move on มาก้าวไปข้างหน้าด้วยกันโดยไม่ทำให้การทำงานมาทำลายความสุขและสุขภาพของเรากันเถอะ! การผัดวันประกันพรุ่งสร้างผลลัพธ์ที่เป็นความเจ็บปวดให้กับคุณ

- Posted in
How to ทำอย่างไรดี เมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ
-
- Posted byby kuljira
- 1 minute read
How to ทำอย่างไรดี
เมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ
move on มาก้าวไปข้างหน้าด้วยกันโดยไม่ทำให้การทำงานมาทำลายความสุขและสุขภาพของเรากันเถอะ!
การผัดวันประกันพรุ่งสร้างผลลัพธ์ที่เป็นความเจ็บปวดให้กับคุณ โดยฉพาะให้กับงานที่ไม่ชอบ แม้ว่าคุณอาจเยียวยาตัวเองด้วยการเข้า Netflix ไปแล้วก็ตาม โดยคาดหวังว่าจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งอย่างมีพลัง
มีตัวอย่างจากกลุ่มวิจัยของ Carleton University ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คน พบว่า ร้อยละ 94 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการผัดวันประกันพรุ่งส่งผลเสียต่อความสุขของพวกเขา และก่อนหน้านี้มีบทความที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ที่รายงานเรื่องผลกระทบของการผัดวันประกันพรุ่งว่า คนที่มีอุปนิสัยดังกล่าวส่งผลต่อชีวิตการทำงานและครอบครัว โดยส่วนมากแม้จะรู้ว่านิสัยแบบนี้จะส่งผลเสีย นอกจานี้ นักจิตวิทยาจาก Stockholm University ยังได้เผยแพร่งานวิจัย ออกมาสนับสนุนเพิ่มเติมอีกว่า การผัดวันประกันพรุ่งที่เรื้อรังนั้น คือการที่คนเราจัดการกับความกดดันทางอารมณ์และจิตใจ
ซึ่งหากจะยกตัวอย่างให้ภาพได้ชัดก็ไม่ยาก ให้เราลองนึกถึงกรณีที่เราเลือกจะทำงานต่อให้เสร็จหรือเลือกที่จะไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสแทน โดยบอกกับตัวเองไปว่า การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ โดยนักจิตวิทยาอธิบายพฤติกรรมดังกล่าวไว้ว่า เพื่อเป็นการชดเชยทางจิตใจ ให้เราเองรู้สึกไม้ผิด แม้จะเป็นเหตุผลของการเลี่ยงงานก็ตาม
ความน่ากังวลก็คือ หากพฤติกรรมดังกล่าวถูกทำอย่างเรื้อยรัง อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตรอบข้างไม่ว่าจะเป็นงาน ครอบครัว จนอาจเกิดทำให้ไปสู่ภาวะซึมเศร้า โดยอาการของการผัดวันประกันพรุ่ง ในทางการแพทย์เรียกว่า ‘Student Syndrome’
สาเหตุ
คนส่วนใหญ่ตัดสินใจเลี่ยงงานเพราะต้องการตัดปัญหาที่จะทำให้เขาเครียดออกไปก่อน จนกว่าจะถึงนาทีสุดท้าย ทำให้หลายครั้งเราจึงได้เห็นบางคนส่งงานในช่วงที่ไฟลนก้นเข้ามาจริงๆ จนหลายคนมองว่าคนประเภทนี้ไม่มีความรับผิดชอบหรือรับผิดชอบน้อยกว่าคนทั่วไปเป็นคนไม่เคร่งเครียด มักทำตามใจตัวเองมากกว่างานที่ต้องรับผิดชอบ แต่แท้ที่จริงแล้วคนพวกนี้มีความเครียดซ่อนอยู่
ดร.โจเซฟ เฟอร์รารี่ รองศาสตราจารย์ในสาขาวิชาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยดิพอล (Depaul University) แห่งชิคาโก สหรัฐฯ เคยจำกัดกลุ่มคนเหล่านี้ออกมา 3 ลักษณะ เพิ่มเติมอีก
- พวกต้องการการกระตุ้น หรือ พวกแสวงหาความตื่นเต้น
- พวกหลบเลี่ยง อาจหลบเลี่ยงความกลัวล้มเหลว คนประเภทนี้ยอมให้คนอื่นมองว่าตนเองขาดความพยายาม ดีกว่าถูกมองว่าไร้ความสามารถ
- พวกหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ เพราะจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบกับผลที่ตามมา
อย่างไรก็ตามภาวะังกล่าวไม่ได้มีแค่ในแง่ของความล้มเหลวเท่านั้น เพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่ต้องการความสำเร็จมากๆ เช่นกัน โดยคนคนประเภทนั้นก็คือ พวกเพอเฟคชั่นนิสต์ หรือรักความสมบูรณ์แบบมากเกินไป จากการตั้งเป้าหมายไว้สูง แต่จัดการเวลาได้ไม่ดี ทำให้งานต้องถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ จากการที่วิเคราะห์สิ่งต่างๆ จริงจังตลอดเวลาเสมอจนจบลงด้วยการเลื่อนงานออกไปเพราะตั้งเป้าหมายไว้สูงเกิน
วิธีแก้ไข
เริ่มจากแบ่งงานออกมาเป็นส่วนๆ โดยกำหนดเป้าหมายของงานแต่ละส่วนไว้ด้วย จากนั้นให้เริ่มลงมือทำงานซะ!
Timothy Pychyl ศาสตราจารย์ด้านสาขาจิตวทิยา Carleton University ในแคนาดาได้แนะนำวิธีการดังกล่าวขึ้น ก่อนจะแนะนำเพิ่มเติมว่า ให้คุณนั้นเตือนตนเองอยู่เสมอ ว่าการทำงานเสร็จจะเป็นประโยชน์กับคุณในอนาคต ส่วนการทำงานที่เลื่อนออกไปเรื่อยๆ ให้คุณกำหนดบทลงโทษของตัวเอง อาจไม่ต้องตั้งโทษให้หนักมากก็ได้ เช่น ถ้าไม่เสร็จภายในวันนี้ พรุ่งนี้คุณจะต้องทำงานส่วนต่างๆ เพิ่มเป็น 2 เท่า
แน่นอนว่ามีลงโทษก็ต้องมีให้รางวัล อย่าลืมว่าเมื่อคุณทำงานเสร็จทั้งหมด คุณอาจให้รางวัลตัวเองเล็กๆ น้อยๆ เช่น การมีเวลาเพิ่มเติมให้กับหนังสักเรื่องที่อยากดูกับคนที่อยากอยู่ด้วยกัน
นอกจากนี้ การฝึกสมาธิเพิ่มเติมยังมีผลโดยตรงไม่ให้สิ่งอื่นรอบตัวเข้ามารบกวนการทำงานได้
สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน