โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
สวัสดีครับวันนี้ (17 เม.ย.) มีเรื่องราวดี ๆ มาชวนคุยเหมือนเช่นเคยในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่นวิทยุ 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สำหรับวันนี้ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบประเด็นเรื่องของเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต จากข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าปีที่แล้วคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 33 ล้านกว่าคน รวมถึงการซื้อการจองสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในต่างจังหวัด
ผมอยากจะเรียนว่าตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้นมาจากการสำรวจ ไม่ใช่สำมะโนนะครับ คือสำนักงานสถิติแห่งชาติเก็บข้อมูล 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า “สำมะโน” โดยสำมะโนคือเก็บทุกคนจากวิธีการเก็บที่หลากหลาย อย่างสำมะโนประชากรประเทศไทยนี่ 10 ปีแล้ว ทีนี้สำรวจก็จะเป็นเรื่องของการสุ่มโดยทางสถิติ ซึ่งวิธีการสุ่มของเขาก็มีเทคนิควิธีการทางวิชาการเข้ามา ฉะนั้นตัวเลข 33 ล้านก็จะไม่ตรงกับตัวเลขของเฟสบุ๊ค ,กูเกิล, ไลน์ เพราะว่าตัวเลขนั้นจำนวนจะมากกว่าตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ทีนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติเขากำหนดนิยามผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคืออายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นจำนวนประชากรไทยประมาณ 67 ล้านคน 6 ปีขึ้นไปน่าจะตัดออกสักประมาณ 5 ล้านก็จะเหลือสัก 62 ล้าน 33 ล้านก็คือ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ยังไม่ถึง 60 ก็ถือว่าค่อนข้างเยอะ ตัวข้อมูลที่น่าสนใจก็คืออย่างที่มีการจั่วหัวไว้ว่าคนต่างจังหวัดซื้อสินค้าออนไลน์ด้วย ตัวเลขเมื่อเทียบกันแล้วคนซื้อสินค้าออนไลน์จริง ๆ ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติไม่สูงนะครับแค่ประมาณ 10 % เองถูกมั้ย 3 ล้านกว่าคนถือไม่มากเมื่อเทียบกับความรู้สึกที่เรารู้สึกว่าจริง ๆ มันเยอะ
เมื่อเทียบกันแล้วคนซื้อสินค้าออนไลน์จริง ๆ จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติถือว่าไม่สูงนะแค่ประมาณ 10 % เองถูกมั้ยครับ 3 ล้านกว่าคนคือไม่มากเมื่อเทียบกับความรู้สึกที่เรารู้สึกว่าจริง ๆ มันเยอะ สินค้าออนไลน์มันเยอะ ทีนี้เนื่องจากเป็นการสำรวจมันไม่ได้เป็นเรื่องของการสำมะโนนะครับ เพราะฉะนั้นป็อปปูเลชั่นมันอาจจะไปสำรวจผิดคนเป็นคนที่ไม่ใช้ แล้วคนที่ไม่ใช้มันเยอะก็เลยกลายเป็นว่าคนไทยใช้ไม่เยอะ เพราะฉะนั้น 50 % จริง ๆ ถือว่าน้อยนะครับ เพราะว่าในแง่ของนิยามการซื้อออนไลน์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติมันรวมไปถึงเรื่องของการจองโรงแรมด้วยถูกมั้ย ซึ่งการจองโรงแรมหรือซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านออนไลน์ก็ถือว่าเป็นเรื่องของการช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งแนวโน้มการช้อปปิ้งออนไลน์แบบนี้จริง ๆ ตอนนี้มันเพิ่มขึ้นเยอะแล้ว
แต่ตัวที่มันน่าสนใจคือว่าการสำรวจออกมา 3 ล้านกว่าคนประมาณ 40 % คือคนต่างจังหวัด แปลว่าอะไรครับ โอเคแม้ว่าประชากรต่างจังหวัดมันเทียบเท่ากับประชากรในประเทศแล้วมันประมาณสัก 6 ใน 7 เพราะกรุงเทพฯตอนนี้ประชากรสัก 10 ล้านใช่มั้ยครับ แต่ว่าในแง่ของการซื้อในต่างจังหวัดมันแค่ประมาณ 40 % แปลว่าทางจังหวัดก็ไม่น้อยถ้ามองในแง่ตัวเลข แต่ถ้ามองในแง่ของตัวประชากรถือว่ายังน้อยมาก เพราะฉะนั้นแค่ประมาณล้านกว่า ๆ จากประชากรประมาณ 50 กว่าล้านผมถือว่าน้อยแต่ว่ามันกำลังบอกว่ามันกำลังโต เพราะฉะนั้นโอกาสที่มันกำลังโตแบบนี้มันทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการต้องเริ่มให้ความสำคัญในแง่ของการเติบโตการใช้อินเตอร์เน็ตของคนต่างจังหวัด ซึ่งตัวเลขของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ซึ่งอยู่ในกระทรวงเดียวกับสำนักงานสถิติแห่งชาติก็ออกมาบอกว่าคนต่างจังหวัดก็ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน
เนื่องจากว่าตัวมือถือเป็นตัวหลักเลย ต่างจังหวัดนี่ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็นหลักแต่พฤติกรรมใช้ไม่เหมือนเราก็คือว่าส่วนใหญ่เป็นการซื้อของจริง ๆ ในรายงานนี้ไม่ได้มีบอกนะแต่ถ้าไปดูในรายงานของ ETDA การซื้อสิ่งของ ๆ เขาซื้อผ่านมือถือก็จริงแต่ไม่ได้ซื้อผ่านมือถือตอนอยู่นอกบ้าน แต่เป็นการซื้อผ่านมือถือตอนอยู่ในบ้าน พฤติกรรมจะไม่เหมือนคนกรุงเทพฯ
ซึ่งคนกรุงเทพฯซื้อผ่านมือถือตลอดเวลาสะดวกเมื่อไหร่ก็ซื้อเลย แต่ว่าคนต่างจังหวัดเนื่องจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของเขาไม่ได้ตลอดเวลาเหมือนคนกรุงเทพฯ อันนี้ก็จะเป็นพฤติกรรมที่จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เริ่มขายของออนไลน์เริ่มคิดแล้วว่าวันนี้ตลาดมันไม่ใช่แค่คนที่อยู่ในเมือง ไม่ใช่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯแล้วตลาดพวกนี้มันก็จะขยับขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ
เพราะว่าถ้าเอาข้อมูลตัวพร้อมเพย์ของตัวแบงก์ชาติมาประกอบ หรือการขยายตัวของผู้ใช้โมบายแบงก์กิ้งที่เป็นอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง พวกนี้มันสะท้อนให้เห็นหมดเลยว่าการก้าวกระโดดของการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อขายสินค้าและชำระเงินมันเร็วมาก เดิมทีเราเคยคุยกันว่าการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นกระแสหลักอาจต้องใช้เวลาเป็นสิบปี ถึงตอนนี้อาจจะประเมินใหม่อาจจะเร็วขึ้นแล้วนะ
มันก็มีคำถามว่าด้วยหลาย ๆ อย่าง รวมถึงระบบอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อที่ง่ายขึ้น รวมไปถึงแบงก์เองก็ออกมาลุยมากขึ้น มีโปรโมชั่นใหม่ ๆ มากขึ้น ทำให้คนเริ่มทดลองใช้กันมากขึ้น จึงทำให้พฤติกรรมคนเริ่มจะเปลี่ยนหรือไม่ ผมอยากเรียนว่าการเปลี่ยนตรงนี้มันจะเป็นทวีคูณเลยครับ ผมว่ามันจะเป็นทวีคูณของการเปลี่ยนแปลงนะครับ แล้วหลายเรื่องที่เราคุยบางครั้งมันก็ติดอยู่ที่แบงก์ชาตินะ การที่แบงก์ชาติได้ผู้ว่าคนใหม่ซึ่งแอคทีพขึ้นเยอะ แล้ววันนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอธิบดีกรมสรรพากรเพราะว่าตัวอธิบดีคนปัจจุบันคือคุณประสงค์ถูกย้ายเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นปลัดกระทรวงการคลัง แล้วตัวอธิบดีคนใหม่อย่างคุณเอกนิติก็เพิ่ง อายุ 48 ท่านเข้าใจเรื่องออนไลน์ดีครับ เพราะฉะนั้นผมว่าเรื่องออนไลน์ก็จะเติบโตอีกเยอะ สรรพากรก็จะมีบทบาทหน้าที่เข้ามาช่วยผลักดันในเรื่องนี้
VIDEO