“Business model”กับพรรคการเมือง เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ ???

  โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

                วันก่อนผมได้ให้สัมภาษณ์แล้วก็เรียบเรียงเป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องของ “พรรคการเมืองกับสตาร์ทอัพ”ก็มีคำถามตามมาว่าเราจะเอาเรื่องของBusiness model เข้าไปจับพรรคการเมืองได้หรือไม่?? ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่น่าชวนคิดนะครับ

ก็อยากจะเรียนว่าถ้าเราพูดถึงเรื่อง “Business modelกับพรรคการเมือง” นั่นก็แปลว่าเรากำลังมองพรรคการเมืองในเชิงของธุรกิจ โดยนำเอาโมเดลธุรกิจเข้าไปจับนั่นก็คือ Business modelcanvas กับFive Force Model และSwot Analysis มาจับดีหรือไม่ ??

                ถ้าจะพูดถึงพรรคการเมืองเอาเรื่องของ Five Force ก่อนล่ะกัน มันก็มีคำถามว่าใครอยากตั้งพรรคแล้วการเข้ามาทำงานการเมืองมันยากง่ายแค่ไหน?? ขณะที่กติกาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นการทำพรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่จะมาเป็นพรรคการเมืองใหม่ต้องมีต้นทุนสูงในการจัดตั้งพรรค

เพราะมีเงื่อนไขในเรื่องของสมาชิก เรื่องของสาขาพรรค เรื่องของเงื่อนไขที่ว่าต้องส่งส.ส.ลงเลือกตั้งเท่าไหร่ อันนี้คือเงื่อนไขที่เป็นต้นทุนยังไม่เกี่ยวกับว่ามีคนสนใจเลือกหรือไม่เลือก เอาเป็นว่านี่คือต้นทุนในการเป็นพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด

                ขณะเดียวกันพรรคการเมืองมีสินค้าทดแทนหรือไม่หมายถึงของที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน นั่นคือเราเอาประชาชนเป็นตัวตั้ง ลูกค้าเป็นตัวตั้ง พรรคการเมืองเป็นคนขายนโยบายในการบริหารจัดการประเทศ  คู่แข่งขันหน้าใหม่ก็คือคนที่จะเปิดเป็นพรรคการเมืองใหม่ใน Five Force Model

แล้วก็ตัวสินค้าทดแทนซึ่งก็คือการเคลื่อนไหวภาคประชาชน แต่มันยังทดแทนกันได้ไม่สมบูรณ์ เพราะว่าการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเขาเสนอนโยบายได้แต่เขาไม่สามารถเข้าไปกำหนดนโยบายได้ เพราะการกำหนดนโยบายเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองเวลามีการเลือกตั้งแล้วพรรคการเมืองจะมีบทบาทเป็นคนขายนโยบายและเสนอกฎหมายถูกเปล่า ซึ่งบทบาทนี้คนอื่นทำไม่ได้มันทำแบบสมบูรณ์แบบไม่ได้ต้องให้พรรคการเมืองเท่านั้น

ขณะที่การแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมซึ่งก็คืออุตสาหกรรมพรรคการเมือง มันก็มีรายใหญ่อยู่ 2 พรรคคือพรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเพื่อไทย และมีรายเล็กรายน้อย  ถามว่าแล้วผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองเยอะหรือไม่คำตอบคือเยอะมากฉันเลือกใครก็ได้ที่ไม่ใช่พวกเธอ เลือกใครคนใดคนหนึ่งหรือที่ผ่านมากรณีทำให้ทหารต้องเข้ามา“คสช.”ก็ถือเป็นสินค้าทดแทนนะอันนี้เราวิเคราะห์กันแบบ Five Force Model

ประการต่อมาขณะที่ตัวอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ซึ่งก็คือคนที่กำหนดกติกาในรัฐธรรมนูญ คนที่ทำให้กติการัฐธรรมนูญมันออกมาเป็นแบบนี้ เลือกตั้งต้องทำแบบไหนยังไง  ซึ่งกกต.อยู่ในส่วนที่เป็นซัพพลายเออร์เป็นคนที่กำหนดกติกา คนที่คุมเรื่องของการเลือกตั้ง กำหนดเงื่อนไขการเลือกตั้งหาเสียง ฉะนั้น  Five Force พอมองอย่างนี้เข้าไปใครอยากเข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองซึ่งมันเหนื่อยครับ

แต่พอมาดูตัว Swot กรณี“คุณธนาธร”ที่เพิ่งเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่ล่าสุดที่ผ่านมาโดยเอา Swot เข้าไปจับ จุดแข็งของเขาก็คือการเป็นคนรุ่นใหม่ มีเงิน ส่วนจะรู้วิธีแก้ปัญหาหรือเปล่าไม่รู้ แต่มีไอเดียใหม่ ๆ มีความรู้มีความสามารถในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่การเมือง ไม่ใช่เรื่องการบริหารประเทศ นี่คือจุดแข็ง

ขณะที่จุดอ่อนคือการเป็นคนรุ่นใหม่แต่ไม่มีประสบการณ์ จุดแข็งคือคนรุ่นใหม่มันสดจุดอ่อนคือเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ ขณะที่จุดอ่อนอีกอันหนึ่งก็คือการเป็นคนมีเงินเพราะการที่มีมากเกินไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีนะใช่มั้ย นี่คือในมุมมองความเป็นพรรคไม่ได้มองที่ตัวคุณธนาธรนะ

ทีนี้ถ้าเอา Swot เข้าไปวิเคราะห์พรรคการเมืองเช่นกรณีพรรคประชาธิปัตย์จุดแข็งของประชาธิปัตย์คือการอยู่มานานมันเลยไม่มีไอเดียใหม่ ๆ ไม่มีคนรุ่นใหม่ อันนี้คือเราดูจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละพรรคแบบเร็ว ๆหยาบ ๆโอกาสและภัยคุกคามทุกพรรคการเมืองจึงเหมือนกันหมดขณะที่เราไม่มีพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา ไม่มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง 4 ปี

เพราะฉะนั้นโอกาสก็คือคนอยากเลือกตั้ง แล้วนายกฯลุงตู่ก็ประกาศแล้วว่ากุมภาฯปีหน้าถึงจะเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นเมื่อมองเข้าไปสิ่งที่เห็นก็คือมันก็น่าสนใจทุกพรรคตอนนี้ ประชาชนเขาตื่นตัวหมดอยากเลือกตั้งอยากจะใช้สิทธิ์ของตัวเอง ฉะนั้นมันก็เป็นบรรยากาศของการขายนโยบายโดยโอกาสก็คือตอนนี้ประชาชนเป็นผู้บริโภค ส่วนนโยบายของพรรคก็คือโปรดักส์

เพราะฉะนั้นทุกพรรคการเมืองก็ขายนโยบายโดยโอกาสนี่เยอะมากและการที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงฉะนั้นคุณต้องเสนอนโยบายอะไรที่มันสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศในตอนนี้ หรือต้องมองเผื่อไปข้างหน้าเลยว่าอนาคตของประเทศมันจะเปลี่ยนแปลงไปยังไง แล้วการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มันไม่ได้เกิดจากภายในแต่มันเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีมันเร็วมาก เพราะฉะนั้นนี่คือโอกาสของทุกพรรคการเมืองที่ต้องเสนอนโยบายใหม่

ทีนี้ในแง่ของพรรคอนาคตใหม่ที่กลุ่ม“คุณธนาธร”เขาตั้งมันก็มีโอกาสเสนออะไรได้เยอะกว่า เพราะเขาเป็นผู้เล่นรายใหม่ก็ต้องฉกฉวยโอกาสที่มันเยอะสุด แต่ภัยคุกคามเกี่ยวกับเรื่องของการเลือกตั้ง การขายนโยบายคราวนี้ก็คือจะได้เลือกตั้งหรือเปล่าก็ยังไม่เป็นที่แน่นอน ตอนนี้ก็ยังห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง อันนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่มันมีความไม่แน่นอนสูง  อันนี้วิเคราะห์แบบหยาบ ๆเร็ว ๆ

เมื่อเอา“บลูโอเชี่ยน”เข้าไปจับพรรคเก่า ๆมันมีวิธีการหาเสียงแบบไหนพรรคใหม่ก็ต้องเลิก ลด เปลี่ยน เพิ่ม อย่างเช่นก่อนไปจดทะเบียนพรรค “คุณธนาธร”ก็เปิดโอกาสให้คุยกัน คนก็มากันตรึม มีการถ่ายทอดออนไลน์โน่นนี่นั่นก็ได้พื้นที่สื่อไป ซึ่งสังเกตหรือไม่ว่าเขาเป็นพรรคการเมืองอันดับ 58  ในการจดจัดตั้ง

แต่ถามว่าคุณจำพรรคอันดับที่ 1 ถึงอันดับ 57 ได้หรือไม่ที่เพิ่งจดทะเบียนใหม่ ซึ่งพรรคที่เพิ่งจดทะเบียนใหม่เขาบอกว่ามีคนไปขอกว่า 58 พรรคแล้ว ขณะที่พรรคอนาคตใหม่ของคุณธนาธรซึ่งเป็นอันดับที่ 58 แต่แปลกมั้ยคุณจำพรรคอนาคตใหม่ของเขาได้

 ถ้ากลับไปดู Business model ความสามารถของทีมเขานั้นอยู่ที่ Chanel คือความสามารถในการสื่อสาร นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนโยบายตัว Value proposition คือนโยบายเรายังไม่เห็นแบบเด่นชัดแต่ว่า Valueอันหนึ่งที่เราเห็นก็คือการที่ใหม่สดทันสมัยอันนั้นก็ได้ใจลูกค้าไปได้ใจในแง่ของ Customer segment ไประดับหนึ่ง แต่สิ่งที่เด่นมากคือ Chanelซึ่งก็คือช่องทางในการสื่อสารของเขาเด่นโดยออนไลน์เป็นเรื่องที่ช่วยทำให้คนรู้จักเขาเยอะมาก และผมคิดว่าจะเป็นเครื่องมือหลักของเขาในการที่จะขายนโยบาย

เพราะอย่าลืมว่าในแง่ของการเลือกตั้ง เราพูดถึงเรื่องพรรคการเมืองโดยมองแบบธุรกิจว่าพรรคการเมืองเป็นบริษัท ทั้งประชาธิปัตย์เพื่อไทยเป็นบริษัทหมด สิ่งที่ทุกพรรคจะทำตอนนี้คือคิดนโยบายมาเพื่อขายประชาชนซึ่งเป็นลูกค้า เป็นCustomer ซึ่ง Customer segment ก็คืออายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสัญชาติไทยมีสิทธิเลือกตั้งแล้วขายนโยบายถามว่าขายวันไหนก็ขายทุกวันแต่ซื้อวันเดียวคือวันเลือกตั้งหย่อนบัตร ซื้อเสร็จแล้วประชาชนก็บริโภคไป 4 ปี อยู่ในสมัยของการเลือกตั้ง อันนี้พยายามเอา Business modelเข้าไปจับ

ทีนี้เนื่องจากช่วงนี้อยู่ในช่วงของกระบวนการขาย Convince ลูกค้าแต่เนื่องจากว่าตอนนี้กติกาคือยังห้ามขายเต็มที่เพราะว่าห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองมันก็มีเทคนิคเทคติกคุณใช้ได้ โดยตอนนี้สิ่งที่เขาทำก็คือ Chanel กับ Customer relationเป็นสิ่งที่เขาจะทำเยอะมาก ส่วน New stream คงไม่มีจึงยังไม่ได้พูดถึงครับ เพราะสุดท้ายแล้วรายได้ที่จะได้มาจากการลงคะแนนเสียง 1 เสียง 1 โหวต พอพูดถึงเรื่องนี้อยากจะเรียนว่าเร็ว ๆนี้ผมเองเพิ่งไปจดโดเมนมาครับชื่อ “One like One Vote” ก็ไปจดมันไว้เพราะโดเมนมันสวยครับ

อย่างไรก็ตามอยากจะเรียนว่าเราจะเห็นการเลือกตั้งคราวนี้มีการใช้ Chanel Customer relationในรูปแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม เดิมทีพรรคการเมืองจะใช้วิธีขายนโยบายก็จริงแต่เน้นตัว relationship กับคนลงคะแนนเสียงค่อนข้างมาก โดยคนจะมาสมัครส.ส.ต้องไปงานแต่ง งานบุญ งานศพ เรียกว่าแทบจะทุกงาน อันนี้คือกรณีต่างจังหวัด ต้องมีระบบหัวคะแนนช่วยน็อคดอร์ แจกโบชัวร์ ตั้งเวทีปราศรัยหาเสียง อันนั้นเป็น Chanel กับ Customer relation ซึ่งอันนั้นคือระบบเก่าครับ

ทีนี้มันก็มีคำถามว่าช่วงที่พรรคการเมืองถูกห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง กลไก Customer relation แบบนั้นมันยังคงอยู่หรือไม่ ยังอยู่นะครับแต่อยู่แบบมันไม่ได้ประกาศ คนที่เป็นนักการเมิองในท้องถิ่นก็ยังต้องไปงานแต่ง งานบุญ งานศพอยู่เหมือนเดิมเพียงแต่ไม่ได้ไปในฐานะที่ว่าคุณเป็นนักการเมืองแต่ไปในฐานะคนพื้นที่ อันนี้คือกรณีส.ส.ต่างจังหวัด

แต่กรณีของส.ส.ในกรุงเทพฯซึ่งเราไม่เคยรู้จัก แล้วเราก็ไม่เคยคิดที่จะพึ่งพาส.ส.กรุงเทพฯอันนี้คือวิธีคิดแบบคนเมือง กล่าวคือคนชนบทกับส.ส.ใกล้ชิดกันแต่คนเมืองไม่เหมือนกันเพราะฉะนั้นย้อนกลับมา Customer segment มันก็ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือคนในเมืองกับคนในชนบท ซึ่งมีวิธีการต้องการนโยบายเหมือนกันแต่ต้องการ Customer relation ไม่เหมือนกัน

อันนี้คือจุดที่พรรคการเมืองใหม่อาจจะยังตอบโจทย์ตรงนี้ไม่ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือตัว Key Activity กับตัว Key Resources Key Partners ผมพยายามมองตรงนี้นะว่าอันนี้มันก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มันมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ

โดย Key Activity เดิมของพรรคการเมืองก่อนจะให้ได้เลือกตั้งเป็นเรื่องของการลงพื้นที่ใช่มั้ยแต่เนื่องจากว่าตอนนี้ยังห้ามลงพื้นที่ทำกิจกรรมทางการเมืองขณะที่ทุกคนมีเวลา 10 เดือนหรือ 8 เดือนเท่ากันก่อนประกาศเลือกตั้งอันนี้คือสิทธิเท่ากันเพราะฉะนั้นใครก็ตามที่สามารถช่วงชิงจังหวะตอนนี้ก่อนจะได้เปรียบ เพราะฉะนั้น Key Activity ตอนนี้คือต้องหานโยบาย ต้องทำกิจกรรมในเชิงนโยบาย

ทีนี้เนื่องจากกฏหมายมันห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง แต่ถ้าผมเป็นเจ้าของเฟสบุ๊คโปรไฟล์ไม่ใช่เฟสบุ๊คเพจผมบอกว่าเพื่อน ๆว่าผมเองอยากรู้ว่าเรามีปัญหาการศึกษาเรื่องอะไรบ้างให้เพื่อน ๆช่วยกันแชร์หน่อย คุณว่ามหาศาลมั้ย

ซึ่งตอนนี้ทราบว่ามีคนติดตามคุณธนาธร 1 หมื่นกว่าคนบนเฟสบุ๊ค ซึ่งเร็วมากจากคนที่มีเพื่อนอยู่ไม่กี่ร้อยกี่พันคนตอนนี้หมื่นกว่าแล้วน่าจะทะลุเป็นแสนในเวลาอันรวดเร็วนี้ แปลว่าเขาเขียนอะไร 1 ครั้งคนเห็นเป็นหลักแสนถูกมั้ยครับ

ซึ่งช่องทางนี้หลายคนอาจจะบอกว่าเฟสบุ๊คโปรไฟล์มันรับเพื่อนได้แค่ 5 พันแต่รับคน Follow ได้ไม่มีลิมิตนะครับ และโดยกฎหมายตอนนี้เขาอาจจะยังไม่สามารถเปิดเฟสบุ๊คเพจได้เพราะว่าการเปิดเฟสบุ๊คเพจอาจจะเข้าข่ายว่าคุณทำกิจกรรมทางการเมืองซึ่งผมไม่แน่ใจในแง่นี้

เพราะฉะนั้นคุณจะเห็นเลยว่าเขาจะใช้ChanelOnline มาสร้าง  relationship และเป็น Key Activity หลักของเขา เพื่อหานโยบายหาคนที่คิดคล้าย ๆกัน ทีนี้ตัว Key Resources ตอนนี้คือเขาก็ประกาศออกมาแล้วว่ามีผู้ก่อตั้งพรรคจำนวน 25 คนหน้าใหม่ก็เยอะ รุ่นใหม่ ๆเยอะ อายุน้อยสุด 25 มากสุด 60 อายุเฉลี่ยทั้ง 25 คนเท่ากับ 31 ปี ถือว่าน่าสนใจมาก

ณ วันนี้ Key Resources คือแกนนำที่ไปทำ Key Activity คือการหานโยบายกับการหาสมาชิก เพราะตอนนี้สิ่งที่สำคัญคือหานโยบายกับหาสมาชิกแล้วก็ต้องไปสร้าง Key Partners ซึ่งในส่วนของ Key Partners นั้นคุณธนาธรได้ประกาศแล้วว่าจะเป็นพรรคหลักไม่ใช่พรรคทางเลือก?? แปลว่าจะต้องมี Partners เยอะมาก

ซึ่งการสร้าง Partners จะกลายเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะว่าในทางการเมืองถ้าคุณอยากเป็นพรรคหลักคุณไม่สามารถที่จะทำด้วยตัวคนเดียวกันได้อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องดูแต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรถึงตอนเลือกตั้งผมก็คิดว่าพรรคนี้ไม่ใช่ว่าเพราะคุณธนาธรรวยนะแต่ผมคิดว่ามันเป็น Business model ใหม่ที่สามารถระดมทุน

ในสิ่งที่เราเรียกว่า Crowdsourcing ได้คือทำให้คนที่เห็นด้วยกับเขา สนับสนุนเขาทางการเมืองได้ อีกอย่างหนึ่งพอเขาใช้ Online เป็นเครื่องมือหลักซึ่งต้นทุนต่ำกว่าเดิมมาก อันนี้ก็คร่าว ๆเพื่อให้เห็นนะโดยเอา Business model ไปจับ

มันก็มีคำถามว่าสิ่งที่ทางพรรคอนาคตใหม่หรือพรรคอื่น ๆนำเสนอ ณ สถานแบบนี้มันคืออะไรที่จะทำให้ถูกใจลูกค้า แต่เอาไว่ไปคุยกันต่อในตอนหน้าคุณจะได้ความกระจ่างชัดแจ้งอย่างแน่นอน แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าครับ