สรรพากรผ่านกม. ‘ฝาก-รับ-โอนเงิน’ ผ่าน E-Wallet เตรียมเสียภาษี!

กม.ภาษีอีเพย์เมนต์ ประกาศแล้ว! มีผล 21 มี.ค.62 ติดดาบสรรพากรส่องธุรกรรมและกระเปผ้าเงินออนไลน์ โดยเฉพาะ E-Wallet โดนเต็มๆ ป้องกัน ‘ผู้ค้าออนไลน์’ เลี่ยงภาษี

สรรพากรผ่านกฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์

‘ฝาก-รับ-โอนเงิน’ ผ่าน E-Wallet เตรียมเสียภาษี!

กม.ภาษีอีเพย์เมนต์ ประกาศแล้ว! มีผล 21 มี.ค.62 ติดดาบสรรพากรส่องธุรกรรมและกระเปผ้าเงินออนไลน์ โดยเฉพาะ  E-Wallet โดนเต็มๆ ป้องกัน ‘ผู้ค้าออนไลน์’ เลี่ยงภาษี

ติดอาวุธให้สรรพากรเต็มที่ หลังจากการประกาศใช้กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ ลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคบใช้ 21 มี.ค.62 เพื่ออุดรอยรั่วภาษีผู้ค้าออนไลน์ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ค้าเหล่านี้เสียภาษี

รายงานในประกาศ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/034/T_0023.PDF?fbclid=IwAR1w9t26ENDD2xYtkNfDFYbwZSwX5ERDXBfHZg9WmucATcg80wEBxBJIRHI

กฎหมายดังกล่าวมีการบังคับให้ภาคสถาบันทางการเงินอย่างธนาคารและผู้ที่ให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ (E-Wallet) ซึ่งตัวอย่างที่ให้บริการอยู่ตอนนี้ประกอบไปด้วย Shopee, True, BTS และ 7-11 เป็นต้น จำเป็นต้องนำส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

เมื่อวิเคราะห์จากในประกาศจะพบว่า กลุ่มคนที่จะถูกสถานบันการเงินและผู้ให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ยื่นนำส่งภาษี ประกอบไปด้วย คุณสมบัติต่อไปนี้

1) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป

2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

หมายความว่าใน 1 ปี มีธุรกรรมทางการเงินฝาก โอน และรับปีละ 400 ครั้ง มูลค่าเกิน 2 ล้านบาทจะถือว่าเข้าข่ายที่สถาบันการเงินทั้งธนาคารและผู้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลมาที่กรมสรรพากร

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน