ทำออนไลน์ระวังพลาดเรื่อง “ลิขสิทธิ์”

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัลบิสิเนสคอนซัลท์ จำกัด                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                สวัสดีครับอาจารย์วันนี้ (23 เม.ย.) ยังมีเรื่องราวน่าสนใจมาคุยด้วยเหมือนเช่นเคยในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี สำหรับประเด็นการพูดคุยวันนี้ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกกรณีเรื่องการทำธุรกิจดิจิตอลกับข้อกฎหมาย ซึ่งบางทีที่เราโพสต์ไปบนออนไลน์อาจมีเรื่องของลิขสิทธิ์หรือไปละเมิดคนอื่น รวมถึงการโฆษณาเกินจริงที่กำลังเป็นข่าวในขณะนี้

 โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัลบิสิเนสคอนซัลท์ จำกัด                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                สวัสดีครับอาจารย์วันนี้ (23 เม.ย.) ยังมีเรื่องราวน่าสนใจมาคุยด้วยเหมือนเช่นเคยในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี สำหรับประเด็นการพูดคุยวันนี้ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกกรณีเรื่องการทำธุรกิจดิจิตอลกับข้อกฎหมาย ซึ่งบางทีที่เราโพสต์ไปบนออนไลน์อาจมีเรื่องของลิขสิทธิ์หรือไปละเมิดคนอื่น รวมถึงการโฆษณาเกินจริงที่กำลังเป็นข่าวในขณะนี้

                ผมอยากเรียนว่าจริง ๆ แล้วการขายของออนไลน์ ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่มีรูปแบบเหมือนกับการขายของปกติ ข้อกฎหมายจริง ๆ มันต้องระมัดระวังมากกว่าเป็นพิเศษเพราะว่าตัวข้อความตัวเนื้อหาสิ่งที่เราทำมันกระจายเร็วในวงกว้างมากกว่า คือเวลาเราขายของในลักษณะที่มีหน้าร้านไม่ได้ขายบนออนไลน์ ลูกค้าจะมาเจอเราเฉพาะที่หน้าร้านการละเมิดหรืออะไรต่าง ๆ นี่ก็เฉพาะในวงแคบ แต่พอเอาอะไรต่าง ๆ ขึ้นบนออนไลน์ปุ๊บมันจะเป็นวงกว้างทันที

                อันดับแรกจริง ๆ แล้วผมแนะนำว่าไม่ว่าจะขายของบนออนไลน์หรือไม่ขาย แต่ถ้าเอาเนื้อหาขึ้นออนไลน์เมื่อไหร่ปุ๊บให้ระวังเรื่องของลิขสิทธิ์ทั้งภาพและเสียง  ภาพหมายถึงว่าตัวภาพถ่ายพวกกราฟฟิคนะครับพวกโลโก้เครื่องหมายการค้าของคนอื่นหรือของเราก็แล้วแต่ เวลาขึ้นทราฟฟิคบนเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค บนไลน์ บนไอจีหรือยูทูปโอกาสที่คนเห็นมีมากนะครับ แล้วบางทีเราไม่ทันระมัดระวังก็ไปหยิบรูป โหลดมาจากกูเกิล โหลดมาปุ๊บก็เอามาใส่

หรือบางทีเราเห็นรูปสวย ๆ บนเฟสบุ๊คเราก็เซฟเก็บไว้แล้วก็เอามาใส่ หรือบางทีเราอยากได้เสียงประกอบตัววีดีโอที่เราทำก็ไปดึงเอาซาวน์จากแหล่งต่าง ๆ มา หรือแม้แต่เพลงที่เราฟังกันประจำนำมาใส่ไปในวีดีโอ  มีโอกาสผิดพลาดเรื่องพรบ.ลิขสิทธิ์ค่อนข้างเยอะครับเพราะตัวพรบ.ลิขสิทธิ์นี่พูดถึงเรื่องของการนำเอาข้อมูลพวกนี้ภาพหรือวีดีโอพวกนี้มาใช้ โทษสูงสุดคือจำคุกนะไม่ใช่แค่ปรับ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ถ้าไม่ระมัดระวังมีปัญหาแน่นอน

ตัวที่สองถัดมาครับก็คือ ต้องไม่โฆษณาเกินจริงครับ การโฆษณาเกินจริงต้องเรียนอย่างนี้ก่อนว่ามันมีกฎหมายอยู่หลายส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของการโฆษณา มีพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น “กินปุ๊บผอมปั๊บ” อะไรอย่างนี้ อันนี้ถือว่าโฆษณาเกินจริง  หรือ “กินปุ๊บขาวปั๊บ” หรือ “ทาปุ๊บใสปั๊บ”อะไรอย่างนี้ พวกนี้มันมีโอกาสโฆษณาเกินจริงค่อนข้างมาก

ทีนี้การโฆษณาเกินจริงนี่มันเกี่ยวพันไปถึงการอ้งอิงด้วย มันไม่ใช่แค่บอกว่าผลิตภัณฑ์ของเราดีอย่างไร เช่นการที่เราไปอ้างอิงคนนั้นคนนี้ว่าคนนั้นคนนี้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วดีอันนี้จะมีโอกาสเข้าข่ายค่อนข้างเยอะ หรืออย่างกรณีข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อวันก่อนก็คือมีเรื่องการโฆษณาเกินจริงนะครับอันนี้เป็นปัญหาค่อนข้างมาก แล้วก็การโฆษณาเกินจริงต้องเรียนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ฟังรายการเราด้วยว่าไม่ใช่เฉพาะตัวผู้ประกอบการเท่านั้นรวมถึงคนที่เป็นผู้สนับสนุนด้วย

ซึ่งผู้สนับสนุนหมายถึงว่า อย่างยกตัวอย่างเช่นทางผู้ดำเนินรายการกับผมเป็นคนจัดรายการเกี่ยวกับเรื่องเอสเอ็มอีเสร็จแล้วมีคนมาให้เราสองคนรีวิวสินค้าอันนี้ก็จะเข้าข่ายในส่วนนี้ด้วยนะครับ ที่เป็นเรื่องของการโฆษณาเกินจริงนะ หรือกรณีที่เราไปคอมเมนท์คือคำว่าโฆษณาในความหมายในอดีตเราจะนึกถึงการทำที่เป็นหนังโฆษณา แต่การโฆษณาบนออนไลน์นี่มันรวมไปถึงการคอมเมนต์ด้วยนะครับ สมมติว่ามีคนถามมาแล้วเราตอบไปมีโอกาสที่จะบอกเข้าข่ายเรื่องพวกนี้ค่อนข้างเยอะ

แล้วถ้าเราตอบไปในที่สาธารณะมีโอกาสเข้าข่ายเรื่องนี้เลย เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องระมัดระวังค่อนข้างมาก สินค้าหลาย ๆ ประเภทต้องมีการขออนุญาตอย่างเช่นสินค้าที่เกี่ยวพันกับแอลกอฮอล์โฆษณาบนออนไลน์ไม่ได้ บุหรี่หรือยาสูบนี่โฆษณาไม่ได้นะครับ ของผิดกฎหมาย คำว่า “ผิดกฎหมาย”คือเป็นของปลอมก็โฆษณาไม่ได้ หรือต่อให้เป็นของแท้เช่นกรณียาเรานำเข้าจากต่างประเทศ

มันมีเคส ๆ หนึ่งเคยมีคนมาปรึกษาผมเขาเรียกว่าไหมร้อยหน้า เสร็จแล้วมีคนนำเข้าจากต่างประเทศแล้วมาขอขึ้นทะเบียนกับอย.ได้รับการอนุญาตเรียบร้อย เวลาโฆษณาเขาโฆษณาได้แต่มีคนหิ้วมาจากต่างประเทศแหล่งผลิตต้นกำเนิดของแท้ในต่างประเทศนะ แต่เอามาโฆษณาในเมืองไทยอันนี้ผิดกฎหมาย ไม่ใช่ยาปลอมนะ อันนี้ยาจริงแต่ไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนในเมืองไทย พวกนี้ก็ต้องระมัดระวังนะครับ ของก็อปปี้ของทำเลียนแบบไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า พวกนี้ต้องระวังหมด

แล้วมันก็มีประเด็นเรื่องภาษีก็คือว่าถ้ามันมีรายได้ขึ้นมาปุ๊บต้องประเมินแล้ว อย่างคราวที่แล้วที่มีโอกาสไปบรรยายที่ราชมงคล ธัญบุรี น้อง ๆ นักศึกษาปีหนึ่งเขาขายของออนไลน์ โชคดีว่าการขายของออนไลน์เขายังไม่ถึงจุดที่จะต้องเสียภาษีตามที่ตอนนี้บอกว่าถ้าไม่ถึง 2 ล้านไม่ต้องมีแวตถูกมั้ยครับ ฉะนั้นเขาเองขายได้เป็นแบบน้ำจิ้มก็ยังไม่ต้องไปซีเรียสเรื่องเสียภาษี แต่ว่าถ้าซีเรียสเรื่องเสียภาษีจริง ๆ แล้วต้องบอกว่ามีแบบเหมาจ่ายก็คือคิด 60 % ของรายได้ สมมติว่าเรามีรายได้จากการขายของออนไลน์ทั้งปีอยู่ที่เดือนหนึ่งสัก 2 แสนปีหนึ่ง 2.4 ล้าน เหมาจ่าย 60 % ก็ประมาณ1.44 ล้านบาท แล้วก็มาหักค่าลดหย่อนอะไรต่าง ๆ เราก็ดูเลยครับว่าถ้ามีรายได้สุทธิเกิน 1.5 แสนก็เสีย 5 เปอร์เซ็นต์ เพดานสูงสุดของเงินได้ประเภทนี้คือ 5 ล้านเสีย 35 เปอร์เซ็นต์นะครับ ก็ขึ้นทะเบียนด้วยเรื่องนี้ซีเรียส การขึ้นทะเบียนก็จะมีการขึ้นทะเบียนกับทางกระทรวงพาณิชย์ กรณีถ้าเราเป็นสินค้าทั่วไปนะ

ในแง่ของกระทรวงพาณิชย์คนที่ดูแลเรื่องการขึ้นทะเบียนก็คือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมฯนี้ก็ให้ออกตราสัญลักษณ์ 2 ตัวครับ ตัวแรกเรียกว่า DBD Rigister ตัวสัญลักษณ์นี้ก็จะให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลครับที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับซื้อขายสินค้าบริการโดยใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ ร้านค้าในอีมาร์เก็ตเพลส ร้านค้าในโซเชียลมีเดียหรือขายผ่านแอพลิเคชั่นเช่นในไลน์นะหรือให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือผู้ให้เช่าพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือว่าให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อันนี้ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่เริ่มจด จริง ๆ อันนี้จดง่ายมาก ไม่ค่อยซีเรียสมาก พอดีผมเองเพิ่งไปจดตัวบริการ DBD Rigisterเหมือนเป็นใบรับรองใบหนึ่งทีนี้มีค่าใช้จ่าย 50 บาทหรือ 100บาท ซึ่งถือว่าถูกมากไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่จดมีความผิดปรับไม่เกิน 2 พันบาท แล้วปรับวันละไม่เกิน 100 บาทจนกว่าทำให้ถูกต้อง

จริง ๆ ผมว่ามีคนที่ทำไม่ถูกต้องเยอะนะ เพราะว่าจดทะเบียนไม่มาก หนึ่งคือหลายคนกลัวว่าไปจดแล้วเขาจะมาตรวจสอบภาษี คือจริง ๆ แล้วต้องบอกเลยว่าวันนี้ถึงเราไม่บอกเขาแต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันเขาก็ตรวจสอบเราเจอ ตรวจง่ายด้วยไม่ต้องไปขอแก้ประมวลรัษฎากร ขอแบงก์ไม่ต้อง อยากรู้ว่าใครขายของออนไลน์เช็คได้ง่ายมากนะครับ ทีนี้ตัว DBD Rigister แค่บอกว่าเรานี่ไปขึ้นทะเบียนขายของแต่ยังไม่ได้บอกว่าเราในฐานะที่เป็นคนขายนี่ถูกตรวจสอบมั้ย มีตัวตนจริงหรือเปล่าอันนี้ยังไม่ได้พูดถึงนะ ทีนี้เว็บเราเป็นเว็บที่โอเคมั้ย โซเชียลมีเดียของเราที่ใช้ในการขายของโอเคมั้ย

มันก็จะมีสัญลักษณ์อีกตัวหนึ่งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรียกว่า DBD Verrified ตัวนี้ก็รับรองมาตรฐานของผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งตรงนี้น่าสนใจแล้วก็ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ผู้ประกอบการที่ทำแล้วได้มาตรฐานครบถ้วนเขาก็ออกมาตรฐานให้แล้วมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับสากล ซึ่งก็ดีมันก็จะเป็นความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการนะครับ ปีที่แล้วผมก็ไปเป็นกรรมการตัดสินนะมีการแจกรางวัลให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ขึ้นทะเบียน DBD Verrifiedไว้แล้วได้รับมาตรฐานเข้าเกณฑ์ที่กำหนด มีการแจกรางวัลเยอะเหมือนกัน กฎหมายพวกนี้ผู้ประกอบการที่อยากจะทำเรื่องของอีคอมเมิร์ซต้องทำนะ รายละเอียดจริง ๆ แล้วไม่ได้มาก เอาง่าย ๆ ก่อนว่าเรื่องของลิขสิทธิ์ อันนี้เป็นเรื่องแรก เพราะว่าลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมันมีโอกาสละเมิดง่ายที่สุด เพราะว่าบางทีเราหยิบยืมมาโดยไม่เข้าใจ ไม่รู้ เรื่องจดทะเบียน DBD นั้นก็เรื่องหนึ่งนะซึ่งจำเป็นต้องจด

กับอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ซีเรียส ต้องเรียนว่าปัจจุบันนี้ตัวเฟสบุ๊คเองก็มีให้ดาวน์โหลดเพลงฟรีนะ หรือยูทูปเราทำวีดีโอบนยูทูปนี่เขาก็มีเพลงให้เราดาวน์โหลดฟรีเพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องไปใช้ของที่ผิดลิขสิทธิ์นะครับ แอพฯหลาย ๆ ตัวจะมีการให้ภาพฟรีลองเข้าไป Search ในกูเกิลเลยนะครับ พิมพ์คำว่าฟรีอิมเมจแล้วก็ลองเข้าไปดูเขาก็จะมีภาพให้เราก็เอาภาพมาใช้ในแง่ของการประกอบสินค้าบริการของเราเองได้

ดีที่สุดคือถ่ายรูปเอง จริง ๆ แล้วการถ่ายรูปถามว่าต้องสวยตั้งแต่วันแรกมั้ย  บางคนส่วนใหญ่ที่ไปก็อปรูปคนอื่นมาคิดว่าตัวเองถ่ายรูปไม่สวยไง ทีนี้โอเควันแรก ๆ รูปไม่สวยไม่เป็นไรแต่อย่าผิดลิขสิทธิ์ เพราะถ้าผิดก็โดนเลยไม่คุ้มเลยตั้งแต่วันแรก ผมเองหลายปีก่อนลูกน้องเคยทำโดยไม่ทันระวังเสร็จแล้วเจอปัญหาครับ พอเอารูปขึ้นได้แค่วันเดียวจดหมายมาเลยอีเมลบอกว่าเราเองเอารูปเขามาใช้โดยไม่ได้ขอ จริง ๆ แล้วเนื่องจากทำงานในนามบริษัทขอแล้วอีกหน่วยหนึ่งแต่โพสต์อีกหน่วยงานหนึ่ง ก็ต้องทำเรื่องชี้แจงกันไปนะครับ

                แล้วถ้าเกิดคนอื่นมาละเมิดลิขสิทธิ์ของเราจะทำยังไง อันแรกคือทำอย่างไรถึงให้รู้ว่าเขาละเมิดเรา หาวิธีตรวจสอบก่อน ผมเรียนว่าเวลาเราวาดรูป ถ่ายรูป ส่วนใหญ่เราเซฟรูปเราไม่ค่อยตั้งชื่อรูป แนะนำเลยเปลี่ยนเป็นชื่อเรา เรื่องที่สองคือว่าถ้าคลิกขวาที่รูปจะมีคำสั่งที่เขียนว่าพร็อพเพอตี้ก็คลิกเข้าไป ที่นี่มันใส่ความเป็นเจ้าของได้ เราก็ไปใส่ว่าใครเป็นเจ้าของรูปบอกรายละเอียดไป ซึ่งจริง ๆ แล้วนี่ตรงนี้มันเซ็ตได้เป็นค่าเบื้องต้นได้คือไม่ต้องมาใส่บ่อยแต่ว่าชื่อรูปยังไงก็ต้องเปลี่ยนนะครับ พอใส่ตรงนี้เข้าไปปุ๊บมันจะช่วยในการที่จะ Search เจอด้วยนะเพราะว่าชื่อพวกนี้พอเราใส่ในพร็อพเพอตี้มันก็เหมือนกับการใส่ tag คำสำคัญที่รูป ถัดมาถ้าเป็นไปได้ใส่สัญลักษณ์หรือลายน้ำลงไปในรูปเพื่อให้รู้ว่าเราเป็นเจ้าของ ถ้ากรณีกลัวว่าใส่แล้วรูปไม่สวยก็อาจจะไม่ต้องใส่ก็ได้ แต่ถ้าใส่ได้ก็จะเป็นการดี แล้วโปรแกรมพวกใส่ลายน้ำมันมีโปรแกรมฟรีเยอะแยะมาก เพราะฉะนั้นพอเรามีรูปที่มีลายน้ำของเราเองเนี่ย เวลาคนอื่นก็อปปี้ไปหรือเอาไปใช้นี่มันก็สามารถตรวจสอบได้

                ทีนี้พอเจอปุ๊บทำไงครับ อันดับแรกเลยก็คือว่าส่ง Messageถึงเขา ถ้ามีอีเมลส่งอีเมล ถ้าไม่มีอีเมลบนเฟสบุ๊คก็อินบล็อคเข้าไปหรือว่า Message เข้าไปในส่วนที่เป็นคอมเมนต์ แล้วก็ส่งลิงค์ที่เราเคยแสดงรูปถ่ายพวกนี้ว่ามันเป็นของเราเพื่อให้เขาเห็น เพราะว่าการที่เขาลอกของเราไปได้แปลว่าเราเคย public บนออนไลน์ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องส่งไปให้เขา ทีนี้โดยปกตินี่ถ้าส่งไปปุ๊บนี่เขาก็จะขอโทษขอโพยแล้วก็เปลี่ยน เพราะบางทีมันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถ้าสมมติว่าทำแล้วเขายังไม่ยอมแก้ไขอันนี้ต้องพึ่งตำรวจได้หรือว่าพึ่งทนายความให้ยื่นโนติสไปเลยเรียกร้องค่าเสียหายได้ แต่ผมแนะนำว่ามันไม่ควรเริ่มต้นด้วยการเรียกร้องค่าเสียหาย มันควรเริ่มต้นด้วยการสื่อสารทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ

                กรณีเพลงอาจจะคล้ายกันแต่ว่าคนไทยไม่ค่อยสร้างสรรค์เพลงเท่าไหร่นะ สิ่งที่เราจะเจอส่วนใหญ่ก็จะเป็นภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่ายมากกว่าที่จะโดนละเมิดมากกว่าเพลง เพลงส่วนใหญ่เราไปละเมิดคนอื่น เราไปละเมิดเขาไม่ใช่เขาละเมิดเราคือเคยเจอปัญหานี้ครับเป็นงานอีเว้นท์แล้วก็มีการเปิดวีดีโอที่มีเสียงเพลงประกอบ ทีนี้ถ้าในอีเว้นท์อย่างเดียวนี่เขาอาจจะอนุญาตให้ แต่พอมัน public ขึ้นออนไลน์ปั๊บ ตัวเฟสบุ๊คหรือตัวยูทูปเนี่ยมันมีเครื่องมือในการตัด พอเพลงที่เรานำเสนอมันมีลิขสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องนี่ ถ้ามันอยู่ในฐานข้อมูลเขา ๆ บล็อกเลย บล็อกทั้งตัววีดีโอ บล็อกทั้งตัวเพลงทำให้วีดีโอของเขาก็ขึ้นไม่ได้ อันนี้ก็จะเป็นปัญหาหนึ่งครับ