โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
สวัสดีครับวันนี้ (10 เม.ย.) มาคุยกันต่อในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่นวิทยุ 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ประเด็นวันนี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากคราวที่แล้ว โดยผู้ดำเนินรายการได้สอบถามผมว่าแต่ละลิงค์ ในแต่ละช่องทางออนไลน์นั้นมันจำเป็นต้องเป็นชื่อเดียวกันหรือไม่ รวมถึงลักษณะของการเขียน ต้องอะไรอย่างไรบ้าง
อยากเรียนว่าในประเด็นนี้เราต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนว่า การได้ชื่อเดียวกันจะเป็นประโยชน์นะครับ ไม่ว่าจะชื่อบนเว็บไซต์ ชื่อเฟสบุ๊ค ชื่อยูทูป ชื่อทวิตเตอร์ ชื่อในที่นี้เรากำลังพูดถึงคือชื่อที่เป็นตัวช็อตยูอาร์แอลนะครับ อย่างเว็บไซต์สมมติว่าผมเปิดร้านของผมชื่อ “อุดมธิปกดอทออนไลน์ดอตทีเอช” ก็เป็น www.Udomtipok.online.th อันนี้แสดงว่าเป็นเว็บผม ทีนี้ถ้าผมจะเปิดร้านค้าบนเฟสบุ๊คผมก็ต้องเป็น www.facebook.com/udomtipok ถ้าเป็นยูทูปก็ต้องเป็น you tube.com/udomtipok ไอจีก็เหมือนกัน ซึ่งทุกตัวมันจะมีช็อตยูอาร์แอล รวมทั้งตัวไลน์แอตด้วย
การได้ชื่อที่เป็นช็อตยูอาร์แอลมันจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งบนโลกออนไลน์ เพราะว่าไม่งั้นมันจะมีปัญหา ยกตัวอย่างเช่นถ้าผมได้ชื่อบนออนไลน์ บนเว็บไซต์เป็น Udomtipok.online.th แต่ปรากฏว่าบนเฟสบุ๊คผมจดไม่ได้มีคนจดไปแล้ว ผมก็อาจจะต้องเป็น Udomtipokphaikaset โอ้โหชื่อยาวเลย หรือเป็น Udomtipok.P หรือเป็นชื่ออื่น ๆ
ทีนี้พอเป็นยูทูปเป็นอีกชื่อหนึ่ง ตั้งชื่อไม่ได้ซ้ำกันไม่ได้อีก คราวนี้ยุ่งเลยครับ พอเวลาเราจะสื่อสารให้ผู้บริโภคของเรา โอเคว่าเวลาคนเข้าเว็บไซต์มันก็จะมีลิงค์ คนก็กดแค่ลิงค์ไปถูกมั้ย มันก็ไม่ยากเท่าไหร่ คนไปที่เฟสบุ๊คลิงค์กลับมาที่เว็บเขาก็ไม่ต้องจำชื่อเว็บ ปัญหาหลักจริง ๆ คือตอนที่เราโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออื่นเช่นในนามบัตร ในโปสเตอร์ ในโบชัวร์ ในบิวบอร์ด พวกนี้จะมีปัญหาหมด แล้วมันก็จะทำให้ลูกค้าสับสน
หลายคนอาจจะบอกว่าก็ให้คนเข้าเฟสบุ๊คก่อนเข้าเว็บไซต์ มันยากเพราะว่าบางคนเขาใช้แค่ไลน์ถูกมั้ยครับ บางคนใช้เฟสบุ๊คเป็นหลัก บางคนสนใจยูทูปอยากดูวีดีโอเป็นหลัก ทำไมเขาจะต้องเข้าเว็บไซต์ก่อนถูกมั้ยครับ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะกลายเป็นปัญหาของการสื่อสาร ปัญหาในการคุยกับลูกค้า สื่อสารกับลูกค้าเป็นการสร้างแบรนด์ ฉะนั้นถ้าจดชื่อเดียวกันได้คุณจดเพราะฉะนั้นผมจะแนะนำตัวลูกค้าเสมอว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการทำสื่อออนไลน์จดให้หมดทุกอย่าง เว็บไซต์ยังไม่มีจดชื่อไว้ก่อนยอมจ่ายเงิน 300 700 บาท จดชื่อไปก่อนเลย เพราะไม่งั้นเนี่ยจะมาบอกว่าจะทำเว็บเมื่อไหร่ค่อยมาจดปรากฎชื่อโดนจองไปแล้ว ยากแล้ว เอ้ยวันนี้ยังไม่ได้ทำช่องยูทูปแนะนำให้จดไปก่อนเลยครับ จดไปก่อนเลยช่องยูทูปที่มันเป็นออฟฟิศเชียล ทวิตเตอร์ยังไม่จำเป็นต้องใช้จดไปก่อน แล้วยังไม่ต้องทำอะไรมันก็ได้ ซึ่งบางตัวเสียตังค์ก็คือเฉพาะตัวเว็บไซต์ ไลน์แอตถ้าเป็นออฟฟิศเชียลเสียตังค์นิดเดียวครับ 600 บาท เพราะฉะนั้นพวกนี้ก็ทำให้มันเรียบร้อยซะอันนี้คือคำแนะนำครับ
ผมอยากเรียนต่ออีกสักนิดครับว่า อีกเรื่องที่ซีเรียสคือตัวอีเมล เพราะว่าอีเมลจะไปสัมพันธ์กับชื่อเว็บ แล้วหลาย ๆ คนที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มักจะละเลยในการมีอีเมลที่มันเป็นออฟฟิศเชียล ส่วนใหญ่จะไปใช้ฟรีอีเมลอย่าง G mail รุ่นเก่าหน่อยก็จะมี Hotmail เก่าอีกก็จะเป็น yahoo ซึ่งผมมองว่าพวกฟรีอีเมลพวกนี้เวลาใช้ติดต่อสื่นสารมันไม่น่าเชื่อถือ ไม่รู้สึกว่าคุณเอาจริงเอาจังกับการทำธุรกิจเพราะฉะนั้นแนะนำว่าควรที่จะจดตัวโดเมน แล้วเอาโดเมนนั้นไปจดอีเมลที่เป็นออฟฟิศเชียล
มันก็มีประเด็นคำถามที่หลายคนถามก็คือ ถ้าจะจดอีเมลที่เป็นออฟฟิศเชียลมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ผมว่าตกประมาณ 30 เหรียญต่อปีครับ ไม่แพงประมาณ 900 หรือหนึ่งพันต่อปี ถามว่ามันใช้ได้เยอะมั้ย เราก็ได้ฟังก์ชั่นของ G mail ทั้งหมด ซึ่งจริง ๆแล้วตัว Hotmail ตัวไมโครซอฟเองก็จะมีจดโดเมนด้วยนะ รับจดอีเมลด้วยใช้เป็นอีเมล ของกูเกิลก็มีนะครับ ก็ถ้าใช้ของกูเกิลคือ Google business
ซึ่ง Google business เองก็ประมาณ 30 เหรียญ ของไมโครซอฟก็ราคาพอ ๆ กัน เสร็จแล้วนี่เราก็ได้เอาโดเมนเรามาต่อนามสกุล สมมติของผมก็จะเป็น @@.digitalbusinessconsult.asia ก็เป็น udom.pk@ digitalbusinessconsult.asia เวลาผมส่งหรือติดต่องานกับลูกค้าความน่าเชื่อถือมันก็มีนะครับ อันนี้ผมว่าคิดว่าเป็นเรื่องที่ตัวผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญแล้วเวลาพิมพ์ในนามบัตรมันดูน่าเชื่อถือกว่ากันเยอะ เหมือนว่าเราจริงจังกับการทำธุรกิจ แต่ว่าไปแล้วเนี่ยลงทุนประมาณแค่ 2