How to เปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นจุดแข็งธุรกิจ

How to เปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นจุดแข็งธุรกิจ

How to เปลี่ยน ‘ความล้มเหลว’ ให้เป็น ‘จุดแข็ง’ จึงกลายเป็นตัวแปรที่จะมาพลิกเกมของผู้เสียเปรียบให้เป็นผู้คุมเกม และช่วงที่ล้มเหลวที่สุดเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย

How to

เปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นจุดแข็งธุรกิจ

ทุกคนล้วนมีอุปสรรคในชีวิต

แล้วอะไรที่คือวิธีการที่ทำให้พวกเขาเอาชนะจนประสบความสำเร็จได้?

‘การเอาชนะความล้มเหลวของตัวเอง’

ทุกวันนี้ธุรกิจที่โดน Disrupt ส่วนใหญ่ไม่ยอมเปลี่ยนตัวเองหรือพูดง่ายๆ ก็คือไม่ยอมแก้ไขจุดบอดของสินค้าและบริการตัวเอง จนมีวันหนึ่งที่เกิดมีคู่แข่งที่สามารถแก้ไขปัญหาที่คุณไม่ยอมแก้ หรือไม่เคยมองเห็นจุดอ่อนธุรกิจของตัวเองเลยได้ วันนี้ก็กลายเป็นจุดจบในอุตสาหกรรมเสียแล้ว

การเปลี่ยน ‘ความล้มเหลว’ ให้เป็น ‘จุดแข็ง’ จึงกลายเป็นตัวแปรที่จะมาพลิกเกมของผู้เสียเปรียบให้เป็นผู้คุมเกม และช่วงที่ล้มเหลวที่สุดเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุด ความผิดพลาดทุกครั้งที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นตัวกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่และขับเคลื่อนคุณไปในทิศทางที่แตกต่างไปจากเดิม ส่งผลให้การทำผิดพลาดซ้ำจะไม่เกิดขึ้นอีก

แล้วความล้มเหลวสามารถกลายเป็นบทเรียนธุรกิจได้อย่างไร?

แทนที่จะเสียแรงและเวลาไปกับการสิ่งที่คุณไม่เก่ง ทำไมไม่ลองคิดถึงสิ่งที่คุณสามารถทำได้แทนและลงแรงพัฒนาให้เต็มที่ แก้ไขปัญหากับสิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบ ส่วนอุปสรรคต่างๆ ที่กลายเป็นจุดอ่อนหรือความผิดพลาดก็แค่หาวิธีรับมือกับมัน

ใช่ มันไม่ยาก รู้ไหมว่าแบรนด์ระดับโลกที่แม้แบรนด์จะแข็งแกร่งมากๆ เขาแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ยังไง

เริ่มแรกคุณต้องรู้ก่อนว่าสินค้าและบริการคุณมีปัญหาและในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ต่อให้ตอนนี้สินค้าและบริการจะเจ๋งมากที่สุดแค่ไหนก็ตาม ทุกสิ่งมีจุดอ่อน

วิธีหาจุดด้อยหรือจุดอ่อน คือ การหาข้อเสียเปรียบหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน ความอ่อนแอของการบริหารจัดการด้านเงิน การตลาดไม่แข็งแรง การขายไม่แข่งแรง การที่เราไม่สามารถผลิตบางอย่างเองได้ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ การที่เราไม่เชี่ยวชาญบางอย่างหรือขาดทักษาะที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท

เมื่อคุณรู้จุดอ่อนแล้วก็แก้ไข ซึ่งอาจใช้ Business Model Canvas เข้ามาช่วย เช่น บริษัทคุณไม่เก่งด้านอะไร ก็แก้ไขด้วยการจ้างที่ปรึกษาบริษัทหรือหาบริษัทที่เชี่ยวชาญมาเป็น Key partner โดยการกำหนดให้การแก้ปัญหาจุดอ่อนที่เสี่ยงต่อความล้มเหลวนั้นเป็นการหาวิธีแก้ปัญหาว่า จำเป็นต้องทำอะไร (Key Activities) และต้องหาใครบ้าง (Key partners และ Key resources)

  • Key Activities เมื่อเรารู้จุดอ่อนแล้ว ให้ List สิ่งที่เราต้องทำเพื่อแก้ปัญหา จุดอ่อนทั้งหมด หรือกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อให้โมเดลธุรกิจอยู่ได้ เช่น การผลิตสินค้า หรือการสร้างบริการ, การมีโซลูชั่นใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาหรือวิธีการจัดการงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปของลูกค้าแต่ละราย, การมีกิจกรรมหลักอยู่บนแพลทฟอร์ม
  • Key resources จากนั้นก็ระบุออกมาเลยว่า บริษัทเรามีทรัพยากรอะไรบ้าง เพื่อจะที่ต้องใช้เพื่อกำเนิน Key Activities มาพัฒนาส่วนต่างๆ ให้กับธุรกิจได้ (สิ่งนี้เป็นการแก้ปัญหาถ้าไม่มีให้ไปข้อต่อไปเลย)
  • Key partners คู่ค้า หรือเพื่อนทางการค้า มีไว้คอยช่วยเหลือ ปรึกษากัน ไปจนถึง ผู้คอยป้อนสินค้าให้เราในราคาแบบมิตรภาพ ที่ถูกกว่าการไปซื้อกับคนอื่น

นี่คือวิธีที่หลายๆ แบรนด์ทำ เช่น Vivo หรือ Oppo แบรนด์สมาร์ทโฟนจากจีนที่ มีจุดอ่อน ที่เป็นแบรนด์จีน กำหนด Key Activities โดยการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสเปกเครื่องสูงในราคาจับต้องได้ และเลือกใช้ Key partners เป็นตัวประมวลผล Snapdragon และระบบปฏิบัติการเครื่องของ Android ซึ่งทั้งสองมีจุดแข็ง ด้านนวัตกรรมที่แบรนด์จีนไม่สามารถทำได้ และความน่าเชื่อถือในฐานะแบรนด์จีนในช่วงแรก เป็นการหาพันธมิตรมาเติมเต็มหรือ ‘พลิกเกม’

สรุป

  • อะไรบ้างที่เราเคยคิดว่าเป็นจุดอ่อน
  • อะไรบ้างที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นจุดแข็งได้
  • อะไรบ้างที่แก้ป้ญหาได้
  • ใครบ้างที่จะสามารถเป็นพัธมิตร
  • สื่อสารและสร้างการรับรู้ใหม่

สุดท้ายนี้อย่าลืมว่า การสร้างรูปแบบธุรกิจ ต้องเริ่มจากความคิดที่ผู้คนต้องการ

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน