ทีนี้ประเด็นคือตัวฐานข้อมูลของสรรพากรนั้น จริง ๆสรรพากรมีมานานแล้วครับอันนี้เรียกว่า Database ไม่ใช่ Big Data ผมเคยไปดูตัวระบบนี้ของสรรพากรน่าจะเป็น 10 ปีแล้วครับ คีย์เลขประจำตัว 13 หลักของผมเข้าไปรู้หมดเลยครับ รู้หมดเลยว่าผมเคยไปจ่ายอะไรบ้าง จับจ่ายโดยที่ต้องบันทึกเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มนะครับ ซึ่งปกติภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไรที่เราจ่ายผ่านบัตรเครดิตออกบิลอะไรอย่างนี้ครับ แต่ถ้าไม่มีก็จะไม่เห็น ฝั่งรายได้ฝั่งรายจ่ายจะเห็นหมด
ทีนี้พอ Big Data มันหมายถึงว่าการเก็บข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูลนะครับที่อยู่บนออนไลน์แล้วมาประมวลผลเป็นข้อมูล ยกตัวอย่างเช่นกรณีของผมเองสมมติว่าผมทำธุรกรรมหลาย ๆ ที่นะครับ แล้วผมไปพูดบนเว็บว่าผมไปฝึกอบรม ไปเป็นวิทยากรที่โน่นที่นี่ ในอดีตนั้นสรรพากรจะไม่รู้เลยว่าผมมีรายได้จากตรงโน้นตรงนี้หรือเปล่าถ้าผมไม่ได้มีเรื่องของการจ่ายภาษีหรือการรับภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องใช่มั้ย แต่พอเป็นBig Data สรรพากรบอกถ้า “ดร.อุดมธิปก”ไปบรรยายที่โน่นน่าจะมีรายได้จากตรงนั้น ตอนผมส่งรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีปรากฎว่าไม่มีรายการที่ผมไปบรรยายแปลว่ามันมีความผิดปกติเกิดขึ้นจริงมั้ย
พอนึกออกมั้ยครับอันนี้คือความสามารถของการเอา Big Data คือเป็นการประมวลผลจากข้อมูลจากทุก ๆ แหล่งข้อมูลซึ่งไม่ได้เป็นการเรียงข้อมูลในรูปแบบที่เป็น Database นะครับ สมมติว่าแค่บอกว่า “อุดมธิปก ไพรเกษตร” หรือเป็นชื่อเล่นผม “โดม ไพรเกษตร” อย่างนี้ปุ๊บมันจะไปหาข้อมูลนี้เลยแล้วดูว่าเอ๊ะผมเคยไปทำอะไรมาบ้างที่อาจทำให้เกิดรายได้ถูกมั้ย แล้วประมวลผลออกมาว่าจริง ๆ แล้วมันใช่มั้ยที่จะมีรายได้แบบนี้อันนี้คือการใช้ประโยชน์จาก Big Data
ทีนี้ในแง่ของนิติบุคคลคราวนี้ยิ่งง่ายเลยครับ มันก็จะไปประมวลผลเพราะว่านิติบุคคลส่วนใหญ่ก็จะมีรายรับกับรายจ่ายถูกมั้ยแล้วมันก็จะคำนวณทุกสิ่งทุกอย่างเก็บข้อมูลจากทุกที่มา ทีนี้มันจะมีประเด็นบางเรื่องเรามักจะเห็นผู้ประกอบการหลายคนชอบไปออกสื่อว่าตัวเองมีรายได้ 50 ล้าน 100 ล้านหรือ 1,000 ล้าน คำถามคือบางทีเวลาพูดก็พูดไปแบบไม่ได้คิดนะแต่ว่าพอพูดมันไปอยู่บนโลกออนไลน์เมื่อไหร่ปั๊บต่อไปสรรพากรมาตรวจได้เลยนะ หรือหลายคนซื้อรถมีรถหลายคันคำถามคือความสัมพันธ์เรื่องทรัพย์สินกับรายได้มันสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะว่าบางคนถ้าคุณมีรายได้ไม่มากแล้วคุณไม่เคยเสียภาษี หรือเสียภาษีน้อยมากทำไมคุณมีทรัพย์สินเยอะถูกมั้ย อันนี้ก็คือการใช้ความสามารถของตัว Big Data
ทีนี้ตามที่รายงานข่าวบอกว่าวิธีแรกที่จะทำคือการใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตซึ่งได้จากการที่บุคคลหรือธุรกิจส่งข้อมูลเข้ามา อยากเรียนว่านี่เป็นวิธีเก่าที่เราต้องส่งไปให้เขาแต่ถ้าเป็น Big Data จริง ๆไม่ต้องส่ง คือเขาสามารถที่จะไปดึงข้อมูลที่ไหนก็ได้เราไม่จำเป็นต้องส่งเขาไงถูกมั้ย สมมติว่าผมไปพูดบนเฟสบุ๊คว่าผมไปได้งานอะไรมาสักงานหนึ่งมูลค่า 10 ล้าน คือข้อมูลนี้มันจะถูกเก็บไว้ในถังข้อมูลของผมซึ่งมันไม่ได้เก็บจากข้อมูลที่ผมส่ง คือถ้าเก็บจากข้อมูลที่ผมส่งมันไม่ใช่ Big Data มันคือ Database มันจะต่างกันนะ
คือถ้าข้อมูลที่ผมส่งมันคือ Database ธรรมดา แล้วทำให้ Database นั้นมันใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โอเคเอา Ai มาใช้ก็ได้เป็น Database แต่ถ้าเป็น Big Data คือพยายามใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลาย ๆ format จากที่ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ซึ่งอันนี้มันจะเป็นเรื่องใหม่ คือ Database ของสรรพากรน่ะดีอยู่แล้วแต่ Ai ไม่ดีนะ มันยังต้องใช้คนอยู่ แต่ถ้าเขาพัฒนา Ai มันก็จะช่วยได้เยอะมันก็ไม่ต้องพึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรหรือใช้เจ้าหน้าที่สรรพากรน้อยลง เรื่องนี้มันกระทบกับชีวิตทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือว่าเป็นผู้ประกอบการ
This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.
Strictly Necessary Cookies
Strictly Necessary Cookie should be enabled at all times so that we can save your preferences for cookie settings.
If you disable this cookie, we will not be able to save your preferences. This means that every time you visit this website you will need to enable or disable cookies again.