ใช้ “กูเกิล”ปักหมุดโลเคชั่นเพื่อธุรกิจสตรอง

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่นวิทยุ 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี วันนี้(6 เม.ย.) ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกประเด็นเรื่องของการใช้คำค้นต่าง ๆ ที่มีผลกับเว็บไซต์ขายของ ในธุรกิจออนไลน์ที่มีการนำไปใช้จริง ๆ นอกจากจะเป็นเว็บไซต์ เป็นเว็บประชาสัมพันธ์ เป็นบล็อค ยังมีอื่น ๆ อีกหรือไม่

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตรกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่นวิทยุ 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี วันนี้(6 เม.ย.) ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกประเด็นเรื่องของการใช้คำค้นต่าง ๆ ที่มีผลกับเว็บไซต์ขายของ ในธุรกิจออนไลน์ที่มีการนำไปใช้จริง ๆ นอกจากจะเป็นเว็บไซต์ เป็นเว็บประชาสัมพันธ์ เป็นบล็อค ยังมีอื่น ๆ อีกหรือไม่

            อยากเรียนว่าลักษณะของรูปแบบออนไลน์เขาบอกว่าความนิยมมีการนำมาใช้สัก 6 แบบด้วยกัน แบบแรกเป็นเว็บไซต์ขายของที่มีคนนำมาใช้แล้วก็ง่ายที่สุด แบบที่สองเป็นเว็บไซต์โฆษณาประชาสัมพันธ์ แบบสามคือแบบข่าวสารในวงเฉพาะ แบบที่สี่ก็จะเป็นแบบเป็นบล็อค มีรีวิวสินค้า โปรโมท แบบที่ห้าคืออีมาร์เก็ตเพลส และสุดท้ายก็เป็นส่วนหนึ่งของอีมาร์เก็ตเพลสที่จะช่วยให้นำสินค้าไปวางขายด้วย

             คือจริง ๆ แล้วในแง่ของสื่อออนไลน์ประเภทพวกนี้คำถามคือเราจะมองในมุมของใคร อย่างมุมที่ระบุไปเมื่อสักครู่นี้คือมุมมองในแง่ของคนที่เป็นเจ้าของ  คนที่เป็นเจ้าของทำเว็บเพื่ออะไรเพื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อโฆษณา  เพื่อเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นบล็อค เป็นอีมาร์เก็ตเพลส นี่คือมุมมองของคนที่เป็นเจ้าของ

            ทีนี้ในแง่ของฝั่งเอสเอ็มอีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของรายการเรา ถามว่าวันนี้สื่อออนไลน์ที่มีอยู่ทั้งหมดต้องเข้าใจว่าสื่อหลักแม้ว่าเราคุยกันว่าส่วนใหญ่จะต้องเป็นเว็บถูกมั้ยครับ แต่ว่าจริง ๆ แล้วเราก็คุยกันหลายครั้งว่าจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่มันก็ไม่เป็นเว็บ ส่วนใหญ่มันก็จะเป็นโซเชียลมีเดียแบบคนที่ยังไม่พร้อมมีอะไร ทีนี้เวลาคนจะมีโซเชียลมีเดียเริ่มต้นก็สามารถที่จะทำได้ประมาณ 3-4 ประเภทของสื่อออนไลน์ หมายถึงว่าเพื่อการให้ข้อมูลข่าวสาร โฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือสร้างคอมมูนิตี้ทำได้หมด แต่ว่าในแง่ของอีมาร์เก็ตเพลสจะสังเกตว่าเฟสบุ๊คพยายามทำตัวเองให้เป็นที่ซื้อสินค้าไม่ค่อยประสบความสำเร็จนะ

            คือมันได้เป็นอีมาร์เก็ตเพลสอย่างที่เราคุ้นเคยกัน เพราะว่าเวลาเราเข้าไปที่อีมาร์เก็ตเพลสอื่น ๆเรามีความสึกว่าสินค้ามันถูกจัดหมวดหมู่ให้ค่อนข้างโอเค แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องของมันอยู่ใกล้ไกล จะสังเกตหรือไม่ครับว่าเฟสบุ๊คเองเวลาโชว์อีมาร์เก็ตเพลสพยายามเน้น Location Based นั่นหมายความว่าเขาพยายามเน้นคอนเซ็ปที่เป็น O2O  Online to Offline เพราะว่าไม่ได้เน้นคอนเซ็ปในลักษณะที่เป็นอีมาร์เก็ตเพลสเพื่อให้เราสามารถซื้อของออนไลน์ แม้กระทั่งเราซื้อของออนไลน์ถามว่าระยะทางมีผลหรือไม่ ตอบว่าไม่มีนะ คือผมไม่สนใจว่าร้านคุณอยู่ไหน ผมสนใจว่าผมอยากได้ของแล้วคุณส่งให้ผมได้หรือเปล่า

            แต่ว่าพอเป็นตัวอีมาร์เก็ตเพลสของเฟสบุ๊คเน้นในแง่ของตัวโลเคชั่นมากไป การจัดหมวดสินค้ามันไม่ได้เน้นต่อความสนใจของเราแต่มันจะเน้นตาม Tag ตามโลเคชั่นที่เราอยู่ใช่มั้ย มันไม่ตอบโจทย์แล้วก็ล่าสุดไลน์แอตก็เปิด Location Basedหมายถึงว่าคนที่เป็นเจ้าของไลน์แอตสามารถที่จะโปรโมตร้านค้าตัวเองให้ลูกค้าที่อยู่ในรัศมีที่กำหนดสามารถเห็นสินค้าเราได้ เป็นโฆษณา ซึ่งผมยังไม่ได้ทดลองใช้นะซึ่งอันนี้มันก็จะเน้นเกี่ยวกับอาศัยความสามารถของตัวดีไวท์ที่เป็นโมบายดีไวท์ อย่างผมมาต่างจังหวัดพอผมเปิดเฟสบุ๊คหรือเปิดกูเกิล Search หาร้านค้าร้านอาหารปุ๊บ ตัวมือถือมัน Tag โลเคชั่นได้มันก็ส่งข้อมูลไปให้เฟสบุ๊คส่งข้อมูลไปให้กูเกิล ส่งข้อมูลไปให้ไลน์หมด เพราะฉะนั้นตัวผู้ประกอบการต้องคิดแล้วนะครับ

เราย้อนกลับมาเรื่องของการใช้ Keyword คืออย่างช่วงเทศกาลพวกคำว่า “ร้านอาหาร” “ที่พัก” หรือ “ของดีของท้องถิ่น” อะไรประมาณนี้มันจะกลายเป็น Keyword สำคัญที่คนจะ Search หามากเลยเป็นพิเศษ ฉะนั้นผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือใกล้แหล่งท่องเที่ยว  Keyword ที่สำคัญคือ Keyword ที่เป็นเรื่องพวกนี้เลยครับ  อย่างวันนี้ผมหาอาหารทานกลางวันผมก็ใช้ Search หาคำว่า “ที่กิน” หรือ “ร้านอาหารอร่อย”แล้วก็ใส่โลเคชั่นเลยนะ มันก็ระบุมาเลยว่ามีกี่ร้าน แล้วก็อันดับแรกคือร้านที่ถูกรีวิวแต่เป็นร้านที่ทำ Google Business maps ต่อกัน

ต้องไปปักหมุดขอ  Google Business maps อันนี้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญมากเลย มันจะไม่เหมือนกับการปักหมุดปกติ อันนี้ต้องส่งให้กับทางกูเกิลด้วยครับ แล้วทางกูเกิลจะส่งโลเคชั่นมาให้เรา เราก็ใส่พินเข้าไปในข้อมูลที่กำหนด อันนี้ที่จริงSearch คำว่า Google Business maps ได้เลยครับแล้วก็ขั้นตอนทำตามนั้นเลย ไม่ยากครับที่สำคัญคือฟรี แล้วก็ใส่ข้อมูลเวลาเปิดปิดของร้านเราได้

แล้วสิ่งที่สำคัญคือตัวกูเกิลเองมันแสดงถ้าสมมติว่าตอนเรา Search ชื่อร้าน มันจะบอกเวลาเปิดปิดนะ มันให้ใส่เบอร์โทรฯเราสามารถกดจากมือถือเข้าไปโทรหาได้เลยพวกนี้มันฟรีหมด แล้วก็ถ้าสมมติ Search ชื่อร้านเรา มันจะบอกเลยว่าคนส่วนใหญ่ Search ชื่อร้านเราตอนช่วงเวลาไหน เป็นข้อมูลให้เราด้วย ให้ลูกค้าเราด้วยว่าช่วงเวลาไหนมีคน Search ชื่อร้านเรามากเป็นพิเศษ ซึ่งมันก็จะนำไปสู่การทำงานได้หลาย ๆอย่าง

เพราะฉะนั้นผมมองว่าคำค้นสำคัญ แล้วก็การทำอย่างธุรกิจที่มีหน้าร้านนั้นแนะนำเลยว่าต้องใช้ Google Business maps เพราะว่าการใช้ Google Business maps จะทำให้เกิดการค้นเจอบนกูเกิลได้ดีมากเลย  จริง ๆเรา Search บนกูเกิลนี่อย่างผมใช้คำว่า “ร้านอาหาร” “วงใน”ก็น่าจะติดอันดับหนึ่งถูกมั้ย แต่ปรากฎว่าร้านที่มันปักหมุด Google Business maps ติดอันดับหนึ่ง  ซึ่งอันนี้เราต้องเข้าใจแล้วก็พยายามใช้ประโยชน์กับมัน ไม่งั้นก็เสียโอกาสไป

มันก็มีคำถามว่าพอมันมีอย่างนี้ความคาดหวังว่ามันจะดีก็ดีจริง ๆเพราะว่าประเด็นคือว่ามันเป็นการรีวิวจากผู้บริโภคซึ่งมันไม่ใช่การซื้อโฆษณาถูกมั้ยครับ ถ้าเป็นการซื้อโฆษณาก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง  อันนี้เป็นเรื่องของผู้บริโภคแสดงความสนใจหรือรีวิวสินค้าหรือบริการนั้น เพราะฉะนั้นธุรกิจที่มีหน้าร้านในท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้ดีมาก

เป็นการเริ่มต้นง่าย ๆไม่จำเป็นต้องมีเว็บก็ได้ครับ แต่ถ้ามีเว็บจะดีเพราะว่าจริง ๆแล้วตัว Google Business maps นี่มันให้ทำเว็บง่าย ๆให้ได้ด้วยนะ พอมันเปิดเว็บในลักษณะที่เป็นง่าย ๆพื้นฐาน ฟรีเหมือนกันครับ เพราะฉะนั้นถ้าเปิดก็ใส่ข้อมูลหน้าร้านใส่อะไรต่าง ๆมันจะได้ประโยชน์หมดไง

มันก็มีคำถามว่าถ้ามองแบบนี้มันก็จะต่างจากการที่เราค้นหาข้อมูลปกติใช่มั้ย ถ้าเราค้นหาคำว่าการทำอาหารมันก็จะเป็นแบบหนึ่งแต่ถ้าร้านอาหารร้านนี้ ตรงนี้ก็จะเป็นการแสดงหน้าตาให้เราอีกแบบหนึ่งใช่หรือไม่

ต้องเรียนว่าใช่ครับ อย่างสมมติเราเป็นร้านขายเสื้อผ้าแถวนี้ ร้านขายยาแถวนี้ มันคือการเอาโลเคชั่นบวกความสนใจเฉพาะซึ่งกูเกิลมันมีข้อมูลพวกนี้หมด เพราะข้อมูลพวกนี้มันก็ไปอยู่ใน Google maps ด้วยตอนเราใช้ในแง่ของการเดินทาง เพราะฉะนั้นข้อมูลพวกนี้มันช่วยไว้หมดอย่างวันก่อนผมไปเช็งเม้งต่างจังหวัดขากลับผมต้องการเติมน้ำมัน ผมใช้ Google maps อยู่แล้ว ผมแค่คลิกไปที่ Google maps ให้โชว์ว่ามีปั๊มน้ำมันในเส้นทางที่กำลังเดินทางกลับหรือไม่ คือมันวางแผนได้เลยแล้วเราก็รู้เลยว่าเอ๊ะปั๊มไหนที่เราอยากเติม หรือปั๊มที่เราเติมประจำ แต่ถ้าเราไม่มี Google maps แบบนี้ ไม่มีบอกปั๊มแบบนี้เนี่ยเจอปั๊มไหนใกล้เราก็ต้องเติมก่อน แต่พอบอกแบบนี้ปุ๊บเอ้ยเรารอได้ คำนวณระยะทางแล้วนี่รออีกแป๊บนึงก็ได้ อันนี้คือมันก็มาเปลี่ยนวิธีการในแง่ของการวางแผน ในแง่ของการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคพอสมควร

ถามว่าแล้วในส่วนของ SMS เองยังพอใช้ได้หรือไม่ เหมือนเราไปในพื้นที่มีการส่งข้อความมาหา อยากเรียนว่าส่วนใหญ่มันอยู่ในห้างคือมันเป็นการลงทุนสำหรับรายเล็กมันไม่เหมาะที่จะทำ SMS Marketing ในแง่ของการเป็น Location Based มันเหมาะสำหรับรายใหญ่หรือห้างสรรพสินค้าหรืออะไรอย่างนี้ เพราะว่าเวลายิงมันมีต้นทุนสูงอย่างน้อย 30-40 ครั้งถ้าซื้อเป็นเบาท์ใหญ่ ๆ ถ้าไม่ไปซื้อเบาท์ใหญ่ ๆก็ประมาณ 50 ตังค์แต่ว่าถ้ากรณีเราออกอีเว้นท์นี่มันเหมาะ สมมติเราออกอีเว้นท์ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ หรือเมืองทองหรือไบเทค แล้วเราทำ SMS Marketing สำหรับคนที่มาเดินในห้างอย่างนี้น่าสนใจ

หรืออย่างผมเพิ่งแนะนำลูกค้าไปเขาจัดงานที่เอ็มควอเทียร์ ให้ทำเฟสบุ๊คซื้อโปรโมตแต่แทนที่จะซื้อโปรโมตทั่วไปกำหนดรัศมีรอบเอ็มควอเทียร์เลย ก็แปลว่าคนที่มาเดินในเอ็มควอเทียร์จะเห็น คนที่พักอาศัยอยู่ในละแวกนั้นจะเห็นกิจกรรมนี้ในห้าง เพราะว่าตัวเฟสบุ๊คเองมันสามารถยิงโฆษณาในลักษณะเป็น Location Based ได้ กูเกิลก็ได้ แต่กูเกิลคือคุณต้องค้นเราถึงจะเห็นตัวโฆษณา แต่ตัวเฟสบุ๊คคุณไม่ค้นคุณแค่เปิดเฟสบุ๊คโฆษณาก็มาโผล่แล้วโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องว่าสนใจหรือไม่สนใจธุรกิจที่เรากำลังจะโฆษณานะครับ

ถามว่าแล้วมีแนะนำตัวอื่นอีกมั้ยนอกจากอีมาร์เก็ตเพลส เรียนว่าไลน์เองในมุมมองของเอสอ็มอี จริง ๆ แล้วผมคิดว่าตอนนี้ธุรกิจหลายตัวมันกำลังผสมผสานความเป็นออนไลน์กับออฟไลน์ปนกันนะ จริง ๆต้องใช้คำว่า “ดิจิตอล”มากกว่าคำว่าออนไลน์หรือออฟไลน์นะ ยกตัวอย่างผมกำลังนั่งอยู่ในห้างกำลังคุยกับคุณในต่างจังหวัดแหล่งท่องเที่ยว มีแบงก์หนึ่งโปรโมตในฟู้ดคอร์ทใช้แอพฯในการซื้อบัตรตรงฟู้ดคอร์ท ซื้อ 150 บาทคืน 50 บาท แปลว่าจริง ๆซื้อแค่ร้อยเดียว คำถามคือเขาส่งเสริมกันขนาดนี้เพื่ออะไร แล้วเอสเอ็มอีจะใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไร

จำได้มั้ยครับเรื่องนี้เราเคยคุยกันมานาแล้วว่ามีอยู่ 1-2 แบงค์กำลังจับมือกับเซ็นทรัล จำได้มั้ยครับเพื่อที่จะเปิดแคมเปญเลยให้มีการใช้พร้อมเพย์ตอนนั้นยังเป็นพร้อมเพย์ในห้างให้มันเต็มที่เลย ซึ่งตอนนี้ผมมองเลยว่าทุกคนกำลังทำมาร์เก็ตติ้งในลักษณะที่เก็บข้อมูลลูกค้าเก็บพฤติกรรมลูกค้าอยู่ ผมอยู่กรุงเทพฯถ้าผมมาเปิดใช้บริการที่นี่แบงค์นั้นจะรู้ทันทีว่าตอนนี้ผมมาเที่ยวที่นี่

เพราะฉะนั้นถ้า Analytics ของแบงก์ดีแล้วนักวิเคราะห์หรือโปรแกรม AI มันก็ต้องวิเคราะห์ว่าช่วงลองวีคเอนท์ผมจะเที่ยว ต่อไปก็จะเสนอบริการให้ผมใช่หรือไม่เป็นแผนการท่องเที่ยวในช่วงวีคเอนท์ซึ่งมันจะผูกกับบัตรคิดให้ผ่อนได้ ซึ่งแบงก์ไม่ได้ค่าธรรมเนียมในเรื่องแล้วนะ แต่ในส่วนลด 50 บาทเมื่อกี้นี้แบงค์ได้ข้อมูลลูกค้าได้ข้อมูลร้าน แล้วถ้าไปขายสินค้าหรือบริการโอ้โหแบงค์ได้ข้อมูลมหาศาลเลย ฉะนั้นเอสเอ็มอีต้องมองว่าทำยังไงถึงจะพาร์ทเนอร์กับแบงก์ ประเด็นคือเอสเอ็มอีอย่าไปผูกขาดกับแบงค์ใดแบงค์หนึ่ง ต้องเปิดมันทุกแบงค์แล้วพยายามรักษาสายสัมพันธ์กับทุกแบงค์ไว้

จริงมั้ยที่เราคุยกันเรื่องอีมาร์เก็ตเพลส อีมาร์เก็ตเพลสแบบลาซาด้า ชอปปี้  อีเลฟเวนสตรีท เอสเอ็มอีทุกคนต้องเปิดกับทุกเจ้ามีเฟสบุ๊ค มีไลน์ มีกูเกิล เอสเอ็มอีต้องเปิดกับทุกเจ้าไม่ใช่ใช้แค่เฟสบุ๊คไม่ใช้ไลน์ เช่นเดียวกันครับแบงค์ต้องเปิดกับทุกเจ้า เพราะว่าตอนนี้แบงค์เองกำลังจะดึงให้ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีที่เอสเอ็มอีรายเล็กจะมีอำนาจต่อรองสูง ใช้ช่วงโอกาสนี้เราก็เรียนรู้จากสิ่งที่แบงค์ทำ เช่นเขาเปิดกิจกรรมออนไลน์ แคมเปญอะไรต่าง ๆพยายามที่จะเข้าไปจอยกับเขา อย่าเพิ่งไปซีเรียสว่ามันจะได้มากน้อยแค่ไหน อะไรอย่างนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการทดลอง ทดลองเพื่อให้เข้าใจ ถ้าเราเอสเอ็มอีแล้วมีคนมาเสนอบอกว่าเอ้ยคุณมาใช้ตรงนี้ ๆสิทดลองใช้เลยครับ