3 ปัจจัยทำ “ไปรษณีย์ฯ”แข่งขันลอจิสติกส์ไม่ได้

   โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล วันนี้ (2 ก.ค.) ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาชวนคุยกันเหมือนเช่นเคย วันนี้ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบประเด็นเรื่องของบริษัทไปรษณีย์ไทย กรณีที่มีการเสนอลดค่าส่งอีเอ็มเอสซึ่งจะปรับลดราคาโดยเริ่มต้นที่ 5 บาทสูงสุดถึง 115 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา

   โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

                สวัสดีครับพบกับรายการ SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล วันนี้ (2 ก.ค.) ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาชวนคุยกันเหมือนเช่นเคย วันนี้ทางผู้ดำเนินรายการได้หยิบประเด็นเรื่องของบริษัทไปรษณีย์ไทย กรณีที่มีการเสนอลดค่าส่งอีเอ็มเอสซึ่งจะปรับลดราคาโดยเริ่มต้นที่ 5 บาทสูงสุดถึง 115 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา

                ประเด็นดังกล่าวนี้อยากเรียนว่าเนื่องจากเราไม่รู้ว่าราคาเริ่มต้นมันเท่าไหร่ เพราะจากข่าวที่ออกมาระบุว่า 3 ก.ก.ขึ้นไปลด 5 บาท สิ่งที่เราไม่รู้คือว่ากรณีต่ำกว่า 3 ก.ก.ตอนนี้ราคาเท่าไหร่ แล้วก็ 3 ก.ก.ตอนนี้เท่าไหร่ถึงลด 5 บาท เอาเป็นว่าตอนนี้ปัญหาของไปรษณีย์ไทยนั้นเราต้องเข้าใจว่าไปรษณีย์ไทยผูกขาดเฉพาะการส่งจดหมายเพราะหน่วยงานอื่นไม่ว่ารัฐหรือเอกชนไม่สามารถทำธุรกิจส่งจดหมายได้ คือไม่สามารถทำธุรกิจติดแสตมป์แล้วส่งจดหมายได้นะครับ แต่ถ้าแมสเซนเจอร์ส่งได้เพราะไม่ติดแสตมป์ถูกมั้ย แล้วก็ส่งของธุรกิจอื่นแข่งได้

เพราะฉะนั้นวันนี้ไปรษณีย์ไทยกำลังเจอคู่แข่งสำคัญ คือพวกบริษัทลอจิสติกส์ทั้งหลายที่เติบโตกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ  ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวก็คือทางเอ็มเคใช่มั้ยครับเพราะฉะนั้นมีทุกองค์กร ตอนนี้บริษัทใหญ่ ๆ เขามองเห็นว่าตลาดลอจิสติกส์มันเติบโตมาก พอเติบโตมากมันเกิดเป็นสงครามราคาก็คือว่าใครที่มีความพร้อมก็จะทำราคาให้มันต่ำลงได้นะครับ ทีนี้การทำราคาต่ำไม่ได้หมายความว่าเขาต้องขาดทุนเพราะว่าคนที่ขาดทุนหรือคนที่ยอมรับการขาดทุนนั้นกลายเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซไม่ใช่บริษัทลอจิสติกส์นะ เพราะว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซเป็นคนรับความเสี่ยงหรือเป็นคนรับภาระ กรณีการส่งฟรีนั้นคือทางบริษัทอีคอมเมิร์ซเป็นคนจ่ายแต่ว่าบริษัทลอจิสติกส์ยังได้เงินเหมือนเดิมอยู่

เพราะฉะนั้นก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ทางไปรษณีย์ไทยจะลำบากเพราะสู้เขาไม่ได้ ซึ่งการสู้เขาไม่ได้ด้วยด้วยกระแสหนึ่งด้วยระบบราชการ การลดราคาหรือการทำโปรโมชั่นมันมีระเบียบขั้นตอนเยอะแยะไปหมดเลย สองก็คือว่าบุคลากรของไปรษณีย์ไทยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจเพราะฉะนั้นพอเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจเงื่อนไขเยอะมากครับ ทั้งในแง่ของค่าจ้าง ,เวลาทำงาน, สวัสดิการเพราะฉะนั้นกลายเป็นต้นทุนมหาศาลของทางไปรษณีย์ไทย สามในเรื่องของพวกของอุปกรณ์โดยเฉพาะรถบรรทุก รถจักรยานยนต์ หรือว่าตัวอาคารสถานที่ที่จะต้องใช้ในเรื่องของการรวบรวมแล้วก็คัดแยกสินค้า ในระบบราชการนั้นการจัดซื้อจัดหาใช้เวลานานนะครับ แล้วก็มักจะได้อะไรที่มันแพงกว่าปกตินะครับ อันนี้คือ 3 สาเหตุมันทำให้ไปรษณีย์ไทยไม่สามารถสู้กับตัวธุรกิจที่เป็นอีลอจิสติกส์ทั้งหลาย  คือมันเปลี่ยนไม่ได้อย่างกรณีของเคอรี่เองบอกว่าอยากทำโปรโมชั่นหรือว่าอยากจะหาคู่ค้า อยากทำโน่นนี่นั่นสามารถทำได้อย่างเวลารวดเร็วเลยเพราะฉะนั้นตรงนี้มันกลายเป็นสิ่งที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของทางไปรษณีย์ไทยที่จะทำธุรกิจตรงนี้ได้ครับ

ซึ่งถ้าจะพูดถึงจุดแข็งของไปรษณีย์ไทยตอนนี้เป็นต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนะครับ แต่ต้องเข้าใจว่าพอเป็นพื้นที่ในเขตเทศบาลแล้วก็ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตอนนี้ไปรษณีย์ไทยสู้ไม่ได้แล้ว ทีนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซตอนนี้ต้องบอกว่าที่มันโตมากนั้นคือในกรุงเทพฯปริมณฑลถูกมั้ยครับแล้วก็ในเขตเทศบาล เพราะฉะนั้นพออยู่ในเขตเทศบาลแล้วสิ่งที่สำคัญคือธุรกิจอีคอมเมิร์ซทุกวันนี้เนี่ยเขาส่งทุกวันเขาไม่ใช่แค่ส่งเฉพาะวันธรรมดา

ทีนี้มันก็เลยกลายเป็นว่าไปรษณีย์ไทยนั้น 1.ต้นทุนสู้ไม่ได้ ความรวดเร็วสู้ไม่ได้  โดยต้นทุนที่ว่านี้หมายถึงราคา ความรวดเร็วหมายถึงเวลาในแง่ของการทำงานใช่มั้ย แต่จุดแข็งเขามีอยู่ทีนี้ถ้าจะให้ไปรษณีย์ไทยสู้เขาได้จริง ๆ เนี่ยผมว่าไปรษณีย์ไทยต้องเปลี่ยนวิธีบริหารแบบเอกชนเลยนะ คือต้องไม่ใช่รัฐวิสาหกิจไม่งั้นเราจะเห็นการตกงานของพนักงานไปรษณีย์ไทยในอนาคตไม่ไกลแน่นอนครับ เพราะว่าใช้คำว่าอีเอ็มเอสคือส่งพัสดุด่วนถูกมั้ย การส่งพัสดุด่วนหมายนถึงว่าคุณต้องจ่ายแพงเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

มันก็มีคำถามว่าจริง ๆ แล้วตอนนี้คนก็ไม่ได้ส่งธรรมดา  จริง ๆ แล้วเราก็ถือว่าเป็นอีเอ็มเอสหมด เวลาเราส่งสินค้าอีคอมเมิร์ซเนี่ยเราถือว่าส่งแบบพิเศษหมดนะ ทีนี้การส่งแบบพิเศษตามโมเดลของทางอีคอมเมิร์ซแปลว่าทุกที่ ทุกเวลา ตลอดเวลา วันหนึ่งกี่รอบก็ได้ใช่มั้ย ซึ่งถ้าในแง่ของตัวไปรษณีย์ไทยการส่งไม่เป็นรอบแปลว่าเป็นการส่งผ่านระบบอีเอ็มเอส แปลว่าทุกคนก็ต้องมาคิดแล้วว่าถ้ามันเป็นอีเอ็มเอสแบบนี้มันเทียบราคาสู้กันไหวมั้ยใช่มั้ย แล้วข้อดีของตัวอีลอจิสติกส์ก็คือว่าพร้อมเซอร์วิสลูกค้าเต็มที่

มันก็มีคำถามต่อว่านอกจากไปรษณีย์ไทยแล้ว ในส่วนของรถประจำทางเช่นกรณีของบริษัทนครชัยแอร์กรณีมีการส่งของมาจากต่างจังหวัด เดิมทีคนอยู่ปลายทางก็ต้องไปรับแต่มีบริการใหม่เกิดขึ้นคือส่งปุ๊บแล้วเพิ่มอีก 10 บาท 20 บาทเขาบอกว่ามีคนมาส่งถึงที่เลย อยากเรียนว่าจริง ๆ แล้วบริษัทที่เป็นพ้อยส์ทูพ้อยส์รับส่งพัสดุสินค้าจุดต่อจุดถูกมั้ยครับ เขาก็ไปเชื่อมกับพวกที่ทำลอจิสติกส์ต่อได้ไงเพราะว่าต้นทุนของเขาจะต่ำกว่าพวกเคอรี่นะ เพราะเคอรี่สมมติว่าจะส่งของไปเชียงใหม่เคอรี่ต้องตีรถไปเองจะแพง แต่ถ้าสมมติเคอรี่จับมือกับทางตัวนครชัยแอร์ สิ่งที่เคอรี่ได้คือจะรู้เลยว่าวันหนึ่งมีรถกี่เที่ยวที่จะวิ่งไปเชียงใหม่ถูกมั้ยครับ เสร็จแล้วรถที่ไปนั้นรถนครชัยแอร์มีผู้โดยสารอยู่แล้ว ค่าเดินทาง ค่าขนส่งมีคนแอพสอฟไปแล้วส่วนหนึ่ง คือไม่มีของก็ต้องตีรถไปใช่มั้ยครับ ไม่ว่ามีของไปหรือกลับรถก็ต้องตีไปอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นต้นทุนที่มันเพิ่มขึ้น มันเพิ่มขึ้นโหลดในเรื่องของน้ำมันนิดเดียวเองครับ  ฉะนั้นบริษัทขนส่งจะมาสู้เรื่องนี้

ทีนี้ประเด็นก็คือว่าถ้าไปรษณีย์ไทยจะมาสู้เรื่องนี้ทางไปรษณีย์ไทยต้องคิดเปลี่ยนมุมเลยครับก็คือว่าต้องมาจับมือกับใครบ้าง 1.จับมือกับทางบขส.เพราะบขส.ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนกันถูกมั้ย เพราะฉะนั้นก็ต้องจับมือกับบขส. 2.ต้องจับมือกับในส่วนของการบินไทย นกแอร์ ไทยสมาย การขนส่งทางอากาศนั้นเวลาโหลดของเพิ่มมันมีค่าน้ำมันที่มันเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นมันจะโหลดของเพิ่มได้ไม่เท่าไหร่ครับ แต่ถ้าเป็นรถบรรทุกกรณีของรถทัวร์การโหลดของเพิ่มมันจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นการลดขั้นตอนบางอย่างหรือแทนที่เราต้องวิ่งไปเอง ถือเป็นการบริหารแบบหัวท้ายซึ่งถือเป็นจุดเด่นของทางไปรษณีย์ไทยครับ

ทีนี้ในระยะยาวอย่างพวกเคอรี่เองพยายามที่จะขยายตลาดให้มันได้เร็วที่สุดไง อย่างล่าสุดที่เขาประกาศว่าจะซื้อรถกะบะอีก 3 พันคัน แปลว่าเขาพร้อมที่จะส่งสินค้าให้มันเร็วขึ้นใช่มั้ย เขาก็ส่งทางไกลได้มากขึ้นแล้วก็เป็นรถคันเล็ก แต่ว่าประเด็นคือต้นทุนแบบนี้ถ้าเขาวางจำนวนที่มันมาก ขาไปเขาอาจจะส่งสินค้าจากกรุงเทพฯไปแล้วก็ขากลับถ้ามีคนใช้เคอรี่มากทั้งขาไปขากลับเนี่ยก็คุ้มไง แล้วก็เวลาวางแผนพวกนี้เขาจะต้องวางแผนสินค้าในลักษณะที่ไม่ใช่ตีทีเดียวไปเชียงใหม่ คงเป็นในลักษณะที่มีฮับแต่ละที่เช่นฮับอาจจะอยู่ที่ตัวนครสวรรค์ ฮับอาจจะอยู่ที่ลำปาง ฮับแต่ละที่จะสามารถที่จะส่งสินค้า เป็นจุดที่เราฝากสินค้าแล้วก็ส่งสินค้าต่อไป

อย่างไรก็ตามจากแผนธุรกิจของเคอรี่ที่วางไว้ การที่เขาทำแบบนี้ได้อย่าลืมนะสิ่งที่สำคัญคือลูกค้าอยู่ในมือเขา ถามว่าลูกค้าอะไรบ้างที่อยู่ในมือเขา 1.ลูกค้าที่ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซอยู่ในมือเขา 2.ลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อสินค้าอยู่ในมือเขา เพราะฉะนั้นระบบการกระจายสินค้าของเขาจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่ายิ่งลูกค้ามีมากขึ้นขึ้นต้นทุนต่อหน่วยในการกระจายสินค้าของเขาจะต่ำลงถูกมั้ยครับ พอถึงจุดหนึ่งแล้วพอคนซื้อผ่านเขาเยอะ ๆ เขายิ่งได้เปรียบนะครับเขาสามารถทำแผนที่ของเขาเอง สามารถที่จะวางรูทสินค้าของเขาเองได้ เพราะว่าวันนี้เองรูทในการส่งสินค้าของไปรษณีย์ไทยเนี่ยอาศัยของบุคคลคือบุรุษไปรษณีย์ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมเข้ามาช่วยนะ

แต่ว่าอย่างพวกเคอรี่นั้นพยายามพัฒนาซอฟแวร์เป็นโปรแกรมเข้ามาช่วย แปลว่าโปรแกรมจะมาช่วยวางแผนการกระจายสินค้าว่าไปส่งที่ไหนก่อน ซึ่งถ้าลดต้นทุนตรงนี้ได้อย่างวันก่อนที่เราคุยเรื่องระบบคลังสินค้าจำได้มั้ยมันมีเรื่องของการวางแผนในเรื่องของเชลบนสินค้าถูกมั้ย การหยิบของจากเชลแล้วเอาของจากเชลมาลงตัวรถบรรทุกหรือรถจักรยานยนต์แล้วกระจายออกไป ทีนี้ผู้ขับขี่จะมีรูทเลยว่าต้องไปเส้นไหน มีลีดรายการเลย ที่สำคัญคือกลุ่มคนพวกนี้จะต้องมีความสามารถ ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯต้องรู้ในแง่ของเส้นทางการจราจรเลยเพราะอย่างรถติดปุ๊บเนี่ยกลายเป็นเสียน้ำมันโดยใช่เหตุ ฉะนั้นจะสังเกตเห็นว่าบริษัทที่ทำลอจิสติกส์จริง ๆ เองเขามาบริหารต้นทุนพวกนี้เยอะมาก คลังสินค้าของตัวบริษัทพวกนี้จะกระจายอยู่หลาย ๆ จุดรอบกรุงเทพฯจะไม่มาอยู่ในกรุงเทพฯ

คุณเชื่อมั้ยอย่างไปรษณีย์ไทยนั้นถ้าผมจำไม่ผิดคือพัสดุส่วนใหญ่จะต้องส่งมาที่ตรงหลักสี่ครับแล้วกระจายจากที่หลักสี่ไปเพราะฉะนั้นมันก็จะมีเวลา ทีนี้อย่างพวกบริษัทที่ทำลอจิสติกส์ใหญ่ ๆ เนี่ยมันจะกระจายเลยว่ามันจะคัดแยกจากจุดแล้วก็ไปแต่ละจุดคือมันไม่กลับมารวมศูนย์ที่จุดเดียวแล้วกระจายไปออกอีกที อันนี้เป็นวิธีการบริหารต้นทุนคือผมคิดว่าในแง่ของไปรษณีย์ไทยนั้นไม่แน่ใจว่าตรงนี้ลงทุนไปมากน้อยแค่ไหน คือตอนนี้มันไม่ใช่แค่การจะลดราคาได้อย่างที่บอกว่าในแง่ของกฎระเบียบลำบากแล้วไงใช่มั้ย

ทีนี้อย่างนครชัยแอร์เนี่ยเขาไม่ค่อยมีปัญหาไงเพราะว่าเขาส่งจุดต่อจุดใช่มั้ยครับ แล้วจากจุดสมมติว่าอย่างนครชัยแอร์ตรงหมอชิตจะส่งต่อไปที่อื่นเขาก็หาซัพพลายเออร์มารับต่อได้ไง เขาก็ลดราคาของเขาลง ลดกำไรรายได้ของเขาลงส่วนที่เขาเคยได้เต็มใช่มั้ยครับ ตัดออกไปให้ซัพพลายเออร์บวกกับส่วนที่เก็บเพิ่มขึ้นอีกนิดหนึ่งแต่ว่ามันทำให้คนอื่นยอมที่จะส่งกับเขาไง แต่ว่าคนที่ตายคือบขส.เพราะว่าบขส.ทำแบบนี้ไม่ได้ เนื่องจากบขส.ก็จะเหมือนไปรษณีย์ไทย คือเป็นรัฐวิสาหกิจ ระบบขั้นตอน เงื่อนไขทุกอย่างมันช้า มันยุ่งยากมันเยอะ อันนี้คือปัญหาล่ะ

แล้วลองคิดดูว่าถ้าในแง่ของตัวนครชัยแอร์มาแข่งกับไปรษณีย์ไทย โอเคไปรษณีย์ไทยอาจได้เปรียบเพราะว่าไปรษณีย์ไทยวิ่งหลายเส้นทางกว่า สมมติว่าส่งของจากเชียงใหม่ไปขอนแก่น นครชัยแอร์อาจจะสู้ไม่ได้แล้ว แต่ว่าไปรษณีย์ไทยเนี่ยได้เปรียบเพราะอย่างที่บอกว่าไปรษณีย์ไทยมีทุกจังหวัดแต่นครชัยแอร์ไม่ใช่ แต่ถ้าเทียบจุดต่อจุดเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ หรือจังหวัดที่นครชัยแอร์มีเส้นทางอยู่ไปรษณีย์ไทยอาจจะเริ่มเสียเปรียบในแง่ของต้นทุนเพราะต้นทุนของนครชัยแอร์มันแทบจะเป็นศูนย์แล้ว ธุรกิจนี้น่าสนใจยังลุยกันอีกเยอะเป็นธุรกิจก็เลยเดือดครับ คนที่มีความพร้อมก็จะมาทำแล้วก็ทำให้มันดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโอกาสของผู้บริโภคครับ แล้วเราก็ควรจะส่งเสริมให้มีคนแข่งกันเยอะ ๆ เพราะว่ายิ่งแข่งขันเยอะเนี่ย 1.คือมันไม่ผูกขาด เพราะว่าไม่งั้นมันจะเหมือนแกร็บไง เพราะเดี๋ยวนี้พอมันเริ่มผูกขาดมันจะลำบาก บริการมันก็จะเริ่มไม่ดี