โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
สวัสดีครับก่อนหน้านี้เราคุยกันเรื่องของการตั้งชื่อ แล้วก็โยงกันมาเรื่อยตั้งแต่เรื่องการตั้งโลเคชั่นของกูเกิลยาวกันมาถึงออนไลน์ต่าง ๆ และก็มาผนวกกับสื่อออนไลน์ต่าง ๆที่เราจะนำมาทำธุรกิจว่ามีสื่ออะไรได้บ้าง แล้วจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตั้งชื่อเหมือนกัน วันนี้ (12 เม.ย.) ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกกรณีการตั้งชื่อมาสอบถามกรณีที่บางทีไม่ใช่ชื่อภาษาอังกฤษอย่างเดียว มีชื่อไทยบ้าง หรือชื่ออื่น ๆ ถามว่ามันต้องตั้งยังไงถึงจำได้ง่าย
อยากเรียนว่าเราต้องแยกกันระหว่างผลิตภัณฑ์หรือชื่อแบรนด์กับชื่อบนออนไลน์นะครับ เพราะว่าสมมติว่าเราชื่อ “อุดมธิปก” เวลาไปทำบนออนไลน์เขียนเป็นภาษาไทยมันเขียนไม่ได้เพราะว่าเวลามันเป็นออนไลน์โดยเฉพาะตัวเว็บมันมีปัญหา ซึ่งจะมีผลคือจะทำให้เวลาคนค้นชื่อองค์กรมันค้นเจอล่ะ สมมติชื่อร้านเป็น “อุดมธิปก” แต่ว่าพอเราแชร์ข้อมูลอะไรออกไป สมมติชื่อเป็น “อุดมธิปก ดอตคอม”แต่เขียนเป็นภาษาไทยนะ เวลาแชร์ออกไปมันมีปัญหามากเลย เพราะว่าหลาย ๆตัวสื่อออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียมันไม่รองรับการแชร์เป็นภาษาไทย มันก็จะออกมาเป็นตัวยึกยือ ๆ ๆ
อันนี้เป็นสิ่งที่เวลาคนตั้งชื่อต้องคิดก่อนเลยนะว่าถ้าเป็นชื่อภาษาไทยเนี่ยจะทำยังไง จะแก้ปัญหายังไง จะใช้ทับศัพท์ไปเลยดีมั้ยแนะนำว่าให้ทับศัพท์ไปเลยจะง่ายสุด อย่าง“อุดมธิปก”ก็ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษไป อย่าง Digital Business Consult เราก็เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษดีที่สุด โดยเฉพาะเขียนเป็นภาษาไทยมันก็จะมีโอกาสสะกดผิดค่อนข้างเยอะครับ อันนี้ผมพยายามมองในประเด็นเรื่องของออนไลน์นะ
ทีนี้หลายคนเวลาทำธุรกิจอาจจะไม่ได้เริ่มต้นคิดเรื่องการทำบนออนไลน์ ก็คิดแบบคนทำธุรกิจ โดยตรงของตัวเราเอง ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่าง “เจ๊จง”ที่ทำหมูทอดก็ไม่ได้คิดอะไรก็คิดว่าทำหมูทอดแล้วตัวเองก็ชื่อ “เจ๊จง”มาตั้งแต่ต้นก็ทำหมูทอด ทีนี้พอมันเป็นออนไลน์มันก็ใช้ “เจ๊จงหมูทอด” มันก็ต้องพยายามสื่อให้คนเข้าใจว่าแบรนด์บนออนไลน์ของตัวเอง เวลาค้นหาเวลาอยากเจอ เหมือนชื่อเจ๊จงเวลาภาษาอังกฤษฝรั่งมันก็คงงงนะแต่ฝรั่งก็อาจจะไม่ใช่ลูกค้าหลัก วันหนึ่งข้างหน้าเขาอาจจะไปทำธุรกิจที่มันเป็นอินเตอร์ก็อาจจะปรับแบรนด์ซึ่งเราก็จะเห็นเยอะ
อย่าง “เจ๊กเม้ง”ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่เพชรบุรี ซึ่งคุณไนต์ซึ่งเป็นรุ่นลูกมีความสามารถมีทักษะในด้านออนไลน์ก็โปรโมตร้านอาหารเจ๊กเม้งจนดัง แล้วค่อยมาปรับแบรนด์ทีหลังให้มันดูเป็นอินเตอร์ขึ้น การจัดช่วงแรกตอนทำออนไลน์จริง ๆก็ไม่ได้ซีเรียสทุกคนก็เรียก “เจ๊กเม้ง”อยู่นะครับ เพราะฉะนั้นต้องแยกกันว่าวันที่เราเริ่มต้นธุรกิจเนี่ยถามว่าต้องซีเรียสเรื่องชื่อมั้ย ก็ควรซีเรียสนะแต่ถ้าซีเรียสมากไปจนกระทั่งแบบเอ้ยมันไม่ได้ไปสนใจเรื่องอื่นผมว่ามันก็ไม่ใช่ แต่ถ้าสมมติว่าทุกอย่างเราดีหมดแล้ว ผลิตภัณฑ์ดี เซอร์วิสของเราดี สินค้าดีมีความแตกต่างแล้วต้องสร้างแบรนด์โอเค
แต่ถ้าวันแรกมาจดจ่อกับเรื่องสร้างแบรนด์ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของตัวเซอร์วิสหรือตัวผลิตภัณฑ์ผมว่าบางทีมันก็ไม่ได้นะ ทีนี้พอมาทำบนออนไลน์ที่มีคำถามว่าชื่อเรามันจะมาสอดคล้องกันยังไงก็อย่างที่ผมบอกคือคำทับศัพท์ดีที่สุด อย่างเมื่อวันอังคารเราก็คุยกันว่าต้องจองชื่อให้ได้ก่อนเพราะฉะนั้นพอเวลามาออนไลน์ถ้ามันเป็นชื่อเฉพาะธุรกิจสินค้าบริการเรา เวลาทำทับศัพท์มันก็ง่ายเพราะไม่ค่อยมีคนใช้ถูกเปล่า แต่ถ้ามันเป็นชื่อสามัญทั่วไปคราวนี้มันจะเริ่มยุ่งแล้ว เพราะว่ามันมีโอกาสที่คนใช้ชื่อเหล่านั้นเหมือนเราเยอะ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นปัญหาทั่วไปเวลาตั้งชื่อตัวสินค้าหรือบริการนะครับ
ทีนี้ถามว่าถ้าตั้งชื่อย่อง่ายหรือไม่ ตอบเลยว่าง่าย แล้วหลายคนก็ชอบตั้งชื่อย่อแต่คำถามคือแล้วชื่อย่อมันแปลว่าอะไร แล้วมันกำลังจะสื่ออะไรกับผู้บริโภค ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา การทำเป็นชื่อย่อยกตัวอย่างเช่นธนาคารกรุงเทพบางคนก็เรียกเป็น BBL กสิกรไทยก็เรียกเป็น K bank ไทยพาณิชย์ก็เป็นSCB แต่เนื่องจากเขามีงบมหาศาลในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพราะฉะนั้นเขาก็สามารถทำให้คนจดจำชื่อย่อได้ง่าย แต่ชื่อเดิมทีของเขาก็ยาวพอยาวถูกเปล่า พอยาวแล้วมันมาทำย่อแล้วเขามีงบประมาณก็จบ อย่างบริษัทเดิมผมบริษัทพีเพิลมีเดีย เวลามาย่อก็เป็น “พีเอ็มจี” ตอนแรกก็ใช้พีเพิลมีเดียแล้วมันยาว ยิ่งพอชื่อหลัง ๆเป็นพีเพิลมีเดียคอร์ปอเรชั่นโอ้โหยาวกว่าเดิมอีก เพราะฉะนั้นก็ต้องหาวิธีที่จะย่อมันให้คนจำได้ สุดท้ายแล้วนี่ชื่อยาวไม่เอาแล้ว เปลี่ยนเป็นชื่อย่อไปแล้ว “พีเอ็มจี”
นั่นแสดงว่าถ้าเป็นชื่อย่อจะเหมาะเหมือนเรามีชื่อเก่ามาก่อนแล้วชื่อยาว ๆแล้วผู้บริโภครู้จักแล้ว มาย่อก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ว่าวันแรกถ้าเราย่อก็ไม่ใช่ความผิดนะก็ย่อได้เพียงแต่ว่าย่อแล้วถ้าไม่สื่ออะไรก็ต้องไปอธิบายความกันอีก ทีนี้มันขึ้นอยู่กับธุรกิจละครับธุรกิจของเรามันแมตแค่ไหน คือถ้าธุรกิจเราแมตมากเราก็ต้องทำให้ผู้บริโภคมันจำคือย่อตั้งแต่วันแรก็ได้ไง เราไม่ต้องไปอธิบายว่าบริษัทเราคืออะไรเพราะว่าผู้บริโภคสามารถดูจากสินค้าหรือบริการของเราได้ แล้วสินค้าที่มันขายผู้บริโภคส่วนใหญ่บางทีก็ไม่ได้สนใจในแง่ของอธิบายว่ามันคืออะไร อย่างเอสแอนด์พีย่อมาจากอะไร หรือเอ็มเคย่อมาจากอะไร บางทีเราก็ไม่รู้เพราะเราเห็นชื่อมาแต่อ้อนแต่ออก
ประเด็นคือบริษัทที่มันมีสินค้าหรือบริการที่ชัดเจนโดยเฉพาะไม่ใช่บริการนะ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มันจับต้องได้ เห็นหน้าร้านเห็นอะไรอย่างนี้ คนเห็นปุ๊บเวลาคุณโฆษณาใช่มั้ย เอสแอนด์พี เอ็มเค คุณกำลังโฆษณาตัวสินค้าหรือบริการด้วย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคก็จะรู้เลยว่ามันคืออะไรโดยที่คุณไม่ต้องบอกว่ามันย่อมาจากอะไร อย่างสมมติว่าผมย่อบริษัทดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์เป็น “ดีบีซี”อย่างนี้ แล้วคุณพูดทุกวัน ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการบริษัทดีบีซี จำกัด คนก็จะงงว่าเอ๊ะดร.อุดมธิปกทำธุรกิจอะไร แต่ถ้าบอกว่าดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัทดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์ จำกัดคือตัวชื่อมันบอกว่าทำธุรกิจอะไรเลย ชัดเจน อันนี้เป็นเรื่องของการตั้งชื่อ
ส่วนกรณีถ้าเกิดชื่อคล้ายกับของคนอื่น ผมอยากเรียนว่ากรณีชื่อคล้ายคนอื่นบนโลกออนไลน์เจอเยอะมาก บนโลกออฟไลน์เราอาจจะไม่ค่อยซีเรียสถูกมั้ยครับ อย่างกรุงเทพฯกับเชียงใหม่ถ้าเราทำธุรกิจออฟไลน์แล้วลูกค้าไม่ทับกัน ชื่อคล้ายกันหรือซ้ำกันไม่ใช่ปัญหาเพราะมันถือว่าเป็นลูกค้าคนละกลุ่มหรือต่อให้เป็นกลุ่มเดียวกันมันก็มีเรื่องของพื้นที่ที่เป็นโลเคชั่นถูกมั้ย
แต่พอขึ้นมาออนไลน์ปุ๊บแปลว่ามันอาจจะแข่งกันโดยธรรมชาติ แข่งกันในแง่ที่ว่าสมมติผมเป็นธุรกิจขายของหรือขายบริการที่คุณไม่ต้องมาเจอที่หน้าราน เวลาคน Search บนกูเกิลนะครับ Search ชื่อไปแล้วเจอเว็บหรือเจอชื่อร้านเอ๊ะตกลงมันร้านไหนกันแน่ เชียงใหม่หรือกรุงเทพฯใช่มั้ยครับเริ่มมีปัญหาแล้ว ยิ่งถ้ากรุงเทพฯด้วยกันตายเลย เพราะฉะนั้นเนี่ยพอขึ้นออนไลน์เมื่อไหร่ปุ๊บมันก็ย้อนกลับไปที่เราบอกก็คือว่าถ้าเราจับจองพื้นที่บนออนไลน์ได้ก่อนจบ แต่ถ้าไม่ได้ลำบาก
ยกตัวอย่างเช่นสมมติว่าบริษัทดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์แล้วก็มีอีกบริษัทหนึ่งชื่อดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์2020 ถามว่ากรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้จดมั้ย ก็ให้จด มันก็มีคำถามว่าแล้วเวลาทำบนออนไลน์จะทำยังไง ถ้าเป็น .co.th ทาง .co.th อนุญาตให้แค่คนเดียวนะที่จดเป็นดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์ อีกรายหนึ่งถ้าจะจดต้องเป็น ดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์ 2020 แปลว่าเขาต้องมีอะไรต่อท้าย เพราะฉะนั้นใครที่จดบนโลกออนไลน์ได้ก่อนจะได้เปรียบแต่ว่าจดบนโลกออนไลน์อย่างเดียวได้เปรียบยังไม่พอนะ สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมก็คือว่าถ้าสินค้าหรือบริการมันไม่เหมือนกัน ไม่มีปัญหาคุณก็ใส่คีย์เวิร์ดลงไปในเว็บไซต์ในโซเชียลมีเดียเพราะเวลาเขาค้นเจอเขาจะได้รู้ว่าทำอะไร
แต่ถ้าสมมติเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันด้วยนะคราวนี้ยุ่งเลย ลูกค้าที่ไม่เคยรู้จะไม่รู้เลยว่าอันไหนใช่หรือไม่ใช่เพราะฉะนั้นอันนี้จะเป็นเรื่องลำบากแล้ว แล้วยิ่งถ้าสมมติว่าเราทำมาก่อนแต่ว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญออนไลน์แต่อีกรายมาทำทีหลังแต่ให้ความสำคัญออนไลน์ ปรากฏว่าเวลาคนค้นออนไลน์เจอเขามากกว่าเราแต่เขามาทีหลังนะ ในแง่ของการทำธุรกิจเรามาก่อนสิ่งที่เกิดขึ้นคือเราเสียโอกาสลูกค้าให้เขานะ นี่เป็นปัญหาใหญ่เพราะบนโลกออนไลน์มันสามารถใช้ชื่อซ้ำ ๆได้ไง คล้าย ๆกันได้ อย่างที่เราคุยกันในวันก่อน ผมนะเจอปัญหาเยอะมากโดยเฉพาะคนที่เปิดโซเชียลมีเดียยังไม่พูดถึงเว็บนะ เปิดโซเชียลมีเดียแล้วเปิดชื่อร้านแต่ไม่ได้ทำช็อตยูอาร์แอลบนเฟสบุ๊ค เอาง่าย ๆตัวเฟสบุ๊คเลยปรากฎว่าผมพิสูจน์ให้ดูเลยว่าร้านพี่ชื่ออะไร ผมเปิดร้านชื่อเดียวกับพี่เลยบนโลกออนไลน์ทันที หรือพี่ยังไม่เปิดชื่อบนเฟสบุ๊คเพจใช่มั้ยผมเปิดเลยเดี๋ยวนี้ ผมยึดแล้ว เวลาไปอบรมหรือคอนเซาท์ลูกค้าฟังเสร็จต้องรีบเปิดเลย
เพราะฉะนั้นใครจองชื่อที่มันเป็นช็อตยูอาร์แอลของเฟสบุ๊คได้จะได้เปรียบ บางทีต้องเข้าใจว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่แค่เปิดร้านเฟสบุ๊คเพจก็แฮปปี้แล้ว ลืมทำช็อตยูอาร์แอลบนเฟสบุ๊คอย่างที่เราคุยที่ผ่านมาว่าเฟสบุ๊คดอทคอมสแลตอุดมธิปกอย่างนี้ไม่ได้ทำจบเลย แต่รายที่สองทำทีหลังเราแล้วสามารถจดได้ จริง ๆ ต้องบอกว่าซีเรียสมาก
ทีนี้โดยหลักการอีกอันหนึ่งครับในแง่ของคนไทยการออกเสียงออกพยางค์ ปกติเขาก็พยายามให้มันจบแค่สามพยางค์ สองพยางค์ดีที่สุด เขาบอกว่าพวกที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มีแค่สองพยางค์ แอปเปิ้ล กูเกิลเฟสบุ๊ค พอสามพยางค์เริ่มยากขึ้นแล้ว เช่น ไอบีเอ็ม เอสแอนด์พี มันก็จะเริ่มยากขึ้น แต่พอสี่พยางค์ลูกค้าจะเริ่มเรียกผิดเรียกถูกแล้ว
ก็เคยมีคนถามผมแบบนี้ทำไมอาจารย์ตั้งบริษัทชื่อ ดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์ บอกว่าตอนแรกตั้งชื่อย่อไม่มีใครู้จักแน่เลย แล้วถ้าไปตั้งชื่อที่เขาเรียกว่าคำสมาต คือเอาคำมากร่อนกันนะสมมติว่าดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์ เป็น “ดิจิบิส” อะไรอย่างนี้มันจะดีมั้ย มันก็เป็นคำแปลก ๆ อีก แต่ก็ไม่เป็นไรเอาชื่อนี้ไปก่อนเดี๋ยวค่อยว่ากัน เพราะเนื่องจากว่าเราได้มีโอกาสทำรายการนี้ด้วย เรามีรายการของเราเองบนเฟสบุ๊ค ดิจิตอล บิสซิเนต คอนเซาท์ด้วย เพราะฉะนั้นเราทำรายการไปเราก็ได้พูดชื่อบ่อย ๆ เพราะฉะนั้นในแง่ของตัวผู้บริโภคก็จะมีโอกาสรู้จักเราเยอะ อีกอย่างหนึ่งคือลูกค้าผมก็ค่อนข้างไม่เยอะคือรับลูกค้าได้แค่ประมาณ 6-7 รายในแง่ของคอนเซาท์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้รับลูกค้าจำนวนมาก ในแง่ของการโปรโมทก็ไม่จำเป็นต้องให้แม๊ตก็เน้นกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม
แล้วก็ต้องขอขอบคุณแฟนเพจมากที่ติดตามเป็นประจำเพียงแต่ว่าผมเองไม่ได้อยู่หน้าจอ ถ้าอยู่หน้าจอมันต้องไปปฏิสัมพันธ์กับเขาด้วยหมายถึงว่าพอเขาแสดงความคิดเห็นมาต้องเข้าไปขอบคุณ คือบนโลกออนไลน์นี่ผู้รับสารกับเราใกล้ชิดกันมาก เราสามารถที่จะตอบสนองเขาได้อย่างรวดเร็วเพียงแต่ว่าจริง ๆเราทำสื่อที่มันออฟไลน์ เราทำวิทยุแล้วไปถ่ายทอดบนออนไลน์แล้วผมก็ไม่ได้อยู่หน้าคอมด้วยมันก็เลยทำให้เราไม่สามารถตอบสนองกับผู้ฟังได้อย่างทันท่วงที
VIDEO