมาแล้วไม่จดทะเบียน ผมว่า 10 ล้านก็เยอะแล้ว
ล่าสุดจำนวนประชากรประเทศไทยที่มีการประกาศในราชกิจจาถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิดประมาณ 67 ล้านกว่า กรุงเทพฯก็น่าจะ 6-7 ล้าน ซึ่งต่อให้มีประชากรแฝงมันก็ไม่เยอะขนาดนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าคนที่อยู่กรุงเทพฯและปริมณฑลลงทะเบียนเป็นคนกรุงเทพฯบางคนบอกว่าตัวเองอยู่กรุงเทพฯ ทั้งที่ตัวเองอยู่ต่างจังหวัดมาแฝงตัวในชื่อเฉย ๆ เพราะว่าถ้าออนไลน์แบบนี้ก็ไม่มีการตรวจสอบเหมือนสำเนาทะเบียนบ้าน อันนี้ก็จะเป็นจุดหนึ่งที่เวลาจะทำโลเกชั่นโฆษณาในลักษณะที่เป็นเชิงโลเกชั่น ตัว Facebook เองจริง ๆเครื่องมือมันดีเพราะว่ามันสามารถแท็คเราได้ในรัศมี 5 เมตร รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน อยู่ตอนนั้นอยู่ด้วยหรือเปล่ารู้เลยนะ เพราะฉะนั้นในลักษณะคนที่ขายของการใช้ Facebookโฆษณาอาจจะยังคุ้มกว่า แต่ค่าใช้จ่ายมันก็แพงขึ้นนะ เท่าที่คุยกันในแวดวงคนทำ Digital Marketing ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แพงขึ้นประมาณ 20-30 % เลย
จริง ๆแล้ว 20-30 % ที่มันแพงขึ้นนั้นมันก็เป็นไปตามกฏดีมานต์ ซัพพลาย เพราะว่าพอคนเล่นน้อย คนมีเวลาดูมันน้อยลง แต่คนอยากลงโฆษณาให้มันมากขึ้นก็ต้องจ่ายแพงขึ้นฉะนั้นตัวสื่ออย่างไลน์แอดตัวไลน์ก็เลยมีคนสนใจเยอะ Instagram ก็จะมีคนสนใจเยอะขึ้น แต่ว่าปัญหาคือผมว่าตัว Instagram คงไม่มีโอกาสโตแบบ Facebook หรือไลน์ที่ไปแตะประมาณ 40 ล้านอย่างนี้ครับ
ส่วนประเด็นที่ว่าการใช้ช่องทางของ Facebook ในการซื้อโฆษณาคุ้มค่าหรือไม่นั้น อยากเรียนว่าคุ้มอยู่ เพราะว่าอย่างเราพิมพ์โบชัวร์แผ่นหนึ่งเท่าไหร่ สมมติว่าถ้าพิมพ์ 1 หมื่นแผ่นไซต์ A4 พับครึ่ง ถ้าหมื่นแผ่นสี่สีน่าจะประมาณ 3 บาท สมมติตกสัก 2-3 บาท Facebook ยังไงก็ถูกกว่า Facebook ตอนนี้น่าจะประมาณไม่เกิน 20 สตางค์ ถือว่าคุ้มค่าอยู่เพียงแต่ว่ามันไม่ใช่ของฟรีมันจะไม่ใช่ของที่ถูกมาก ๆ เพราะฉะนั้นใครที่เข้ามาตลาดแล้ว อย่างที่เราเคยได้ยินเรื่องเล่าบนออนไลน์ว่าคนนี้ทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้งไม่ต้องจ่ายตังค์โอ้โหยอดขายเป็น 5 ล้าน 10 ล้าน พวกนี้แทบจะไม่มีแล้วนะเพราะว่ามันผ่านยุคนั้นมาแล้วไง ยุคของฟรีมันผ่านไปแล้ว
ทีนี้จะบอกว่าไม่ใช่ขาลงแต่อยู่ในระดับความนิ่งใช่มั้ย ก็อยากเรียนว่าผมว่ามันก็ถึงจุดหนึ่งมันก็ปรับตัวแต่ถามว่ามันจะเลิกหรือไม่ มันคงไม่เลิก เพราะต้นทุนในการเลิกมันสูงมันไม่เหมือนตอนที่เราใช้ตัวบีบีไง ใช้มือถือ Black Berry ตอนนั้นเราใช้ส่ง Massage กัน ผมเข้าใจว่าน่าจะอยู่ประมาณหลัก 4-5 ล้าน ตอนที่มันพีคสุด ๆ แล้วเวลามันเลิกมันเลิกเร็วใช่มั้ย ตอนนั้นผมก็ใช้บีบีแล้วพอมันมีไลน์ผมก็มาใช้ ตอนแรกใช้ 2 อันคู่กันกว่าจะเปลี่ยนก็ใช้เวลานานมาก ทีนี้ลองคิดดูสิเอาอย่างนี้ถามว่าบ้านเราจะโยกมา Twitter หรือโยกมาใช้ Instagram เป็นหลักไม่ มันก็ไม่เพราะทุกวันวันนี้ Instagram ก็ผูกกับ Facebook อยู่แล้ว
ทีนี้ตัว Twitter ก็ไม่น่าเหมาะมาก ไม่เหมาะที่จะทำอะไรเหมือนกับทาง Facebook เงื่อนไขในการที่จะให้โพสต์นั่นโพสต์นี่มันน้อยกว่าแต่ความเป็นส่วนตัวมันเยอะกว่า เพราะว่าส่วนใหญ่ตัวผู้สูงวัยไม่ค่อยมาเล่น มันซับซ้อนแล้วคนยังไม่เล่นอีกเยอะ ฉะนั้นการโตของเขามันเป็นการโตจากฐานวัยรุ่นแล้วก็โตมาจากการที่มีศิลปินเข้ามาใช้ พอศิลปินเข้ามาใช้แฟน ๆก็มาใช้ตามมาติดตามอันนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ Twitter มันเติบโตนะครับ
แล้วถามว่าข้อมูลแบบนี้จะเอาไปใช้อะไรได้บ้าง บอกเลยว่าข้อมูลแบบนี้อย่างแรกเลยคือถ้าเห็นแค่นี้มันเอาไปใช้อะไรไม่ได้ มันน้อยมาก ผมแนะนำผู้ฟังเราว่าเข้าไปที่ Facebook นะครับ Customer Inside หรือเข้าไปที่เว็บไซต์www.customer Insideข้อมูลมันจะลึกกว่านี้เลย ยกตัวอย่างง่าย ๆเลยว่าเดือนมีนานี้คนที่เกิดเดือนมีนามีกี่คนที่ใช้ Facebook อยู่จังหวัดไหน อายุเท่าไหร่ อย่างนี้มันขายของได้ถูกมั้ย ข้อมูลพวกนี้มันบอกแค่แนวโน้มของสิ่งที่เป็นแต่ไม่ได้บอกว่าแนวโน้มของสิ่งที่เป็นเราจะเอาไปทำอะไรได้บ้างนะครับ เพราะฉะนั้นมันต้องมองไปถึงว่าเขามีข้อมูลแล้วจะเอาไปใช้อย่างไร ข้อมูลตรงนี้มันUpgradetrend ผู้ประกอบการเปิดให้ใช้ทุกอย่าง