โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วหลังจากที่ผมได้เปิดประเด็นนำเรื่องของ Business Model เข้าไปจับพรรคการเมือง หลายคนบอกว่าน่าสนใจเพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อน เชื่อว่าคงทำให้หลายคนพอมองเห็นภาพที่เกิดขึ้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถึงตอนนี้มาคุยกันต่อกับคำถามที่ว่าแล้วสถานการณ์ปัจจุบันความต้องการของลูกค้าซึ่งก็คือประชาชนจะเป็นเช่นไร การขายนโยบายยังไงถึงจะโดนใจ
ก็ขอเรียนอย่างนี้นะครับว่าที่ผ่านมาเราพูดถึงเรื่องสินค้าทางการเมืองในเรื่องของการเลือกตั้ง เรายังไม่ได้พูดถึงเรื่องอื่นเลยนะครับจริง ๆแล้วในแง่ของการเมืองมันมีหลายเรื่องแต่สิ่งที่เรากำลังพูดคือเรื่องของการเลือกตั้ง
ซึ่งการเลือกตั้งมันยังไม่ได้เกิดขึ้นแต่จะไปเกิดอีกทีประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าตอนนี้เป็นเรื่องของกระบวนการขายแต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าวันนี้คำว่า“ประชาชน”ที่มีสิทธิเลือกตั้งก็คือคนที่เกิดปีหน้าที่มีอายุถึง 18 ปีขึ้นไปส่วนจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ผมเองก็จำไม่ได้แต่น่าจะประมาณ 40 ล้านคน
เราต้องมองลูกค้าว่ามีหลายกลุ่มไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว อย่างตอนที่แล้วเราก็พูดคร่าว ๆคือคนในชนบทกับคนในเมืองมีทั้งผู้ชายผู้หญิง มีคนที่สมบูรณ์คนที่พิการใช่มั้ยครับ และถ้าแบ่งตามเจนเนอเรชั่นก็มีคนที่อายุ 60 กว่าก็คนยุคหนึ่ง คนที่ช่วง 40-60 ก็เป็นอีกกรุ๊ปหนึ่ง คนที่ผ่านการทำงานแล้วก็ยุคหนึ่ง คนที่จะได้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกก็ยุคหนึ่ง
คนที่อายุ 22 ก็จะเป็นการใช้สิทธิครั้งแรกเพราะคสช.อยู่มาประมาณ 4 ปี ๆ หน้าก็เกือบ 5 ปี เพราะฉะนั้นมันมีคนที่ใช้สิทธิครั้งแรกและมีคนที่ไม่ได้ใช้สิทธิครั้งแรกด้วย สมัยนายกฯปูมีการเลือกตั้งแต่มีคนไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฉะนั้นคนกลุ่มนี้ก็คือช่วง 18 ถึง22-23 ถึงประมาณ 26-27 อันนี้เพื่อให้เห็นว่าเราแบ่งกลุ่ม แล้วกลุ่มมันมีความหลากหลาย
เพราะเวลาออกแบบตัวValue proposition ย้อนกลับไปว่า Penpoint ปัญหาของแต่ละกลุ่มมันเหมือนกันหรือไม่มันก็ไม่เหมือนกัน วันก่อนที่ผมให้สัมภาษณ์แล้วเรียบเรียงเป็นบทความก็จะเห็นว่าผมตั้งชื่อว่า “สตาร์ทอัพกับการเมือง” ก็คือเอาแนวคิดเรื่องของสตาร์ทอัพไปจับการเมือง
ซึ่งสตาร์ทอัพต้องไปตอบโจทย์ของผู้บริโภค ตอบโจทย์ของธุรกิจเหมือนกันครับ พอดูว่าCustomer segment มีหลายกลุ่มก็ต้องไปหา Penpoint ของแต่ละกลุ่มเพราะฉะนั้นนโยบายคราวนี้มันไม่ใช่เป็นแบบนโยบายกว้าง ๆแต่ต้องเป็นนโยบายที่ตอบโจทย์ลูกค้าของแต่ละกลุ่ม แต่ละ segment ยิ่งละเอียดยิ่งดีครับ
เหมือนวันก่อนที่“คุณธนาธร”เขาให้สัมภาษณ์เว็บไซต์มีคนถามเขาว่าคิดอย่างไรกับนโยบายเรื่องเพศที่สามซึ่งเขาก็ตอบได้ดีนะมันก็แปลกที่มีคนถามถึงนโยบายเรื่องนี้นั่นก็แปลว่าคนกลุ่มที่ติดตามบนออนไลน์มันมีความหลากหลายมาก แล้วคนเขาก็อยากสนใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเขาโดยตรง
เพราะฉะนั้นนโยบายทางการเมืองวันนี้จะไม่ใช่นโยบายแบบเดิม จะเป็นนามธรรมก็ได้แต่ต้องเจาะตาม segment มันไม่ใช่เป็นนามธรรมแบบจะทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดี หรือจะกระจายอำนาจแต่มันเป็นนามธรรมที่บอกว่าจะกระจายอำนาจเรื่องอะไรใช่มั้ย จะกินดีอยู่ดีแบบไหนจะแก้ปัญหาชาวนายังไง จะแก้ปัญหาราคายางพาราภาคใต้ยังไง มันต้องเป็นนโยบายที่จับแต่ละ segment ในมุมมองของผมนะจะต้องออกมาแบบนี้
แล้วอยากจะเรียนว่าคำถามคือแล้วพรรคการเมืองต่าง ๆจะมีความสามารถในการหา Solution ในการแก้ปัญหายังไง ซึ่งมันจะกลายเป็นนโยบายแล้วเป็น Value proposition ใช่มั้ย จะหายังไง สิ่งที่หาคือถ้าคุณมีคนเก่งคุณก็เอามานั่งสุมหัวกันไปทำวิจัยเพื่อหา Solution ที่จะแก้ปัญหา ไปหานักวิชาการมาอันนี้ก็เป็นรูปแบบแบบเดิม หรือไปเอาสิ่งที่ข้าราชการเคยคิดเอาไว้มาปัดฝุ่นเป็นนโยบาย อันนี้ก็คือแบบเดิม
อย่างไรก็ตามแต่มีสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เห็นผมคิดว่ามันจะมีโมเดลที่เราเรียกว่า Crowd sourcingโดยCrowd sourcing จะเข้ามามีผลเยอะมาก Crowd sourcingก็คือการดึงเอาความรู้ความสามารถของฝูงชนเข้ามาช่วยเพราะคนเก่งบางทีก็อยู่ในที่ลับ อยู่ในซอกอยู่ในหลืบ อยู่ในที่ที่ของเขาถูกมั้ย ไม่ได้ต้องออกมาประกาศตัวว่าฉันเป็นคนเก่งคือไม่ได้แสดงความเห็นผ่านสื่อแต่ถ้าเป็นพื้นที่บนออนไลน์พร้อมแสดงความเห็นเพราะมันง่าย ต้นทุนต่ำ อันนี้จะเป็นประเด็นหนึ่งที่คิดว่าทางพรรคการเมืองจะต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้
นั่นคือต้องทำให้เห็นได้ว่ามันมีแนวทางแก้ปัญหาแบบนี้จากต่างประเทศหลาย ๆโมเดลนะ หรือโมเดลใหม่ที่มันคิดขึ้นมา หรือกลุ่มคนที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วบอกเลยว่าฉันมีปัญหานี้ฉันอยากให้แก้ปัญหาแบบนี้ ซึ่งมันจะไม่ใช่แค่การ Researchหรือการสำรวจแบบเดิมที่มันอาศัยกลุ่มตัวอย่าง เพราะต่อให้ทำมากแค่ไหนมันก็ยังเป็นแค่กลุ่มตัวอย่าง
แต่พอเป็นออนไลน์โมเดลแบบ Crowd sourcingคือถือเป็นกลุ่มตัวจริงที่เปิดให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้แล้วจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะรู้ยกตัวอย่างปัญหาของพ่อแม่ที่ต้องส่งลูกเข้าเรียนชั้นป.1แล้วต้องติว ถามว่าเรื่องนี้ถามกับใครดีที่สุดก็ต้องถามพ่อแม่ซึ่งพ่อแม่ที่มีปัญหานี้อยู่ในเมืองกับอยู่ในชนบทเหมือนกันมั้ย ก็ไม่เหมือนกัน
คนที่อยู่ในอำเภออย่างบ้านผมเป็นคนจ.กาญจนบุรี คนที่อยู่ในอำเภอบ่อพลอย มีลูกอายุ 4-5 ขวบจะเข้าป.1กับคนที่อยู่กรุงเทพฯมีลูก 4-5 ขวบจะเข้าป.1 ถามว่าปัญหาเหมือนกันหรือไม่ ไม่มีทางเหมือนกันเลย แถมแก้ปัญหาก็ไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าบนออนไลน์มันแยก Segment ได้เยอะแต่ถ้าเป็นนโยบายแบบเดิมมันทำไม่ได้ทีนี้เวลามีนโยบายมันก็จะมีนโยบายระดับชาติเรื่องนี้สำหรับทุกคน หรือเรื่องนี้สำหรับคนบาง Segmentอันนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าพรรคการเมืองรอบนี้จะเอาเรื่องพวกนี้มาใช้ เพียงแต่ว่าทุกคนที่ใช้ประเด็นคือใครทำได้ดีกว่า ตอบโจทย์กว่า ละเอียดกว่าอันนี้เรื่องหนึ่ง
เพราะฉะนั้นValue proposition นอกจากเรื่องของความสดใหม่ เพราะว่าเขาไม่เคยทำอย่างตอนที่แล้วที่เราวิเคราะห์กันเรื่องนโยบายก็จะเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ว่าเวลาคนตัดสินใจลงคะแนนเสียงมันไม่ได้ดูแค่นโยบายอย่างเดียว เพราะอย่าลืมว่าเขาต้องอยู่กับคุณไปอีก 4 ปีถ้าเขาเลือกคุณ ถ้าเลือกแปลว่าเขาจะให้คุณอีก 4 ปี
และถ้าบอกว่าจะเป็นพรรคหลักแปลว่าเรากำลังบอกให้ประชาชนเลือกเพื่อให้เราไปเป็นรัฐบาลแปลว่าแค่นโยบายไม่ได้ต้องทำให้เห็นว่าบริหารประเทศได้ด้วยซึ่งมันต่างกันนะครับ แค่นโยบายโอเคได้เป็นส.ส. 5 คน 10 คน 20 คน นโยบายเอาไปใช้ได้ เอาไปผลักดันได้ ออกกฏหมายได้ ไปคัดค้านได้ ไปอะไรได้ในสภาฯ
แต่ถ้าบอกว่าเป็นพรรคหลักแปลว่าคุณต้องได้มากกว่า 350 เสียงเพราะว่าจะได้โหวตเป็นนายกฯ หรือ 290 เสียงในสภา อันนี้คือพรรคหลักหรือมากกว่านั้นจนกระทั่งคนต้องยอมให้คุณเป็นพรรคร่วมรัฐบาล คำถามคือมันไม่ใช่แค่นโยบายแล้วมันคือความสามารถในการบริหารประเทศแล้ว
เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึง Value proposition ความสดใหม่ ความน่าประทับใจเรื่องหนึ่งเหมือนหีบห่อเป็นอิมเมจที่เห็นแต่ไกล นโยบายเป็นหีบห่อที่ห่อผลิตภัณฑ์ให้สวย ความสามารถในการบริหารจัดการให้ได้จริงจะเป็นเนื้อในของตัวนโยบายตัวผลิตภัณฑ์
จุดอ่อนที่มักจะเจอสำหรับสินค้าใหม่ๆ ก็คือคุณมีความสามารถในการบริหารจัดการได้หรือเปล่า ไม่ใช่ว่าคุณพูดได้หรือเปล่านะ เพราะฉะนั้นโจทย์ตอนนี้ของพรรคใหม่ ๆอย่างพรรคของคุณธนาธรอยู่ที่ว่าไม่ได้อยู่ตรงว่าบริหารได้หรือเปล่า ยังไม่ต้องไปซีเรียส ยังไม่ถึงจุดนั้น ยังมีเวลาอีกนานเพราะฉะนั้นตอนนี้อยู่ที่เรื่องของการสร้างแฟนคลับ
เพราะว่าในทางการเมืองนั้นมันจะมีคนชอบ คนไม่ชอบ กับคนเฉย ๆ คนชอบมีอยู่แล้วมากน้อยแค่ไหนไม่รู้ คนไม่ชอบก็มีอยู่แล้ว แต่วันนี้คือทำคนที่เฉย ๆให้มาชอบทำคนที่ชอบให้รักเลยให้เป็นแฟนคลับเลย ส่วนคนที่ไม่ชอบก็ทำให้ไม่ชอบน้อยลงไม่ต้องไปเปลี่ยนใจเขาหรอก เพราะเปลี่ยนใจเขาไม่ได้ถูกมั้ย มีคนเขาบอกว่าเรื่องการเมือง ศาสนามันเป็นเรื่องที่มาเปลี่ยนคนกันไม่ได้ใช่มั้ย แต่ว่าโอเคให้เข้าใจได้ ทำให้เข้าใจแล้วคุยกันได้ อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ
เพราะฉะนั้นตอนนี้กิจกรรมตัว Value proposition บอกไปแล้วแต่ว่าสิ่งที่สำคัญคือตัว Chanel ตัว Customer relation ผมว่าวันนี้ต้องไปพร้อม ๆกันและออนไลน์จะเป็นเครื่องมือหลักไปจนกว่าปลดล็อคทำกิจกรรมทางการเมืองได้
ทีนี้พอปลดล็อคเมื่อไหร่ปุ๊บพรรคใหม่จะเสียเปรียบ วันนี้พรรคใหม่ได้เปรียบเพราะว่าพรรคใหม่มีความสดใหม่คนอื่นจับตามองถูกมั้ยแล้วเป็นคนที่เก่งในเรื่องการใช้ดิจิตอล ใช้ออนไลน์ ใช้โซเชียลมีเดียก็ได้เปรียบแต่เมื่อไหร่ปลดล็อคทำกิจกรรมทางการเมืองพรรคเก่าได้เปรียบเพราะเขามีกลไกมีเครื่องมือ มีหัวคะแนน
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ผมมองว่ามันเป็นช่วงที่ต้องช่วงชิง ตอนนี้เป็นจังหวะผมว่าเรื่องนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าใครแพ้ใครชนะ ใครจะได้ใจลูกค้ากี่คนแต่ว่ามันเป็นเรื่องน่าสนใจถ้าเอาแนวคิดเรื่องของธุรกิจเรื่อง Business Model เข้าไปจับ มันกลายเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ สรุปว่าเราเปิดพื้นที่ให้คู่แข่งขันเข้ามาในตลาดเยอะ ๆ ในแง่ของผู้บริโภคเราจะได้มีสิทธิเลือกมากขึ้น