แบงค์เฉือนเนื้อยกเลิกค่าธรรมเนียมอะไรคือเหตุผล?

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

                สวัสดีครับวันนี้ (30มี.ค.) กลับมาคุยกันต่อในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี วันสุดท้ายของการทำงานในเดือนมีนาคม ขณะเดียวกันก็เป็นวันที่สภาพอากาศของประเทศไทยและทั่วโลกค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงจนหลายคนบอกว่าแทบจะทานกันไม่อยู่เช่นเดียวกับกรณีประเด็นคำถามที่เราจะพูดคุยในวันนี้

นั่นคือกรณีที่ธนาคารลดค่าธรรมเนียมหลายคนก็ถามว่าลดทำไม ทำไมถึงต้องรีบลด เพราะจริง ๆแล้วทางแบงค์ทหารไทย (TMB) เริ่มต้นลดก่อนคนอื่น ลดจริง ๆมาก็หลายปีแล้วตอนนั้นก็ยังไม่มีกระแสเท่าไหร่แต่พอล่าสุดเรื่องพร้อมเพย์เรื่องอะไรมันมา เรื่องการเติบโตของเทคโนโลยีมันมาปุ๊บสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือทุกคนก็พร้อมใจกันลดค่าธรรมเนียม ข่าวที่ออกมาหลายคนจะรู้สึกเหมือนกับว่า K Bank เปิดตัวก่อนถูกมั้ยแต่ปรากฏว่าจริง ๆ SCB เตรียมตัวก่อนเพราะว่า SCB ประกาศลดตั้งแต่ 26 แต่ว่าทาง K Bank ประกาศ 28

                พอ 2 แบงค์ใหญ่นี้ประกาศลดปุ๊บแบงก์กรุงเทพ แบงก์กรุงศรีฯ KTB คราวนี้ลดกันเกือบหมดเลย แบงก์ใหญ่ ๆลดค่าธรรมเนียมแบบยกเลิกเลย รายได้เขาหายไปอย่าง K Bank น่าจะประมาณ 3-4 พันล้านซึ่งจริงๆแล้วค่าธรรมเนียมที่แบงก์ได้มีมากกว่านี้เยอะครับไม่ใช่ดอกเบี้ยนะเป็นค่าธรรมเนียม อันนี้เป็นเฉพาะค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับเรื่องของการโอน การถอนอะไรพวกนี้มีประมาณ 3 พันล้านทีนี้ถ้ารวมกันทุกแบงก์ก็น่าจะประมาณหมื่นกว่าล้าน

  

              ทีนี้การที่แบงก์ยกเลิกค่าธรรมเนียมเหตุผลหลัก ๆก็คือว่าต้องการฐานลูกค้ารายย่อยครับไม่ใช่กลัวการแข่งขันในอนาคตแต่ต้องการฐานลูกค้ารายย่อย เนื่องจากว่าการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้การได้ฐานลูกค้ารายย่อยจะได้เปรียบครับเพราะว่าเขาจะเข้าถึงข้อมูลการใช้จ่ายเงินของลูกค้าพอเข้าถึงข้อมูลการใช้จ่ายเงินของลูกค้าสิ่งที่แบงก์จะทำได้ในอนาคตนั่นคือยอมเฉือนเนื้อสัก 3 พันล้านแต่ว่าจะได้รายได้กลับมาในแง่ของเวลาปล่อยกู้ เวลาปล่อยกู้เช่าบ้าน ปล่อยกู้สินเชื่อรถยนต์ ปล่อยกู้ธุรกิจในอนาคตพวกนี้มันจะทำให้แบงก์ตัดสินใจในการปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้นครับ ซึ่งอันนี้ต่อทุนแบงก์พอใช้ตัวอิเลกทรอนิกส์แบงกิ้งมันถูกกว่าค่อนข้างเยอะมาก ฉะนั้นเขาเองก็น่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาวครับ

                มันก็มีคำถามว่าการลดแบบนี้มันจะถาวรหรือไม่หรือเป็นแค่ชั่วระยะหนึ่ง อยากเรียนว่าตอนแรกตัว  K Bank ออกมาว่าจะลดแค่ถึงสิ้นปีแต่พอประกาศออกมาเสร็จปุ๊บวันถัดมา SCB ออกมาบอกว่าฉันประกาศล่วงหน้าแล้วเพียงแต่ฉันยังไม่แถลงเพราะฉันจะลดตลอดไป K Bank ก็เลยต้องแก้เกมว่าฉันก็ลดตลอดไปเช่นเดียวกัน  หลังจากนั้นทุกแบงค์ก็ต้องประกาศหมดว่าลดตลอดไปเช่นเดียวกัน  ตอนนี้มันก็เลยกลายเป็นว่าทุกแบงก์พร้อมใจลดหมดเลยและตลอดไปด้วย

แต่สังเกตหรือไม่ว่าการลดค่าธรรมเนียมอันนี้ไม่รวมเรื่องของการใช้เอทีเอ็มนะครับ แต่เป็นการยกเลิกค่าธรรมเนียมเฉพาะการใช้ออนไลน์เท่านั้น ต้องใช้ผ่านเว็บหรือแอพฯเพราะว่าการใช้ผ่านตู้เอทีเอ็มนั้นมันยังมีผลทำให้ต้องขนเงินเอาไปใส่ในตู้เอทีเอ็ม มันยังมีต้นทุนอยู่ ซึ่งคนที่ใช้โอนเงินผ่านคอมพิวเตอร์10 ครั้ง 100 ครั้ง 1,000 ครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง ล้านครั้งต้นทุนมันเท่ากันครับ แต่ว่าพอถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มจำนวนครั้งมีผลต่อต้นทุน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะช่วยทำให้แบงก์ลดต้นทุนได้ในเรื่องของการขนเงินสด รวมทั้งการให้บริการตู้เอทีเอ็มก็ไม่ต้องเพิ่มจำนวนด้วย

ถัดมาคือสาขาต่างๆก็ไม่ต้องเพิ่มจำนวนแล้วสามารถลดลงได้ในอนาคตถูกมั้ยครับ พอลดพวกนี้ปุ๊บในขณะเดียวกันก็ได้ข้อมูลลูกค้าเพิ่มเข้ามาก็ได้ประโยชน์เหมือนกันถูกมั้ยครับ  นอกจากได้ข้อมูลลูกค้ากลับเข้ามาแล้วยังมีโอกาสที่จะได้รายได้จากการที่ลูกค้าเข้ามาอยู่ในแอพฯหรือมาอยู่ออนไลน์ อย่างที่แบงก์ชาติเปิดให้ธนาคารทำเรื่องอีคอมเมิร์สได้อย่างนี้เป็นต้น

มันก็มีประเด็นที่ระบุจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารพาณิชย์ไทยปี 60อยู่ที่ประมาณ196,000 ล้านบาท จาก 3-4 พันแห่งอันนี้ก็อยากจะเรียนว่าน่าจะเป็นค่าธรรมเนียมที่ไม่ใช่เฉพาะพวกโอนจะรวมรายการอื่น ๆ เข้าไปด้วยประมาณ 12 ประเภท  เพราะว่าตอนนี้ที่มันประกาศยกเลิกไปมีประมาณ 4-5 ประเภทอย่างเช็คนี่ยังไงก็หายไปแน่นอนอยู่แล้วโดยปริยายเพราะว่าปัจจุบันนี้เช็คมันก็เป็นเรื่องของคนที่ทำธุรกิจถึงออกเช็คถูกมั้ย เพราะฉะนั้นตอนนี้มันมีพร้อมเพย์ธุรกิจแล้วไง แล้วก็คนก็อยากโอนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเพราะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ไม่ต้องเดินทางให้เสียเวลามันปลอดภัยเพราะฉะนั้นอันนี้มันก็เป็นเหตุ  12 อย่างจริง ๆแล้วเนี่ยบางอย่างมันก็หายไปอยู่แล้วโดยธรรมชาติ หายช้าหายเร็วนะครับ เพราะฉะนั้นตอนนี้แบงค์ทุกแบงค์พอใช้กลยุทธ์เดียวกัน คือใครจะช่วงชิงลูกค้าได้มากกว่าแล้ว

                สิ่งที่ต้องดูต่อไปครับจะมีเรื่องของแต้มเข้ามาเกี่ยวข้อง ใครฝากถอนบ่อยก็จะได้แต้มนะครับ นอกจากให้ฟรีแล้วยังให้แต้มอีก เอาว่าต้นทุนของลูกค้าในการเปิดบัญชีมันง่ายขึ้นไง มันย้ายง่ายขึ้นมันไม่มีความจงรักภักดีต่อแบงค์อ่ะ เพราะฉะนั้นแบงค์ต้องหาอะไรมาล่อเพื่อให้ลูกค้าใช้ต่อไป แล้ววิธีล่อที่ดีที่สุดคือเอาพวกแต้ม สิทธิประโยชน์ดูหนังโน่นนี่นั่นอะไรต่าง ๆเข้ามา