สรุป 7 บริษัทที่โมเดลธุรกิจหลายแบรนด์ (Multi-brand business model) โลกผู้กุมแบรนด์เนมแฟนชั่น Hi-end ไว้ในมือโดยควบรวมกับบริษัทอื่นโดยการเข้าซื้อหุ้นใหญ่

- Posted in
Business Model ของ 7 บริษัทระดับโลกผู้กุมแบรนด์เนมแฟนชั่น Hi-end ไว้ในมือ
-
- Posted byby kuljira
- 1 minute read
รู้ไหมว่าแบรนด์แฟชันระดับโลกอย่าง Louis Vuitton, Fendi, Dior แบรนด์ที่เป็นแบรนด์เนมและดูเหมือนคู่แข่งตลอดเวลานั้นมีบริษัมแม่เดียวกัน ภายใต้การ บริหารของ LVMH
ใช่แล้วและ Gucci, Puma, Bottega Veneta, Alexander McQueen, BALENCIAGA, Saint Lauren, Stella McCartney ฯลฯ ที่สร้างรายได้มากกว่า 15 พันล้านยูโรในปี 2017 ก็อยู่ภายใต้บริษัท Kering Group
Source: Kering Annual Report 2017
สรุป 7 บริษัทที่โมเดลธุรกิจหลายแบรนด์ (Multi-brand business model)
LVMH
Christian Dior, Louis Vuitton, Loewe, Burluti, Loro Piana, Fendi, Céline, Emilio Pucci, Givenchy, Kenzo, Thomas Pink, Marc Jacobs, Nicholas Kirkwood Edun
Kering Group
Gucci, Bottega Veneta, Saint Laurent, Balen- ciaga, Brioni, Pomellato, Girard-Perregaux, Ulysse Nardin
Compagnie Financiere Richemont SA
Cartier, Van Cleef & Arpels, Montblanc, Jaeger- LeCoultre, Vacheron Constantin, IWC, Piaget, Chloé, Officine Panerai
Richemont
Azzedine Alaïa, Chloé, Dunhill, Shanghai Tang, Net-a-porter.com
JAB Luxury
Bally, Jimmy Choo, Belstaff
The Estée Lauder Companies Inc.
Estée Lauder, M.A.C., Aramis, Clinique, Aveda, Jo Malone; Licensed fragrance brands
L’Oréal Luxe
Lancôme, Biotherm, Helena Rubinstein, Urban Decay, Kiehl’s; Licensed brands
อย่างไรก็ตามแม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะเป็นบริษัทแม่ที่ทำหน้าที่บริหารซุปเปอร์แบรนด์เหล่านี้ แต่ก็ไม่ใช่คนที่ก่อแบรนด์ขึ้นมาจริงๆ แต่เป็นกลยุทธ์การควบรวมกับบริษัทอื่นๆ โดยการเข้าซื้อหุ้นใหญ่ของแต่ละแบรนด์ ทำให้แบรนด์ทุกแบรนด์ภายใต้การบริหารด้วย Business Model นี้ ยังคงทำงานแยกกันอย่างเป็นอิสระ
กลยุทธ์โมเดลธุรกิจหลายแบรนด์ (Multi-brand business model)
โมเดลที่มีบริษัทแม่บริหารและแตกแบรนด์ออกมาเรียกว่า Multi-brand business model ซึ่งวิธีนี้ทำให้ส่งเสริมแบรนด์แต่ละแบรนด์ให้มีการจัดการอย่างอิสระ ช่วยให้บริษัทเกิดความความหลากหลาย รักษาเอกลักษณ์ของในแบรนด์ของตัวเองได้ แต่ก็ยังใช้ประโยชน์จากการขยายเครือข่าย กระจายสินค้าจากบริษัทแม่เพื่อประหยัดงบประมาณ อีกทั้ง หากต้องการทำ collaborate brand ระหว่างกัน เช่น Gucci และ Puma ต้องการทำคอลเลคชันพิเศษก็สามารถทำได้ผ่านบริษัทแม่
ซึ่งไม่ใช่แค่บริษัทแฟชันเท่านั้น แต่บริษัทต้นแบบ Business Model อย่าง Google ก็มีโมเดลนี้ด้วย โดยไม่ใช่ Model ของ Google แต่เป็นโมเดลสำหรับบริษัท Alphabet หรือบริษัทแม่ของ Google นั่นเองที่ใช้ Business Model แบบนี้ จากการปรับโครงสร้างขององค์กรตั้งแต่ 2015 ซึ่ง Alphabet เป็นบริษัทโฮลดิ้ง คือบริษัทที่ไม่มีธุรกิจหลักของตัวเอง โดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก เพื่อการควบคุมยิ่งกว่าเพื่อการลงทุน หรือเป็น Business model แบบ Multi-brand
ทำให้ Google จะโฟกัสอยู่กับ Product ตัวเอง เป็นบริษัทย่อยภายใต้การดูแลและบริหารโดย Alphabet เหมือนที่ Gucci, Bottega Veneta และ Saint Laurent ก็ไปสนใจแต่ผลิตภัณฑ์ตัวเองเช่นกัน แต่หน้าที่บริหารจัดการต่างๆ เป็นของ Kering Group
สรุปก็คือ ข้อดีของโมเดลแบบนี้คือการที่ทุกแบรนด์เป็นอิสระต่อกันในการทำงานและวางตำแหน่งทางการตลาด แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็ได้เปรียบเรื่องของการแชร์สรรพยากรระหว่างองค์กรลดต้นทุนต่างๆ ตั้งการจัดหาวัตถุดิบ บริหารจัดการโลจิสติกส์และสต๊อกสินค้า และกระจายสาขาและสินค้า เป็นต้น
เป็นการควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยใช้สรรพากรเดียวกัน แต่ยังรักษามาตรฐานที่มีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกันก็จะทำให้องค์กรสามารถควบคุมกระบวนการเหล่านั้นได้