ตลาด “ซื้อมาขายไป”เรื่องหมูๆ ที่ (ไม่) หมู

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

สวัสดีครับเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคุยกันเรื่องของธุรกิจซื้อมาขายไป ในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี วันนี้ (18 มิ.ย.) เรากลับมาคุยกันต่อกับประเด็นดังกล่าวนี้ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของคุณได้ไม่มากก็น้อย คราวที่แล้วผมได้ยกตัวอย่างไว้ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกเป็นการซื้อมาขายไปแล้วก็เป็นแบบขายต่างจังหวัด แล้วก็ลักษณะแบบตลาดนัดสัญจร

โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

สวัสดีครับเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคุยกันเรื่องของธุรกิจซื้อมาขายไป ในรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี วันนี้ (18 มิ.ย.) เรากลับมาคุยกันต่อกับประเด็นดังกล่าวนี้ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของคุณได้ไม่มากก็น้อย คราวที่แล้วผมได้ยกตัวอย่างไว้ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกเป็นการซื้อมาขายไปแล้วก็เป็นแบบขายต่างจังหวัด แล้วก็ลักษณะแบบตลาดนัดสัญจร

                อยากจะเรียนอย่างนี้ว่าแบบแรกคือแบบที่ต้องมีหน้าร้านนะครับ เพียงแต่ว่าหน้าร้านมันอาจจะ fix เอาไว้เช่นเราไปเช่าพื้นที่ในห้าง เช่าพื้นที่ในตลาดที่มันชัดเจน อีกแบบหนึ่งคือเป็นพวกที่มีหน้าร้านแต่ว่าหน้าร้านมันสัญจรเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ อย่างเช่นตลาดนัดที่มันจะบอกว่าขายทุกวันพุธ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีตลาดที่โน่นที่นี่ หรือว่าเราจะสังเกตพวกที่มีหน้าร้านก็จะมีอีกแบบหนึ่งคือพวกที่มีหน้าร้านแล้วไปขายตามงานโชว์ เช่น งานเฟอร์นิเจอร์โชว์จะมีเห็นบ่อย คนกลุ่มนี้จะมีหน้าร้านของตัวเองแต่ว่าไม่ได้ขาย หน้าร้านทำเอาไว้เพื่อบอกว่าฉันมีที่ตั้งนะแต่เวลาขายสินค้าจริง ๆ นะไปขายตามงานแฟร์หรือตามงานโชว์เป็นหลัก

                นอกจากนี้กลุ่มโอทอปเป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะเป็นแบบนี้เหมือนกัน มีโอทอปบางกลุ่มจะเน้นงานแฟร์เป็นหลัก ทีนี้ที่เราคุยกันคือพวกที่ซื้อมาขายไปแปลว่าไม่ได้ผลิตเองนะครับก็คือมีหน้าร้านเป็นตัวระบายสินค้า ซึ่งเมื่อวันศุกร์เราได้คุยกันก็คือว่าคุณต้องรู้ก่อนนะว่าทำเลคือตัวตลาดนั้นมันขายอะไรได้บ้างใช่มั้ย ซึ่งเราไปขายแบบเดียวกับเขาก็ได้เพราะลูกค้ารู้อยู่แล้วว่ามาตลาดนี้เพื่อซื้ออะไร เช่นตลาดผ้า ตลาดรองเท้า ตลาดนาฬิกา ตลาดเกม ตลาดโปรแกรม ตลาดหนัง หรือเราไปดูว่าในตลาดนั้นยังขาดอะไรอยู่เราก็เอาตัวเองเข้าไปขายในตลาดนั้น อันนี้คือซื้อมาขายไปแบบไม่ต้องลงทุนผลิตนะครับ

ซึ่งวันนั้นเราก็คุยกันว่ามีอีกแบบหนึ่งก็คือ พวกที่ซื้อมาขายไปบนออนไลน์โดยเฉพาะ กลุ่มนี้ตอนนี้มาแรงส่วนใหญ่ที่เรารู้จักกันก็คือกลุ่มที่ขายพวกอาหารเสริม ขายครีม มีขายเสื้อผ้า ขายรองเท้า ขายร้อยแปดพันเก้า กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่เลือกทำเลเน้นเอาสินค้าเป็นตัวหลักก่อนก็คือดูก่อนว่าฉันสนใจขายสินค้าประเภทไหน สนใจสินค้าอะไรแล้วก็คิดว่ากลุ่มนี้น่าจะมีคนซื้อก็รับสินค้ามาขาย ความจริงซื้อมาขายไปแบบบนออนไลน์นั้นมันจะมีหลายประเภท

ประเภทแรกคือต้องสต็อกสินค้าก่อน ต้องมีสินค้าอยู่ในมือก่อนก็ต้องมีทุนเพื่อไปซื้อของสต็อกไว้  อีกลุ่มหนึ่งคือมีทุนเหมือนกันแต่ทุนไม่มากไม่ได้สต็อกสินค้าไว้  แต่ทำในลักษณะที่ทำหน้าที่ขายโดยไม่ต้องลงทุนอ่ะหรือภาษาcเราเรียกว่า Dropship คือทำให้เราเนี่ยเป็นตัวแทนขายโดยที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของสินค้าเอง มีคนสั่งซื้อเราก็ส่งคำสั่งซื้อไปให้ผู้ประกอบการต่อ โอเควันนี้เราเริ่มต้นจากคนที่ต้องสั่งซื้อแล้วต้องสต็อกของก่อน

                กลุ่มนี้ก็น่าจะขายแบบเป็นโซเชียลคอมเมิร์ซ ขายได้ง่าย แต่อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มนี้ซื้อมาแล้วก็ไปโพสบนตัวเว็บไซต์อีมาร์เก็ตเพลสทั้งหลาย อย่างพวกลาซาดา ,Shopee , 11 street  กลุ่มนี้ก็จะเลือกสินค้า กลุ่มนี้จะมีประเด็นที่สำคัญคือใครเข้าตลาดมักจะได้เปรียบ แปลว่าถ้าคุณหาสินค้าที่คิดว่าลูกค้าจะซื้อแล้วคุณซื้อมา แล้วคุณขายแล้วลูกค้าซื้อจริงนะครับ แล้วคุณเป็นรายแรก ๆ คุณจะมีโอกาสกวาดตลาดได้เยอะนะครับ

แต่พอคุณทำแล้วมันคิดว่าขายดีก็จะมีคนมาเลียนแบบ เพราะเนื่องจากว่าคุณไม่สามารถที่จะจำกัดไม่ให้คนอื่นมาขายเพราะคุณไม่ได้เป็นผู้ผลิต คุณก็ไป Sourcing หาสินค้ามา พอคุณ Sourcing เสร็จคุณก็ซื้อมาส่วนหนึ่งแล้วคุณก็มาโปรโมตให้คนซื้อจากคุณ พอคนแห่ซื้อกันคนอื่นก็จะรู้ว่าสินค้านี้มีคนซื้อเยอะเพราะคุณต้องยิงโฆษณาโปรโมตบนออนไลน์ก็จะมีคนมาเลียนแบบ 1.ก็หาง่ายว่าคุณซื้อจากไหนเพราะว่า Sourcing หาบนออนไลน์เหมือนกันถูกมั้ย เขาก็ไปซื้อจากต้นทางเหมือนกัน

หลัก ๆ ถ้าเป็นเสื้อผ้าในอดีตเราก็ซื้อกันง่าย ๆ แถวประตูน้ำหรือแพลตตินั่ม อันนี้ก็คือแหล่งซื้อเสื้อผ้าเพื่อเอาไปขายบางคนเขาเก่งก็จะไป Sourcing หาจากต่างประเทศ บางคนก็ซื้อเสื้อผ้าจากเกาหลี บางคนก็ไปซื้อจากเมืองจีน อีกแบบหนึ่งคือพวกแกดเจ็ตทั้งหลาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เอามาพ่วงต่อกับพวกโน๊ตบุ๊ค มือถือ แท็บเล็ต กลุ่มนี้คนส่วนใหญ่เขาจะไป Sourcing สินค้าจากจีนแต่ถ้าเป็นพวกอาหารเสริม ครีมพวกนี้ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะเอามาโปรโมตหาคนขายผ่านทางเฟสบุ๊ค ในเฟสบุ๊คเองมีกรุ๊ปต่าง ๆ เยอะมาก แล้วก็เป็นกรุ๊ปประเภทแบบผู้ผลิตเอามาปล่อยของที่จะขาย แล้วก็จะมีคนไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตกลุ่มนี้เอาไปขายต่อนะครับ

เพราะฉะนั้นอย่างที่บอกว่าคนกลุ่มนี้ใครเข้าก่อนได้เยอะ ประเด็นที่สำคัญเพราะว่าพอเป็นออนไลน์ปุ๊บโลเคชั่นมันไม่ใช่เป็นเรื่องจำเป็นแล้ว เพราะฉะนั้นตัวหลัก ๆ คือ 1.สินค้า 2.การเข้าถึงลูกค้าเพราะคนกลุ่มนี้แรก ๆ เอง ถ้าบางคนใช้โปรไฟล์ไม่ได้ใช้เพจนะใช้เฟสบุ๊คโปรไฟล์ เพราะมันซื้อบูทโพส ซื้อโปรโมตโพสโปรโมตไลท์ไม่ได้ไง คนกลุ่มนี้ก็เริ่มต้นขายกับเพื่อนก่อนยิ่งมีเพื่อนบนเฟสบุ๊คเยอะเท่าไหร่ยิ่งได้ประโยชน์ถูกมั้ย แล้วก็ต้องทำให้เกิดการแชร์จากเพื่อนออกไปให้เพื่อนของเพื่อนเห็นตัวองจะได้มีโอกาสขายเยอะมากขึ้น

ที่นี้พอมาเป็นเฟสบุ๊คแฟนเพจ พอหากินกับเพื่อนบนโปรไฟล์หมดแล้วก็ต้องมาขยายทำเพจถูกมั้ย ทีนี้ทำเพจแรก ๆ ก็เอาเพื่อนมากดไลท์ก่อนหลังจากนั้นก็ต้องทำกิจกรรมบนเพจประเภทแบบไม่จ่ายเงินเพราะจ่ายเงินมันกลายเป็นต้นทุน คุณก็จะเห็นเพจที่มีโชว์พิสดารทั้งหลายคือทำให้คนเข้ามาตามดูเช่นรีวิวสินค้าด้วยการร้องเพลงหรือเต้นโชว์ไปด้วยเพื่อให้คนเข้ามาดูจะได้ไม่ต้องจ่ายตังค์ค่าซื้อโปรโมตโพสไง หรือโปรโมตโดยวีดีโอเพราะว่าการเรียกหาลูกค้ามันกลายเป็นเรื่องที่จำเป็นใช่มั้ย ทีนี้สิ่งที่สำคัญคือคนทำแรก ๆ จะทำได้พอทำไปพักหนึ่งแล้วจะเริ่มมีปัญหา เพราะว่าเริ่มหมดมุขหาสินค้าลำบากแล้วก็ไม่ได้เก็บข้อมูลลูกค้าไว้ พอไม่ได้เก็บข้อมูลลูกค้าไว้จะลำบากมากเลย

ทางผู้ดำเนินรายการยังได้สอบถามถึงกรณีฟังก์ชั่นใหม่ของเฟสบุ๊คที่ระบุว่า ให้สามารถส่งข้อความถึงคนที่อยู่ในแชตของเราได้หมด อยากเรียนว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องครับแต่ถ้าสมมติว่าลูกค้ามันมีหลายกลุ่ม หมายถึงว่ามีผลิตภัณฑ์หลายตัวใช่มั้ยครับ ยกตัวอย่างเช่นถ้าขายกับคนกลุ่มเดิม กรณีครีมก็ขายครีมอย่างเดียวอันนี้ไม่มีปัญหา คือทำให้เกิดการซื้อซ้ำแต่ถ้าสมมติผมขายเสื้อผ้าซึ่งมันจะมีหลายไซส์หลายแบบ คุณจะรู้ได้ยังไงว่าคนนี้ชอบสีฟ้า ปกติซื้อสีฟ้า ซื้อไซส์ M ซื้อไซส์ S เวลาส่งข้อความทีเดียวให้ทุกคนมันคือสำหรับทุกคน มันเหมือนเราส่งข้อความให้กับลูกค้าทุกคน จริง ๆ แล้วบนออนไลน์เราไม่ได้ต้องการอย่างนั้น ออนไลน์มันคือ Mass customiz คือมันส่งให้คนเป็นกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะได้

เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วเฟสบุ๊คมันต้องจ่ายตังค์ พูดง่าย ๆ คือถ้าจ่ายตังค์คุณจะเก็บข้อมูลพวกนี้ได้แต่โอเคหัวข้อของเราคือเรื่องของการซื้อขายออนไลน์ซื้อมาขายไปถูกมั้ย เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือตัวผู้ประกอบการเองที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไปบนโลกออนไลน์ มีจุดที่ซีเรียสน่าจะมีอยู่ 2 จุด 1.คือการ Sourcing หาสินค้า พวกสินค้าต้องมีใหม่เสมอเพราะไม่งั้นมันไม่สามารถที่จะกั้นคนอื่นให้มาแข่งได้ไง

หรือถ้าคุณหาสินค้าใหม่ไม่ได้คุณก็ต้องขายในจำนวนมากเพื่อให้คุณมีต้นทุนที่มันต่ำกว่าคนอื่น เช่นตลาดนี้มีผู้ซื้อน่าจะ100,000 รายแต่คุณขายได้ 30,000 รายอะไรอย่างนี้แปลว่าคุณอาจจะซื้อได้ต้นทุนที่ทำกว่าคนอื่น แต่มันน่ากลัวคือบนโลกออน์ไลน์นั้นทุกคนดั้มราคากันได้ง่าย บางคนยอมที่จะไม่มีมาร์จิ้นเพราะว่าสต็อกสินค้าไว้แล้วไง ดีกว่าไปสต็อกไว้แล้วขายไม่ได้คือขาดทุน ลดนิดหน่อยเอาทุนคืนเพราะฉะนั่นการ Sourcing เป็นเรื่องใหญ่มาก

อันที่สองคือดาต้าเบสของลูกค้ากลายเป็นแอสเสทที่สำคัญ เคยมีลูกศิษย์ผมคนหนึ่งขายสินค้าที่เป็นแกดเจ็ตนะครับมีเพจประมาณ 10 เพจ มีไลน์แอตประมาณ 10 ไลน์แอต มีค่าโฆษณาเดือนหนึ่งเกือบล้าน กำไรเดือนหนึ่งเกือบล้าน ซึ่งกำไรในที่นี้แปลว่าเมื่อหักราคาสินค้าหักค่ายิงแอตที่เหลือกำไร คืออันนี้เขาเก็บข้อมูลลูกค้าหมดเลยใช้ฟังก์ชั่นของเฟสบุ๊คเต็มประสิทธิภาพมาก  ยิงแอตแล้วเขาเก็บข้อมูลลูกค้าว่าคนนี้เคยซื้อ ซึ่งเฟสบุ๊คมันมีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า Lookalike สามารถทำให้รู้ได้ว่าคนนี้เคยซื้อหาคนที่คล้ายคลึงกัน เขาเก็บประวัติลูกค้าให้หมดเลย เก็บผ่านไลน์ด้วย ยิงจากเฟสบุ๊ควิ่งเข้าไลน์ เขาโต้ตอบกับลูกค้าผ่านไลน์แต่ยิงแอตเนี่ยยิงทั้งผ่านเฟสบุ๊คทั้งลูกค้าเก่าผ่านไลน์ ลูกค้าใหม่เนี่ยผ่านเฟสบุ๊คเป็นหลักอันนี้คือทำธุรกิจแบบจริงจัง

ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ขายของผ่านออนไลน์ ที่ขายผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซนะส่วนใหญ่ทำได้ไม่ยืนยาว บางคนทำมา 2-3 ปีที่แล้วตอนนี้ต้องมาสมัครงานเพื่อรับเงินแบบประมาณ 10,000 -20,000 บาท เพราะว่ามันไม่มีกำไรแบบประเภทเดือนหนึ่ง 2-3 หมื่น 4-5 หมื่นแล้วไม่มี  เพราะว่าอัลกอริทึมของเฟสบุ๊คเปลี่ยนไง โซเชียลมีเดียตอนนี้แบบเปลี่ยนอัลกอริทึมใหม่หมดมันทำให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจโดยที่ไม่มีจุดขายของตัวเองตาย

ทีนี้มาอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่ขายของบนอีมาร์เก็ตเพลส ไม่มีหน้าร้านนะซื้อมาขายไปเหมือนกัน กลุ่มนี้ก็เจอปัญหาเดียวกัน โซเชียลคอมเมิร์ซนะบางทีเหนื่อยกว่าด้วยเพราะคนที่เข้าไปในอีมาร์เก็ตเพลสเวลาเขาหาซื้อสินค้าเขาก็ Search ในลาซาดา ,Shopee , 11 street  เมื่อ Search เสร็จแล้วสินค้ามันก็ออกมาพรืดเต็มจอหมดเลย แล้วสิ่งที่เห็นบนจอคือสินค้าประเภทเดียวกัน ราคา คุณจะเลือกราคาก่อนหรือไม่ สมมติว่าสินค้าประเภทเดียวกันยี่ห้อเดียวกันเลย เพราะทุกคนมีสิทธิขายไง บางทีรูปเหมือนกันด้วยทุกอย่างเหมือนกันหมดเลยต่างกันแค่คนขาย

สิ่งที่คุณเห็นคือราคาต่างกัน ผู้บริโภคจะเลือกคลิกไปที่ตัวราคาก่อน คลิกราคาเสร็จปุ๊บซึ่งข้อความมันก็เหมือน ๆ กันนะ ทุกอย่างคล้าย ๆ กันหมดเลย ไปอ่านรีวิวซิว่าโอเคมั้ย พอรีวิวโอเคปุ๊บสั่งซื้อนี่คือพฤติกรรมคนที่ซื้อผ่านอีมาร์เก็ตเพลส ถ้ารีวิวไม่โอเคก็คลิกไปหาอันดับถัดมาถูกมั้ย ก็จะมีโฆษณาอยู่ขวามือหรือข้างล่างขึ้นอยู่ว่าดูผ่านเว็บหรือดูผ่านมือถือใช่เปล่า ประเด็นคือถามว่าผู้ประกอบการเหนื่อยมั้ยล่ะที่ขายผ่านอีมาร์เก็ตเพลส บอกเลยว่าเหนื่อยมาก เพราะการซื้อมาขายไปไม่ยั่งยืน

ยกเว้นมีอีกกลุ่มหนึ่งครับคือ ซื้อมาขายไปแต่ยอมลงทุนแปะสติ๊กเกอร์ใหม่ ซื้อสินค้าประเภทแบบเป็น OEM จากโรงงานแล้วมาติดยี่ห้อตัวเอง กลุ่มนี้มีโอกาสเพราะถือว่าสร้างแบรนด์ มีบางกลุ่มพยายามสร้างคอมมูนิตี้คือให้คำปรึกษาไม่ได้ค้าขายสินค้านะแต่เขาให้คำปรึกษา ถ้ากลุ่มนี้ก็พยายามสร้างความแตกต่างของตัวเองว่าต่างจากคนอื่นคือไม่ได้ขายสินค้าแล้วแต่เพิ่มเซอร์วิสด้วยการให้คำปรึกษา เช่นคนบางคนอาจจะขายพวกเครื่องสำอางแต่ไม่ใช่แค่ขายเครื่องสำอาง คือให้คำแนะนำในการใช้เครื่องสำอางได้ อย่างนี้มันต่างจากคนอื่นถูกเปล่า คนซื้อไม่ได้ซื้อเพราะตัวสินค้าแต่ซื้อเพราะว่าอยากคุยกับคุณในฐานะคุณเป็นผู้ชำนาญ เป็นผู้เชี่ยวชาญ อย่างนี้มันก็ได้

คือคนขายของออนไลน์จะเหนื่อยกว่าคนขายของบนออฟไลน์ เรามักจะมีความรู้สึกว่าการซื้อมาขายไปบนออนไลน์มันน่าจะดีกว่าเพราะออนไลน์ลูกค้ามีอยู่ทั่วโลก แต่ลืมไปว่าคู่แข่งก็มีอยู่ทั่วโลก แต่พอเป็นออฟไลน์ปุ๊บมันมีคู่แข่งเฉพาะพื้นที่นั้นโอเคมันมีคู่แข่งบนออนไลน์ด้วย เพราะว่าคนที่จะมาซื้อออฟไลน์มีโอกาสไปซื้อบนออนไลน์ได้ถูกมั้ย แต่ถ้าเขาเดินมาถึงหน้าร้านคุณเดินมาถึงพื้นที่คุณ โอกาสที่คุณจะปิดการขายมันง่ายกว่า ถ้าเป็นออนไลน์คุณไม่มีสิทธิคุยนะถ้าเขาไม่ทักคุณก่อน เพราะฉะนั้นแนวทางแบบที่เราเรียกว่า O2O ออนไลน์ทูออฟไลน์ก็คือให้เป็นกระแสไง