โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี สำหรับวันนี้ (27 มี.ค.) หัวเรื่องของการสนทนาเป็นประเด็นต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วที่เราได้คุยกันถึงเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ มันก็มีประเด็นที่ทางผู้ดำเนินรายการถามว่าการเอาดิจิตอลมาใช้ในธุรกิจของเราบางทีมีข้อระวังอยากให้แนะนำว่าการใช้สื่อแบบนี้ในธุรกิจมีอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
ต้องเรียนอย่างนี้ครับว่าเวลาทำเรื่องของธุรกิจออนไลน์อย่างที่เราเคยคุยกันว่า คนทำธุรกิจออนไลน์มันมีหลายประเภท ประเภทแบบมีหน้าร้านกับไม่มีหน้าร้าน ซึ่งใช้ออนไลน์เป็นเรื่องของการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ หรือใช้ออนไลน์ในแง่ของการขาย หรือใช้ออนไลน์เป็นตัวดึงลูกค้าเข้ามาซื้อที่หน้าร้าน สามารถทำได้หลายวิธี
อันแรกเลยต้องเข้าใจว่า ออนไลน์ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของการทำธุรกิจนะครับ ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะโดนกระแสของการรับข่าวสารว่าต้องทำออนไลน์ จนลืมคิดไปว่าจริง ๆแล้วการทำดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งที่จำเป็นต้องทำแต่ไม่ใช่เครื่องมือทั้งหมด ในแง่ของการทำการตลาดเรายังต้องคิดถึงลูกค้า ยังต้องเข้าใจลูกค้า เรายังต้องมีการสัมผัสเจอกับลูกค้า ยังต้องมีการพูดคุยกับลูกค้าอยู่ แม้ว่าจะขายของออนไลน์
คุณจะสังเกตว่าตอนนี้จะมีคำที่เราเคยคุยกันไปแล้วเรื่อง O2O คือว่า Offline to Online กับ Online to Offline ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องเข้าใจอันแรกเลยว่าออนไลน์ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างแต่จำเป็นจะต้องทำ สองก็คือว่าในการทำออนไลน์มันแตกต่างจากการทำธุรกิจในรูปแบบเดิม การทำระบบการตลาดในรูปแบบเดิมมันลงทุนไปปุ๊บกว่าจะวัดผล วัด Feedback กลับมาต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นมันจะต้องใช้กระบวนการในการเตรียมตัวทำตลาดออฟไลน์ซึ่งนานมาก แต่พอเป็นออนไลน์เราเตรียมตัวนานเหมือนกันแต่เราสามารถทดสอบได้ การทดสอบมันจะทำให้เราสามารถใช้จ่ายงบประมาณ แล้วก็การปรับแผนงานได้ตลอดเวลา
ในอดีตเราวางแผนบอกปีนี้เราอยากขาย สมมติว่า 10 ล้านมีสินค้าอยู่ 1 ตัวเพิ่งออกมาใหม่ ตั้งงบโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าตัวนี้สมมติว่า 1 ล้านบาท กว่าจะได้ Feedback กลับมาโปรดักส์ถูกพัฒนาเสร็จแล้ว ถูกขายไปแล้วลูกค้าชอบไม่ชอบแก้บางทีก็ไม่ทันแล้ว แต่พอเป็นออนไลน์ตัวผู้ประกอบการต้องตื่นตัวตลอดเวลานะครับ เพราะว่าการตลาดในแง่ของออนไลน์มันต้องปรับเปลี่ยน ผู้ประกอบการประเภทแบบว่าโยนเงินลงไปแล้วก็หวังผลโดยที่ไม่มีการติดตามการเปลี่ยนแปลง การใช้จ่ายเงินในการทำดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะล้มเหลว เลย เพราะฉะนั้นต้อง alert แล้วก็ติดตามข้อมูลตลอดเวลาครับ
นั่นคือจะหยุดนิ่งไม่ได้อย่างผมยิง AD แต่เช้า อีก 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมงผมรู้แล้วว่า AD ที่ผมยิงได้ผลหรือไม่ได้ผล กลุ่มเป้าหมายผมชอบหรือไม่ชอบ ผมต้องเปลี่ยนเลยนะถ้าไม่ชอบมันไม่ต้องรอ ในรูปแบบเดิมสมมติเรายิงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ลงโฆษณาในวิทยุหรือโทรทัศน์กว่าเราจะรู้ผลว่าผู้บริโภคชอบหรือไม่ชอบผ่านไปนานนะ อย่างหนังสือพิมพ์วางแผนลงกันทีนึงอย่างน้อยถ้าเป็นไทยรัฐในอดีตคือต้องจองกันเป็นเดือนครับ ทีวีใช้ Process ไม่ต่ำกว่าเดือนเหมือนกันครับแต่ว่าตอนนี้ไม่ใช่ครับ เราอยากจะรู้ว่าโฆษณานี้ได้ผลหรือไม่ได้ผลเราลงเฟสบุ๊คเดี๋ยวนั้นเลยครับ สมัครได้เลยครับด้วยเงินเบื้องต้นแค่ประมาณ 100 บาท 200 บาทรู้แล้ว
อยากเรียนว่าผู้บริโภควันนี้อยู่บนโลกออนไลน์เฉลี่ยประมาณ 7 ชั่วโมงถือว่าเยอะมาก 7 ชั่วโมงนี้มันกระจายทั้งวันนะครับไม่ใช่ต่อเนื่องกัน แล้วต้องเข้าใจว่างานวิจัยมันบอกว่าทุกคนเห็นโฆษณากันตอนนั้นแต่ต้องเข้าใจว่าทุกคนก็ไปลงโฆษณากันตอนนั้นซึ่งมันก็ไม่ถูก เพราะว่าด้วยตาที่ทุกคนมีมันเท่ากัน เวลาในการดูมันถูกจำกัดไง เพราะฉะนั้นพอทำการตลาดออนไลน์มันไม่ใช่แบบว่าลงกันตามแพทเทิร์นในช่วงไพร์ไทม์ ต้องไพร์ไทม์อะไรอย่างนี้ไม่ใช่นะมันเป็นการทดสอบได้เพื่อให้รู้จริง ๆว่าลูกค้าของเรารับข่าวสารช่วงไหนครับ
ก็ต้องทดลอง จริง ๆแล้วผมซื้อโฆษณาออนไลน์นะครับซื้อทีนึงทั้งวันเลยครับ แล้วก็มาดูสเกลเวลา ซึ่งจริง ๆ แล้วเราอาจไม่ต้องซีเรียสด้วยเพราะว่าโดยระบบการซื้อโฆษณาออนไลน์มันนับจากการที่ลูกค้าตอบสนองกับโฆษณาเรา เช่นถ้าเราต้องการให้สั่งซื้อถ้าลูกค้าไม่ซื้อเราก็ยังไม่ต้องจ่ายเงิน แปลว่าอะไรครับ แปลว่าเราก็ไม่ต้องไปกังวลถูกมั้ยครับว่าโฆษณานี้มันเห็นตอนไหน เพราะว่าตัวระบบออนไลน์มันช่วยวัดผลให้เรา
แต่สิ่งที่สำคัญคือถ้าเรารู้ละเอียดมันจะลดต้นทุนลงไป แต่ถ้าเราไม่รู้ละเอียดไม่ต้องซีเรียสซื้อทั้งวันเลยครับ ผมซื้อกันทีนึงผมใช้งบ 100 บาท 1 วันผมก็ดูถ้าดีผมก็ซื้อต่อวันที่สอง วันที่สาม วันที่สี่ เรียกว่าดูกันเป็นชั่วโมงต่อชั่วโมงดีกว่าครับในช่วงเริ่มต้น เพราะว่าถ้าเป็นสื่ออื่นพอเริ่มต้นเราไม่รู้ไง เรารู้เมื่อตอนออกแคมเปญแล้ว อันนี้คือข้อควรระวังอันที่สอง
อันแรก คือว่าออนไลน์ไม่ใช่ทุกสิ่งแต่เป็นสิ่งที่จำเป็น อันที่สอง ก็คือว่าการทำการตลาดออนไลน์ไม่ใช่การตลาดแบบประเภททำแล้วทิ้งมันไป มันจะทำรายได้ให้เราไม่ใช่นะมันไม่ใช่เครื่องจักรแบบนั้น มันเป็นการตลาดที่ต้องเอาใจใส่แล้วก็ต้องดูแลต้องติดตามมันตลอด ส่วนที่สาม คือว่าพอทำการตลาดออนไลน์แล้วไม่ว่าเราทำหรือไม่ทำ การรับ Feedback จากลูกค้าเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยจะเป็น Feedback จากลูกค้าที่ใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารถึงเรา ไม่ว่าจากจุดไหนก็แล้วแต่ ไม่ใช่บนหน้าเฟสบุ๊คเราหรือหน้าเว็บเราเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ทำธุรกิจออนไลน์แล้วบอกว่าหมู ๆแค่เปิดเฟสบุ๊คเพจแล้วก็ลงโฆษณาก็จบ ไม่ใช่แล้ว แต่จริง ๆแล้วมันง่าย
VIDEO