ขายของออนไลน์ให้ปังไม่ผิด กม.ทำยังไง

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

สวัสดีครับเรากลับมาคุยกันต่อในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สำหรับวันนี้ (4 มิ.ย.)  ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกประเด็นเรื่องของการค้าออนไลน์มาร่วมพูดคุยกันในรายการกับคำถามที่ว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะเตรียมตัวเองในการค้าออนไลน์ไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ผิดข้อบังคับ จะต้องทำอะไรอย่างไรกันบ้าง

 โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

                สวัสดีครับเรากลับมาคุยกันต่อในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น 89.5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สำหรับวันนี้ (4 มิ.ย.)  ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบยกประเด็นเรื่องของการค้าออนไลน์มาร่วมพูดคุยกันในรายการกับคำถามที่ว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะเตรียมตัวเองในการค้าออนไลน์ไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ผิดข้อบังคับ จะต้องทำอะไรอย่างไรกันบ้าง

ผมอยากเรียนว่าสำหรับการขายของผ่านออนไลน์ อย่างพรุ่งนี้ในงานโครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสสว.กับราชมงคล ธัญบุรี โดยจัดขึ้นที่จ.ประจวบฯนั้นจะเป็นการขายผ่านอีมาร์เก็ตเพลส ซึ่งถ้าเป็นอีมาร์เก็ตเพลสก็ไม่ค่อยกังวล อย่างพรุ่งนี้ที่บอกว่าจะมี “Shopee” มาแนะนำ ใช่มั้ยครับ ซึ่งจริง ๆ ตอนนี้ก็จะมีทั้งลาซาดา ,Shopee , 11 Street คือถ้าเป็นอีมาร์เก็ตเพลสแบบนี้เขาจะมีเงื่อนไข กฎกติกามารยาทของเขาอยู่แล้ว

คือถ้าผู้ประกอบการที่ไปขายในอีมาร์เก็ตเพลสเขาก็จะมีเงื่อนไขห้ามโน่นห้ามนี่ หรือทำโน่นทำนี่ได้อันนี้ไม่น่ามีปัญหา จะมีข้อควรซีเรียสกรณีขายผ่านอีมาร์เก็ตเพลสก็คือเรื่องของการถ่ายรูปเพราะว่ารูปที่ถ่ายมันจะต้องถูกเอาไปโพสต์ไว้บนอีมาร์เก็ตเพลส แล้วมันจะเป็นตัวหนึ่งที่บอกว่าสินค้าเราจะขายได้ไม่ได้ เพราะถ้าถ่ายรูปดีมันจะดึงดูดใจทำให้คนหยุดพินิจพิจารณาสินค้า ซึ่งเขาไม่มีโอกาสได้เห็นของจริงถูกมั้ย อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

เรื่องที่สองก็คือการใส่คุณสมบัติให้มันครบถ้วนเลย ใส่ได้ดีที่สุด มากที่สุดจะยิ่งดีเท่านั้น ทีนี้มันไม่ใช่แค่คุณสมบัติอย่างเดียว มันพูดถึงคือข้อความอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้คนเขาเข้าใจสินค้าหรือบริการเรา แค่คุณสมบัติอย่างเดียวมันไม่พอมันต้องบอกเรื่องราวว่าสินค้าของเรามีความเป็นมาแบบไหน อย่างไร แตกต่างจากของคนอื่นอย่างไร คิดค้นมาแบบไหนอะไรอย่างนี้ คือข้อมูลพวกนี้มันจะกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

มันก็มีคำถามว่าเหมือนกรณีการซื้อเสื้อหรือไม่ ที่จะต้องบอกว่าไซต์ไหน อะไรอย่างไร ก็อยากจะเรียนว่าอันนั้นมันคือเบสิคพื้นฐานแต่คำถามว่าถ้าจะให้มันดีอย่างเช่นลายผ้านี้คิดขึ้นมาได้ยังไง หรือผ้านี้มันมีเรื่องราวยังไง กรณีที่เป็นผ้าทอที่มันไม่ได้เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปหรือกรณีนางแบบ นายแบบที่ใส่มันจะช่วยทำให้เสื้อผ้าดูดีขึ้น เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสินค้าที่เราขายผ่านออนไลน์

ส่วนเรื่องของเงื่อนไข ราคา เรื่องอะไรพวกนี้ถ้าเป็นอีมาร์เก็ตเพลสมันก็กำหนดอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบการที่ขายผ่านเฟสบุ๊ค ขายผ่านไอจี ขายผ่านไลน์ไม่ว่าจะเป็นไลน์ธรรมดาหรือไลน์แอต การขายผ่านออนไลน์นั้นสิ่งที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือของเรา คือกรณีอีมาร์เก็ตเพลสเขาช่วยสกรีนให้ระดับหนึ่งถูกมั้ย เพราะว่าเขาเองก็กลัวว่าร้านค้ามันจะชัวร์ไม่ชัวร์อะไรยังไง ไม่งั้นมันเสียชื่อเขาไง แต่ถ้าพอเราไปขายผ่านตัวเฟสบุ๊ค ไลน์ หรือไอจี ผู้บริโภคจะมั่นใจได้ยังไงว่าเราเป็นผู้ประกอบการตัวจริงไม่ตัวจริง

ซึ่งมันมีการขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็น DBD Register กับ DBD Verified ก็ควรไปขึ้นทะเบียนไว้ กรณีไม่มีเว็บเราก็ขึ้นทะเบียนได้นะครับแล้วก็เอาสัญลักษณ์ DBD ไปติดป้าย อันนี้ก็ฟรีหรือมีค่าธรรมเนียม 100 หรือประมาณนี้ครับแล้วจำเป็นมากในแง่ของการทำ ส่วนในเรื่องของพวกภาพประกอบกรณีถ้าเราถ่ายเองไม่มีปัญหาแต่ถ้าสมมติว่าเราไปใช้ภาพประกอบที่มาจากคนอื่น หรือกรณีเราทำคลิปวีดีโอแล้วมีเพลงประกอบ พวกลิขสิทธิ์ภาพลิขสิทธิ์เพลงเป็นเรื่องสำคัญซีเรียสครับ เพราะว่าผิดลอกเลียนเขาโดนปรับหลายเงินครับอาจจะไม่คุ้ม

เพราะฉะนั้นถ้าเป็นภาพประกอบสินค้าแล้วเราถ่ายเองได้จะดีครับ แต่ถ้าถ่ายเองไม่ได้แล้วจำเป็นต้องหามาใช้ก็ต้องหาแบบที่มันมีลิขสิทธิ์ที่แบบให้ใช้ฟรีน่ะครับ เช่นมีสัญลักษณ์ที่เป็น cc ตัวเล็ก ๆ เราเรียกว่า  Creative Commons เราเอามาใช้ได้ แต่เราไม่ได้มาใช้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นะครับ เราเอามาใช้ได้ หรือเพลงตอนนี้ทั้งเฟสบุ๊ค ทั้งยูทูปมีเพลงให้ใช้ฟรี เป็นเพลงประกอบนะครับไม่ใช่เพลงทั้งเพลง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นซาวด์เอฟเฟก หรืเป็นเพลงบรรเลงนะครับ อันนี้ก็ต้องหาส่วนที่มันถูกลิขสิทธิ์มาใช้ไม่งั้นโดนฟ้องไม่คุ้ม ต้องบอกผู้ประกอบการนะครับ

เพราะว่าเวลาเราขายของบนเฟสบุ๊คมันจะไม่เหมือนในอีมาร์เก็ตเพลสถูกมั้ยครับ  ถ้าในเฟสบุ๊คมันจะมีโพสต์เรื่องราวโน่นนี่นั่นอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่อีมาร์เก็ตเพลสส่วนใหญ่สินค้าที่โพสต์ รูปที่ใช้มันก็จะทำเป็นเซ็ตแล้วก็แช่เอาไว้อย่างนั้นไม่ต้องมาทำสตอรี่มาโพสต์เป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ เพราะฉะนั้นรูปถ่ายหรือภาพประกอบจะซีเรียส ทีนี้พอขายผ่านพวกโซเชียลคอมเมิร์ซอย่างพวกเฟสบุ๊ค ไลน์ หรือไอจีการบอกราคาสินค้าเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าสินค้าของเรามีราคาแบบไหน ส่งยังไง คิดค่าส่งหรือเปล่า เก็บค่าธรรมเนียมโน่นนี่นั่นหรือไม่ ข้อมูลพวกนี้ต้องบอกผู้บริโภคให้ชัดเจน ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคมาอินบล็อคมาถามนะครับ อันนี้จะเข้าข่ายผิดกฎหมายแล้วเพราะว่ากลัวหลอกลวงไง

ทีนี้ผู้ประกอบการหลายคนก็ยังทำแบบนี้อยู่ เพราะกลัวว่าถ้าบอกราคาไปแล้วผู้บริโภคไม่สนใจ จึงอยากให้ผู้บริโภคอินบล็อคมาถามมากกว่า อันนี้ก็ต้องเข้าใจว่าจริง ๆ ถ้าเราบอกไปผู้บริโภคไม่สนใจเขาไม่สนใจเลยแต่ถ้าสนใจปุ๊บเขาถามถือว่าเป็นโอกาสที่ดีครับ แล้วต้องเข้าใจว่าบนโลกออนไลน์นั้นพอไม่บอกราคาแล้วเขาเห็นราคาทีหลังเขาก็จะหนีไปได้ง่าย ๆ เหมือนกันถูกมั้ย ยิ่งออนไลน์ยิ่งง่ายใหญ่เลยครับ แล้วหลายคนบอกว่ามาคุยกับเราเสร็จเราจะได้รู้จักเขาแล้วเราจะได้ไปคุยกับเขาบ่อย ๆ บางทีเขาบล็อคเราเฉยเลยนะครับ แล้วสมมติว่าเราไปทักทายเขาไปกวนเขาโดยที่เขาไม่ยินยอมเขาอาจฟ้องร้องเราได้นะครับ เป็นเรื่องของการละเมิดอันนี้ต้องระวัง

คือเรื่องแบบนี้ตอนนี้มันจะเริ่มซีเรียสมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าทุกคนเริ่มรู้สึกถูกรบกวนผ่านทางออนไลน์ บางทีไม่รู้จักกันหรอกแอตเข้ามาขอเป็นเพื่อนหรือไม่ก็แมสเซนเจอร์เข้ามาทักถูกมั้ยครับ หรือไม่เคยรู้จักกันเลยใช้วิธีสุ่มเบอร์แล้วก็แอตผ่านไลน์ใช่มั้ย แล้วก็ทักทายผ่านไลน์มาขายของก็มีนะ อย่างนี้มันก็จะเริ่มเยอะขึ้นเพราะฉะนั้นกฎหมายมันก็พยายามให้ผู้ประกอบการกับผู้บริโภคมีเส้นแบ่งมีขีดในแง่ของการทำงานร่วมกัน

ทีนี้คำถามคือว่าเราขายของเราจดทะเบียนไปแล้วคำถามคือแล้วเรื่องของภาษีล่ะ ในแง่ของภาษีถามว่าผู้ประกอบการเองจำเป็นจะต้องเสียภาษีหรือไม่ขอตอบอันนี้ก่อน มันก็เหมือนผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปคือวันนี้ถ้าเป็นพนักงานบริษัทหรือว่าเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่าไมโครเอนเตอร์ไพรซ์ คือคนขายของผ่านหาบเร่ แผงลอยถามว่าเสียภาษีหรือไม่

ตอบว่าไม่เสียภาษีนะเพราะว่ารัฐเองก็กำหนดวงเงินถ้าผมจำไม่ผิดคือประมาณ 1.8 หรือ 2 ล้านบาทต่อปีนะกรณีรายได้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นะครับ ทีนี้แปลว่าอะไร เราก็ต้องคิดก่อนถ้าเราเริ่มต้นทำตอนเริ่มต้นอาจจะยังไม่ต้องถูกมั้ยครับ แต่ถ้ารายได้เรามากขึ้นถามว่าจำเป็นหรือไม่ ก็จำเป็นทำเรื่องเสียภาษีให้มันชัดเจน แล้วพอทำเรื่องเสียภาษีให้มันชัดเจนเราก็มีภาษีซื้อมีภาษีขายมันก็คิดเฉพาะในส่วนที่มันหักค่าใช้จ่ายหักอะไรต่าง ๆ ได้ไม่ต้องกังวล อันนี้มีผู้ประกอบการหลายคนอาจจะไม่อยากเสียภาษีแล้วก็ใช้วิธีว่าขายได้เท่าไหร่ก็ช่างมันอะไรอย่างนี้ ก็ต้องพยามนะเข้าใจว่าต้องแยกพวกนี้ให้มัน

อย่างไรก็ตามทางผู้ดำเนินรายการยังได้ถามต่อว่า แสดงว่ากระบวนการคือจดร้านหรือจดชื่อตัวเองให้มันดูมีหลักมีฐานก็ควระจะต้องทำใช่หรือไม่  ผมอยากแนะนำว่าก็ควรไปจดทะเบียนการค้าแล้วก็ไปจด DBD Verified แล้วก็ DBD Register ให้มันเรียบร้อยครับ จะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ ตั้งชื่อของธุรกิจขึ้นมาในแง่ของตัวชื่อธุรกิจก็เหมือนชื่อร้านค้านะครับ มีที่อยู่มีหลักแหล่งที่ชัดเจนให้เขาเช็คได้ว่าเราขายของ มีบ้านเลขที่อยู่ที่ไหนอะไรยังไง ที่ทำการธุรกิจเราอยู่ที่ไหนอันนี้มันควรชัดเจนครับ เพราะอันนี้เป็นความเชื่อถืออย่างแรก อย่างเฟสบุ๊คเพจวันนี้มันต้องลงที่อยู่ถูกมั้ยครับ ที่อยู่มันตรวจสอบได้ มีเบอร์โทรศัพท์ที่ชัดเจน ยิ่งถ้ามีเว็บไซต์คนจะเชื่อถือมากกว่ามีเฟสบุ๊คเพจเฉย ๆ แต่หลายคนอย่างที่เราคุยกันเขาเริ่มต้นจากการมีเฟสบุ๊คเพจก่อนถูกมั้ย หรือมีไลน์ก่อน เขายังไม่มีอย่างอื่น

มันก็มีคำถามว่าเรื่องของรายละเอียดบางทีมีการจัดกิจกรรมโปรโมต โปรโมชั่นต่าง ๆ ต้องมีข้อกำหนดอะไรหรือไม่เวลาทำ เพราะบางทีการลดแลกแจกแถมมันมีข้อกฎหมายออกมาด้วย ประเด็นนี้อยากเรียนว่า จริง ๆ แล้วลดแลกแจกแถมไม่ค่อยมีปัญหาหรอก ตัวที่มีปัญหาเยอะคือเรื่องการชิงโชค ชิงรางวัล คือการลดแลกแจกแถมมันต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าลดแลกแจกแถมอะไรบ้างนะครับ เนื่องจากว่าเวลาทำโปรโมชั่นส่วนใหญ่เราก็ต้องเขียนชัดเจน

สมมติว่าซื้อ 1 แถม 1 ซื้อขวดเล็กแถมขวดใหญ่ อันนี้ต้องบอกให้ชัดเจนว่าเงื่อนไขได้ทุกคนหรือไม่หรือได้บางคน ระยะเวลาจากไหนถึงไหนใครมีสิทธิ พวกนี้ต้องกำหนดชัดเจนครับเพราะว่ามันเป็นเงื่อนไขปกติ ปัญหาพวกนี้เคยมีทะเลาะกันบ่อย ๆ คืออะไรรู้เปล่า ปัญหาคือการกำหนดเวลายกตัวอย่างบอกว่าวันนี้วันที่ 4 ใช่มั้ยหมดเขตวันที่ 4 มิ.ย.แล้วเป็นกี่โมงครับ เพราะว่าถ้าไม่ระบุเวลาระบุวันทะเลาะกันตายหลายรอบแล้วนะ เพราะว่าบนออนไลน์มันแปลว่า 24 ชั่วโมงนะ ถ้าผมสั่งซื้อเที่ยงคืน 23.58 หรือ 23.59 ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์นะ พวกชิงโชคแบบนี้ผิดกันมาหลายรอบแล้วครับหรือว่าทำส่งเสริมทำโปรโมชั่นหลายอย่างทะเลาะกันตรงนี้มาหลายรอบแล้วนะครับ

                หรือประเภทแบบระบุว่าสิ้นสุดวันที่มันตรงกับเสาร์อาทิตย์ แล้วมีคนใช้สิทธิ์ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของร้านหรือเจ้าของร้านไม่ได้มาตอบครับ เขาตอบวันธรรมดาอันนี้ทะเลาะกันมาหลายรอบแล้วครับ เพราะเขาถือว่าเขามีสิทธิ์เพราะตามวันที่ระบุใช่มั้ย แต่เวลาเจ้าของร้านลงเขาไม่ได้บอกว่าเฉพาะวันธรรมดาไม่รวมวันหยุด อันนี้ก็จะมีปัญหาทะเลาะกันหลายครั้งเหมือนกันครับ

ทางผู้ดำเนินรายการยังได้ถามต่อว่ากรณีที่ระบุว่าห้ามหรืออย่าเกินจริงหมายความว่าอย่างไร ก็อยากชี้แจงว่าบางครั้งคำว่า “เกินจริง” มันมีหลายประเด็นครับยกตัวอย่างเช่นเราไม่ได้ใช้คำเกินจริงแต่เราใช้รูปภาพเกินจริง คือบางคนเลี่ยงไงเวลาพูด ๆ จริงแต่ภาพตัวหนังสือพูดเล็ก ๆ แต่รูปทำให้เข้าใจผิดเช่นทำให้รูปดูใหญ่เกินจริงหรือทำให้ดูดีเกินจริง อันนี้ก็จะมีปัญหาได้ ซึ่งการโฆษณาเกินจริงมันมีหลายมิติ ส่วนใหญ่การเขียนเกินจริงอันนี้มันมีประเด็นอย่างนี้ที่เราเคยเจอเคสของปัญหานะ คือเนื่องจากว่าผู้ประกอบการหลายคนใช้วิธีโฆษณาบนเฟสบุ๊คมันไม่ใช่โพสต์นะ

ทีนี้เวลาลงโฆษณาในเฟสบุ๊คมันจะไม่ปรากฎในหน้าวอมันไม่ใช่บูทโพส ถ้าเป็นบูทโพสเนี่ยคือเราโพสต์แล้วเราก็บูทมันก็จะอยู่ในไทม์ไลน์ของเพจ แต่ถ้าโฆษณามันจะไม่ปรากฎในไทม์ไลน์ของเพจแต่มันจะปรากฎในไทม์ไลน์ของลูกค้าที่เป็นทาร์เก็ต เสร็จแล้วมันหายไปเลยไง พอมันเสร็จปุ๊บเราย้อนกลับไปไม่เห็นแล้วนะ เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่มันไม่มีหลักฐานไงหลายคนก็จะยิงแบบนี้ ฉะนั้นผู้บริโภคหลายคนตอนนี้ก็จะใช้วิธีว่าแคปหน้าจอครับ เคยพูดอะไรไว้เขาจะแคปหน้าจอเพราะฉะนั้นพวกที่โฆษณาเกินจริงก็จะเจอว่าคนแคปหน้าจอแล้วเอามายืนยัน แล้วมันก็เป็นหลักฐานได้ไง

แล้วหลักฐานมันได้ตรงไหน หลักฐานก็คือย้อนกลับไปว่าก็ในแง่ของตัวเฟสบุ๊คเพจมันเก็บรายละเอียดการซื้อโฆษณาเราไว้หมด แล้วจะลบได้หรือม่ลบได้นะ เรามีสิทธิ์ลบได้แต่เฟสบุ๊ครู้เพราะฉะนั้นหลักฐานมันเก็บหมด ทำอะไรที่มันโฆษณาเกินจริงเข้าข่ายหลอกลวงมีปัญหาหมดครับ แล้วเดี๋ยวนี้ผู้บริโภคฉลาดไงจะซื้อสินค้าออนไลน์ก็กลัวเข้าข่ายหลอกลวงใช่มั้ย แคปหน้าจอเลย