โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สำหรับวันนี้ (7 พ.ค.) ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกประเด็นเรื่องของการทำธุรกิจออนไลน์โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ออนไลน์ของคนจีน พร้อมกับคำสองคำที่น่าสนใจนั่นคือ “Social Commerce” กับ “Social Search” ว่ามันคืออะไร แล้วการใช้แตกต่างกันอย่างไรกับคนไทย

“Social Commerce” VS. “Social Search”ใช้อย่างไร
โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สำหรับวันนี้ (7 พ.ค.) ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกประเด็นเรื่องของการทำธุรกิจออนไลน์โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ออนไลน์ของคนจีน พร้อมกับคำสองคำที่น่าสนใจนั่นคือ “Social Commerce” กับ “Social Search” ว่ามันคืออะไร แล้วการใช้แตกต่างกันอย่างไรกับคนไทย
ก็อยากจะเรียนว่าจริง ๆ แล้วปัจจุบันนี้เราเรียกว่ายุคสมัยของ Mobile First ก็คือว่ามือถือมาก่อน คนจะเริ่มต้นจากการใช้มือถือก่อน แล้วคนจะใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือก่อนที่จะผ่านตัวโน๊ตบุ๊คหรือพีซีเพราะฉะนั้นเราเลยเรียกว่า Mobile Firstมือถือมาก่อน อันที่สองคือปัจจุบันนี้ทั้งคนไทย คนจีนก็จะมีลักษณะของการเสพติดตัวโซเชียล คนไทยก็จะเป็นไลน์ เฟสบุ๊ค ยูทูป เราก็เลยเรียกว่า Social First หมายถึงว่าคนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ และเวลาใช้อินเตอร์เน็ตจะเริ่มต้นจากการเข้าโซเชียลนะครับ
ทีนี้เวลาคนเข้ามือถือเข้าโซเชียลในรูปแบบเป็นโมบายเราเรียกว่าโมบายแอพฯคือเข้าแอพฯ สมมติว่าเข้าเฟสบุ๊คไม่ได้ก็เข้าตรงเบาท์เซอร์ซาฟารีแล้วคีย์คำว่า“เฟสบุ๊คดอตคอม”ไม่ใช่นะครับ ยังเข้าที่แอพฯฉะนั้นสเต็ปแรกเป็น Mobile First สเต็ปที่สองเป็น Social First สเต็ปที่สามคือแอพฯเข้าจากแอพฯ การเข้าจากแอพฯมันก็เลยกลายเป็นว่าแอพฯเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างนะครับ เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของคนที่ใช้มือถือ
เพราะฉะนั้นโซเชียลมีเดียในอดีตมันก็เป็นแค่ที่พูดคุยกันของแต่ละคน พอมันพูดคุยกันมาก ๆ เข้ามันไม่ใช่แล้วเพราะว่ามันทำให้คนเสพติดพฤติกรรมในการเข้าไปคุย พอเข้าไปคุยเจ้าของโซเชียลมีเดียถ้าในเมืองจีนก็อย่าง “WeChat” ในเมืองไทยที่เห็นชัดเจนเลยก็คืออย่างไลน์ อย่างเฟสบุ๊ค หรือว่าไอจี ก็เริ่มมีของขายเริ่มตั้งแต่ว่าพวกสมาชิกเอาของมาขายกันเอง ถัดมาก็คือเจ้าของแอพฯ เจ้าของตัวโซเชียลมองว่าคุณเอาของมาขายถ้าอย่างนั้นฉันเปิดช่องทางให้คุณขายของเป็นจริงเป็นจังเลยแล้วกันจะได้คิดค่าบริการในการขายของด้วยใช่มั้ยครับ
ถัดจากนั้นพอค่าบริการจากการขายของเสร็จ ก็จะมีเรื่องระบบบริการเรื่องของการฝากเงินมีเพย์เมนท์ อีเพย์เมนท์ต่าง ๆ ให้ขยับมาอีกขั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่ขายของบนโซเชียลมีเดียก็มีทั้งในรูปแบบเป็นบุคคลธรรมดากับเป็นนิติบุคคลคือเป็นพวกบริษัทห้างร้านต่าง ๆ พอเป็นบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มันก็เป็นความหมายของคำว่า “Official”ใช่มั้ยครับ ถ้าในเมืองไทยก็เป็น “Line Official”ถูกมั้ยครับ ถ้าเป็นบนเฟสบุ๊คก็จะมี Facebook Verify อย่างนี้ครับ พวกนี้ก็จะมีสิทธิในแง่ต้องจ่ายเงินแพงหน่อย มีโฆษณาได้ มีแบรนด์ของตัวเอง ติดโลโก้เอาไว้อะไรอย่างนี้ครับ เพราะฉะนั้นเขาก็เข้าถึงข้อมูลของคนใช้โซเชียลมีเดียก็จะรู้ว่าคนที่ใช้โซเชียลมีเดียชอบอะไร ชอบแบบไหน มีพฤติกรรมอย่างไร ตัวแทนต่าง ๆ ที่ลงโฆษณาหรือขายสินค้าเขาจะยอมจ่ายให้กับในแง่ของเจ้าของโซเชียลมีเดีย ซึ่งในเมืองจีนก็คือ “WeChat”
นอกจากนั้นพอขายของได้พฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้บริโภคก็ชอบถูกมั้ยครับเพราะว่าพอมันใช้แอพฯมันก็อยู่ที่แอพฯเดียวไม่ต้องวิ่งออกนอกแอพฯไง เพราะว่าปัจจุบันนี้ในชีวิตเราเองก็ใช้กันไม่กี่แอพฯ มีโทรศัพท์ก็ใช้ไม่กี่แอพฯ ทั้งที่มีเป็นร้อยตัวแต่ใช้จริง ๆ 4-5 ตัวครับ มีอะไรบ้างมีตัวโทรศัพท์ เฟสบุ๊ค ไลน์ ถ่ายรูปนะครับ คนใช้อีเมลก็จะใช้อีเมล คนไม่ใช้อีเมลก็ใช้แค่ 4 ตัวถูกมั้ยครับ มียูทูปอีกตัวหนึ่ง บางคนก็อาจจะใช้ไอจีด้วยก็จะมีไอจี เพราะฉะนั้นทุกคนก็พยายามที่จะอยู่กับแอพฯตัวนั้นไม่ค่อยออกไปไหน มีกดออกแต่เวลาเข้าก็จะกดเข้า 4-5 ตัวนี้แหละ
ดังนั้น “Social Commerce”มันก็จะเกิดแบบนี้ใช่มั้ยครับ ผู้บริโภคซื้อขายกันเอง ผู้บริโภคซื้อขายกับแบรนด์ สามารถที่จะจ่ายเงินชำระเงินได้นะครับ จองอาหารได้ จองรถได้คือทำทุกอย่างได้อยู่บนนั้น คือเราเรียกว่าเป็น Platform ฉะนั้นแอพฯมันเลยกลายเป็น Platform และเป็น Eco System ที่ทำให้คนอยู่ในนั้น แล้วก็พวกที่อยู่ใน Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำผู้ผลิตจนถึงผู้ซื้อสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการไทยเองก็ต้องดูนะครับ
ทีนี้อย่างในเมืองไทยเองเราจะไปใช้ตัว “WeChat” เราก็ไปเปิดไม่ได้ จู่ ๆไปทะเล่อทะล่าเปิดเขาไม่ให้เปิดเพราะว่าเขาไป Verify ว่าเป็นของเขาเป็นของคนจีน เพราะว่าเขาทำ “WeChat” ก็คือให้คนจีนใช้เป็นหลักแต่มีคนไทยใช้บ้างเพราะว่าเดิมทีเขาเคยมาเปิดตัวในเมืองไทย ไม่แน่ใจว่ามีใครจำได้หรือไม่ตอนนั้น “คุณอั้ม พัชราภา” เป็นพรีเซ็นเตอร์ใช้งบฯน่าจะประมาณ 200 ล้านในการโปรโมต แต่ว่าคนไทยก็ไม่ใช้ใช่มั้ย
ตอนนี้ผมยังมีแอคเคาท์ “WeChat” อยู่นะแต่จ่ายเงินไม่ได้ เวลาผมซื้อของจากอาลีบาบาหรือว่าซื้อของจากเมืองจีน เถาเป่าหรืออาลีเอ็กซ์เพลสก็จะมีคนจีนมาทักผมใน “WeChat” เพื่อที่จะคุยกับผมนะ ก็คุยกันได้คือเราคุยได้แต่ว่าเราซื้อของไม่ได้ เพราะว่าเราไม่มีกระเป๋าเงินใช่มั้ยคือเจรจาซื้อกันนอกรอบได้แต่ว่าไม่สามารถซื้อชำระเงินผ่าน “WeChat” ได้ ก็เหมือนมีเพื่อนคนหนึ่ง ก็เหมือนไลน์เพื่อนเราอาจจะอยู่ยุโรป อยู่อเมริกา อยู่ที่ไหนก็ใช้ได้ใช่มั้ยครับ
มันก็มีคำถามจากผู้ดำเนินรายการว่าถ้าจีนเขาก็มี“WeChat”ใช้งานในบ้านเราถ้ามองเปรียบเทียบเหมือนกับไลน์ใช่หรือไม่ ผมอยากเรียนว่าใช่ไลน์ครับ ไลน์เดินตาม “WeChat”เลย เพราะฉะนั้นก็ดูไลน์เป็นหลัก แต่จะทำได้หรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะว่ามันต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคนในเมืองไทยจริง ๆ ต้องบอกว่าอย่าง “WeChat”ในจีนเองตัวเลขบอกว่ามีคนใช้ประมาณ 900 ล้านแอคเคาท์ ซึ่งไม่แน่ใจว่า 900 ล้านคนหรือเปล่า แต่สมมติว่าเท่ากับ 900 ล้านคน ขณะที่ประชากรของเขาประมาณ 1300 ล้านคนเกือบ 1400 ก็ยังมีคนไม่ใช้ประมาณ 500 แสดงว่ามันเป็นส่วนใหญ่แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดใช่มั้ยครับ แล้วก็มีคนซื้อของประมาณ 300 ล้านก็คือ 1 ใน 3 ทีนี้ถ้าเทียบกับเมืองไทยเองเรามีคนใช้ไลน์ประมาณ 40 แอคเคาท์จากจำนวนประชากร 67 ล้าน แสดงว่ามีคนไม่ใช้อยู่พอสมควรนะ แสดงว่าใช้ 3ใน 5 ถูกมั้ยครับ
ทีนี้คนที่ซื้อของผ่านไลน์เองทุกวันนี้อาจจะยังไม่มากพอ เพราะ 2-3 อย่างก็คือว่า ระบบการชำระเงินตัวไลน์เพย์เองก็ยังไม่สะดวกสบาย แล้วคนไทยเองก็ยังไม่ได้ไว้ใจในเรื่องของการซื้อขายผ่านทางไลน์เพย์ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาครับ จริง ๆ แล้วอย่างที่เราคุยกันมาหลายครั้งแล้วว่าระบบการชำระเงินในปัจจุบันนี้คนไทยก็ยอมจ่ายเงินผ่านออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งถ้ามีแบงก์เข้ามาเป็นตัวกลางด้วยคนไทยชอบเลย
อย่างตัวเลขล่าสุดทาง SCB เปิดเผยตัวเลขออกมาบอกว่าคนใช้ SCB ผ่านไลน์ ในแง่ของเป็นเมมเบอร์แล้วคุยและทำธุรกรรมทำอะไรผ่านไลน์จำนวนเพิ่มมากขึ้น ตอนนี้ก็น่าจะหลายล้านเพราะว่าลูกค้ารายย่อยของเขาที่ใช้บัญชีเกือบ ๆ สิบล้านต่อไปอาจจะแตก เพราะฉะนั้นแปลว่าคนเริ่มยอมรับถ้ามีแบงก์มาเป็นตัวกลางอันนี้อาจจะทำให้ไลน์เพย์เองสะดวกสบายมากขึ้น แล้วก็ตอนนี้ตัวไลน์เพย์เองก็จับมือกับแรบบิทใช่มั้ยครับ แรบบิทก็จับมือกับทางตัวเอ็มเออะไรอย่างนี้คือตอนนี้ช่องทางในแง่ของการจับจ่ายเงินรวมตัวกันหมด มันก็จะทำให้ผู้บริโภคยอมรับมากขึ้นเพราะฉะนั้น “Social Commerce”ในจีนมันเกิดแล้วในไทยเกิดแน่นอน
อีกตัวหนึ่งก็คือ “Social Search” มันมาจากการที่ว่าคนก็ไม่อยากออกมาข้างนอกมาเข้าเบาท์เซอร์เพื่อมา Search หาข้อมูล ซึ่งในจีนมันก็คือ “ไป๋ตู้” พอในไทยหลัก ๆ คนก็ใช้ Google chrome เป็นหลักในการSearch ทีนี้พอคนรู้สึกว่าโอเคถ้าในโซเชียลแอพฯตัวนั้นซึ่งในจีนคือ “WeChat” มันมีข้อมูลให้ว่าเพื่อนแนะนำร้านอะไร เพื่อนไปกินร้านนี้แล้วหาได้ว่าร้านนี้มันอยู่ที่ไหน ร้านนี้มีคนคอมเมนท์ว่าอะไรแบบไหน สินค้านี้เห็นเพื่อนถ่ายรูปแล้วมันสวยจังเลย ชอบ ลองหาข้อมูลดู ทุกวันนี้ถ้าเราหาข้อมูลต้องวิ่งออกมาข้างนอกแล้วก็ให้ข้อมูล
นอกจากเพื่อนเราแล้วมีคนไหนซื้ออีกบ้าง เราไม่รู้ เราอยากรู้เพื่อนเราคนไหนซื้ออีกบ้าง เราก็หาข้อมูลในไลน์ไม่ได้แต่ใน “WeChat” มันหาข้อมูลพวกนี้ได้หมดว่าเพื่อนคนไหนเคยซื้อบ้าง เพื่อนคนไหนเคยคอมเมนท์หรืออะไรต่าง ๆ บ้างเพราะว่าคนในเมืองจีนนอกจากใช้ “WeChat”ในแง่ของการคุยกันเองแล้วก็เอาสิ่งที่ตัวเองคิดไปโพสต์ใส่ในไทม์ไลน์ใน “WeChat” ด้วย ซึ่งในเมืองไทยมันคือในส่วนไทม์ไลน์ของตัวไลน์ ซึ่งปัจจุบันนี้ Feedback ในแง่ของไทม์ไลน์ของไลน์ดีขึ้นเรื่อย ๆ หมายถึงว่าถ้าสมมติว่าเราโพสต์บนไทม์ไลน์ของไลน์กับโพสต์บนไทม์ไลน์ของเฟสบุ๊คนะ Feedback บางทีพอ ๆ กันหรือบางทีในไทม์ไลน์ของไลน์ดีกว่านะ
เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมว่าไลน์ก็กำลังเดินทางไปเป็นแบบนั้น พยายามส่งเสริมให้คนโพสต์บนไทม์ไลน์ของตัวเองมากขึ้นมันจะได้มี Content แล้ว “Social Search” มันจะเกิดขึ้นได้มันต้องมี Content ก่อนถูกมั้ย ทีนี้มันจะมี Content ได้ก็คือคนต้องโพสต์เพราะฉะนั้นสิ่งที่ไลน์สังเกตว่าตอนนี้เวลาเราเปิดแอพลิเคชั่นไลน์มันก็พยายามโชว์หน้าที่เป็นไทม์ไลน์ถูกมั้ย ไทม์ไลน์ของเพื่อน ๆ ให้เราเห็น ช่วงหนึ่งก็พยายามโปรโมต “ไลน์ทูเดย์” ช่วงหนึ่งก็โปรโมต “ไลน์ทีวี” ตอนนี้ก็โปรโมตตัวไทม์ไลน์
พอเปิดเข้ามาปุ๊บก็วิ่งเข้าไทม์ไลน์ก่อน ฉะนั้นพอเข้าไทม์ไลน์ก่อนมันก็ทำให้เพื่อน ๆ เราเห็น พอเพื่อน ๆ เราเห็นปุ๊บเราก็รู้สึกว่าอยากโพสต์หรือเราเห็นของเพื่อน ๆ เราก็ไปกดไลท์เขา กดถูกใจ เพื่อน ๆ ก็มาโพสต์เราก็ไปโพสต์ พอมันโพสต์เรื่อย ๆ ปุ๊บตัวไลน์มันก็มี Content จำนวนมาก พอมี Content จำนวนมากตัว Social Search หรือ Line Search มันก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
ซึ่งตอนนี้ผมแนะนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเลย ยังไม่พูดถึงการทำไลน์แอตนะอันนี้คือไลน์ปกติอย่างเดียวเลย ถ้าคุณมีข้อมูลมีอะไรต่าง ๆ คุณโพสต์บนไทม์ไลน์เลย ยิ่งถ้าคุณมีไลน์แอตต้องเอาโพสต์ในไทม์ไลน์ด้วยนะครับคือยังไม่ต้องโพสต์เยอะมากเหมือนบนเฟสบุ๊คนะ ประเภทแบบว่าถ้าเป็นสำนักข่าวโพสต์กันวันหนึ่งบนไทม์ไลน์ 40-50 ข่าวอย่าเพิ่ง ลองโพสต์วันหนึ่งสัก 2-3 ชิ้นก่อนหรือเราดู Feedback อย่างน้อยให้มันมี Content ไว้ก่อนนะครับ แล้วก็ลองดูผมคิดว่าไม่นานเกินน่าจะประมาณสักปีนี้พฤติกรรมคนไทยเปลี่ยน ตัว Social Search น่าจะเกิดก่อนตัว Social Commerce แบบออนไลน์ออโต้เลยนะครับ ทุกวันนี้ Social Commerce จริง ๆ เกิดแล้วแต่ว่าเกิดในรูปแบบที่ว่ายังไม่ได้ชำระเงินผ่านตัวแอพลิเคชั่นของโซเชียลนั้น ๆ เท่านั้นเอง
ทีนี้หลายตัวอย่างเคสของพวกอาหารเสริม พวกครีมอะไรต่าง ๆ ที่มันมีปัญหาที่ไม่ได้มาตรฐานอย.ไม่ได้ขออนุญาตอย.อาจจะทำให้การซื้อของออนไลน์ส่วนหนึ่งต้องเข้าใจว่า ซื้อของผ่านออนไลน์หรือผ่านโซเชียลส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่เกิดมาจาก Social Commerce นะ เพราะฉะนั้นมันอาจทำให้การซื้อขายผ่านโซเชียลมันลดลงจนกระทั่งทุกอย่างเข้าสู่สถานการณ์ปกติ คือคนไทยลืมหรือไม่ก็คนไทยมีความสามารถในแง่ของการตรวจสอบสินค้าหรือยอมรับข้อมูลจากการโพสต์บนสินค้ามากขึ้น พวก Social Commerce น่าจะกลับขึ้นมาครับ
ส่วนคำถามที่ว่าเหมือนว่าถ้าเป็น Social Search มันก็จะสั่งการคล้าย ๆ กับ Search กูเกิล หรืออย่างสมมติใช้ในไลน์ ข้อมูลทุกอย่างมันก็จะหาอยู่ในไทม์ไลน์นั้น ๆ อยากเรียนว่าใช่ครับก็อยู่ในไทม์ไลน์ของเรากับเพื่อนเราในระยะแรก แล้วก็พอถึงจุดหนึ่งไลน์ก็อาจะเปิดให้ Search ไปหาในไทม์ไลน์ของคนอื่น โดยให้คนอื่นที่โพสต์สามารถตั้งค่าได้ว่าเฉพาะเพื่อนเห็นหรือเป็นสาธารณะ พวกนี้มันเป็นสิ่งที่คนทำพวกออนไลน์มองเกมว่ามันก็ไปถึงตรงนั้นเพียงแต่ว่าช้าเร็วมันขึ้นอยู่กับตัวผู้บริโภค ในแง่ของตัวผู้ประกอบการที่ทำพวกโซเชียลมีเดียคือพวกที่เป็นเจ้าของแอพฯ เขามีไทม์ไลน์ของเขาที่จะทำอยู่แล้วถ้าพฤติกรรมผู้บริโภคมาปุ๊บเขาเปลี่ยนเลย เร่งให้มันเร็วขึ้นได้ไม่ใช่ปัญหาอะไร
แล้วประเด็นที่ว่าการ Search จะไม่เกี่ยวกับห้องแชทนั้น เรียนว่าห้องแชททุกวันนี้มัน Searchได้อยู่แล้ว เราแชทกับเพื่อนเราอยากรู้ว่าเราคุยอะไรกับเพื่อน เรา Searchหาสิ่งที่เราคุยกับเพื่อนได้อยู่แล้วถูกมั้ย แต่การSearch ในความหมายของการเป็น Social Search มันขยายขอบเขตมากกว่าที่เราแชทกับเพื่อนถูกมั้ยครับ มันรวมความไปถึงส่วนที่อยู่ในไทม์ไลน์ ถ้าเป็นไลน์มันต้องไปเขียนตรงโฮมใช่มั้ยอันนี้ก็ไปอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นแปลว่ามันจะขยายขอบเขตไปสิ่งที่เพื่อนโพสต์ของเพื่อนแต่เพื่อนไม่ได้ตั้งใจบอกเราคนเดียว เพราะถ้าเป็นแชทคือเพื่อนคุยกับเรา หนึ่งต่อหนึ่งหรือคุยกันในไลน์กรุ๊ป แต่ว่าพอไป Search มันจะขยายขอบเขตมากกว่านั้นครับ