ตามที่มีรายงานข่าวระบุถึงกรณีที่สำนักข่าว U.S. News & World Report ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในโลกในด้านต่าง ๆ ประจำปี 2561 บนเว็บไซต์ usnews.com

จาก U.S. News สีสันประเทศสู่ปมร้อนการศึกษาไทย (มีคลิป)
โดย… ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด
ตามที่มีรายงานข่าวระบุถึงกรณีที่สำนักข่าว U.S. News & World Report ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในโลกในด้านต่าง ๆ ประจำปี 2561 บนเว็บไซต์ usnews.com
โดยระบุว่าประเทศไทยยังคงครองแชมป์อันดับ 1 จากทั้งหมด 80 ประเทศทั่วโลกในเรื่องการเป็นประเทศที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มธุรกิจ หรือ Best Countries to Start a Business ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และยังเป็นประเทศที่น่าลงทุน หรือ Best Countries to Invest In อันดับที่ 8 จาก 25 ประเทศทั่วโลก
ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยของเราอย่างยิ่ง แต่ถ้าถามในความเห็นส่วนตัวอยากเรียนอย่างนี้ว่า จริง ๆมันมีตัวเกณฑ์ชี้วัดอยู่ตัวหนึ่งของเวิร์ดแบงค์เขาใช้คำว่า “Doing Business” อันนี้มันเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่เพิ่งมีการประกาศไป เราเองก็ไม่รู้ว่าโดยแบล็คกราวของสำนักข่าว U.S. News & World Report ว่ามันเป็นอย่างไร แต่เอาเป็นว่า “Doing Business” ดีที่สุดน่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งทำโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ใช่สื่อตามที่ระบุ
“Doing Business สำรวจล่าสุดปีนี้เราขยับขึ้นมาเยอะแบบก้าวกระโดด ซึ่งจริง ๆเวลาเราเปรียบเทียบเรื่องความน่าสนใจในการลงทุนหรือทำธุรกิจ เราต้องเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในละแวกเราด้วยนั่นคืออาเซียน ถามว่าเพราะอะไรก็เพราะหากเราไปเปรียบเทียบกับที่อื่นมันคงไม่เหมาะ
คำถามต่อมาถามว่าคนอยากลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ ตอบได้เลยว่าอยากลงทุน แต่วันนี้ต้องดูว่าดีขึ้นหรือไม่ บางเรื่องมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องกฏหมาย แล้วเวลาต่างชาติอยากมาลงทุนเขาดูอะไรกันบ้าง???
ประการแรกเลยคือประเทศนี้มีศักยภาพทางธุรกิจแบบไหน ซึ่งศักยภาพทางธุรกิจดูอะไรบ้างก็จะมีในเรื่องทรัพยากร ,ระบบการขนส่ง ,คน ซึ่งในส่วนของคนจะมีด้วยกัน 2 มิติ คือคนในมิติที่เป็นแรงงาน พนักงาน กับคนในฐานะที่เป็นผู้บริโภค ,มีเงื่อนไขในแง่ของการเอาเงินเข้าเงินออกสะดวกหรือไม่
อย่างทุกวันนี้ประเทศพม่าน่าลงทุนมาก ตลาดพม่าก็ใหญ่แต่ระบบการเอาเงินออกจากพม่าอาจจะยังไม่ดี เพราะฉะนั้นถ้าคุณลงทุนในพม่าคุณก็ต้องคิดเยอะเหมือนกัน ต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว มันก็เหมือนสมัยก่อนที่เราไปลงทุนในเวียตนาม แต่ว่าไปลงทุนแต่เอาเงินออกมาไม่ได้หรือไปลงทุนในจีนสมัยก่อนเอาเงินออกมายาก อันนี้มันก็ถือเป็นปัจจัย
ทีนี้ปัจจัยพวกนี้สำหรับเมืองไทยตอนนี้มันดีหมด เรื่องกฏหมาย สภาพแวดล้อม การเมืองก็นิ่งทุกอย่างก็โอเคหมด ในลักษณะภูมิเศรษฐกิจเราก็ดีเพราะอยู่ศูนย์กลางของอาเซียน ผลิตของที่เราส่งไปที่อื่นสะดวก แต่ของที่ผลิตเวียตนามส่งไปขายพม่ายากมั้ยต้องข้ามไทย ส่งจากพม่าไปเวียตนามได้มั้ยก็ต้องข้ามไทยไม่งั้นคุณก็ต้องวนทะเล แต่ถ้าบอกว่าจากเวียตนามมามาเลเซีย หรือมาเลเซียไปเวียตนามหรือมาเลเซียมาพม่าอย่างนี้ พวกนี้มันก็ทะเลอย่างเดียวอยู่แล้วก็ไม่ต้องผ่านไทย
“ในความเป็นอาเซียนเรามีประชากรที่มันได้เปรียบหลายจุด แต่มันยังมีความน่าห่วงอยู่เหมือนกันนั่นคือว่าบางสาขาวันนี้เขาไม่ผลิตในไทย ไม่สนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ถามว่าเพราะอะไร”
บอกเลยว่า 1.คนไทยเรียนทางด้านนี้น้อยเพราะฉะนั้นไปจ้างลงทุนในเวียตนามดีกว่า แล้วต้องเรียนอย่างนี้ว่าอะไรที่มันต้องลงทุนแล้วใช้คนเยอะ ๆวันนี้เขาไม่อยากใช้ไทย เพราะค่าแรงไทยสูง อะไรที่ต้องลงทุนในเทคโนโลยีสูง ๆก็ไม่อยากลงทุนที่ไทย เพราะว่าโดยเฉลี่ยความสามารถของคนไทยเมื่อสู้กับคนเวียตนามแบบเป็นค่าเฉลี่ยแล้วเราสู้เขาไม่ได้
“ฟังแล้วมันน่าตกใจนะครับ คือคนเวียตนามเอาพวกที่เป็นนักเรียนนักศึกษานะ ตอนเย็นเลิกงานหรือเลิกเรียนจะไปเรียนภาษาอังกฤษ เรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาดูบ้านเราเลิกเรียนก็ไปร้องเพลง ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ก็เพราะบ้านเราค่อนข้างสบาย ไม่ต้องขวนขวายหรือดิ้นรนอะไรมากมาย ขณะที่บ้านเขายังต้องปากกัดตีนถีบ ต้องดิ้นรน พอปากกัดตีนถีบนั่นหมายความคุณต้องเก่ง การหาความรู้อย่างเดียวที่จะทำให้คนสามารถเติบโตได้” นี่เป็นปัจจัยที่ทำให้เราสู้เขาไม่ได้ในอาเซียน
ถึงตรงนี้ก็อยากจะขยายความต่ออีกว่า เรื่องคนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต่างประเทศเขาคำนึงถึงเวลามาลงทุน นั่นหมายความว่าถ้าเขาจะขายสินค้าในประเทศไทยเองเขาลงทุนในไทย ขณะเดียวกันถ้าเขาจะขายสินค้าใน CLMV เขาลงทุนในไทยได้ประโยชน์
แต่ถ้าเขาจะทำสินค้าเพื่อขายทั่วโลก ลงทุนในไทยนี่เริ่มคิดแล้วว่าถ้าลงทุนในไทยจะมีคนมาช่วยผลิตหรือไม่เพราะว่าพอจะลงทุนขายทั่วโลก ความเป็นไทยมันไม่เด่นแล้ว แต่ถ้าบอกว่าจะลงทุนในไทยเพื่อขายคนไทยยังไงลงทุนในไทยก็ดีกว่าใช่เปล่า ถ้าลงทุนในไทยเพื่อไปขายใน CLMV แปลว่าคนไทยต้องบริโภคได้ CLMV ก็บริโภคได้อันนี้ก็ได้เปรียบ
เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ EEC นโยบายของรัฐบาลที่ออกมาก็เพื่อต้องการสเกล อันนี้เป็นเหตุผลที่เขาอยากจะทำเพื่อขายทั่วโลกเพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างแรงจูงใจพิเศษ แล้วรวมถึงให้ตั้งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ด้วยเพื่อเป็นเมืองที่จะพัฒนาคนควบคู่กัน แล้วไม่สนใจว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า
มหาวิทยาลัยไทยก็เข้าไปร่วมด้วยเป็นการเปิดร่วมกันเช่นที่ลาดกระบัง เพราะฉะนั้นคนไทยก็เข้าไปเรียน ประเด็นคือมันก็ต้องมีกระบวนการในการส่งผ่าน โอเคมันอาจจะไม่สามารถทำให้ความสามารถของทั้งประเทศมันดีขึ้น
ซึ่งจริง ๆแล้วมหาวิทยาลัยไทยนี่อาจารย์เก่ง ๆเยอะ แต่ปัญหาคือว่าคนไทยที่เรียนเรื่องพวกนี้น้อยเกิน ทุกวันนี้ถ้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเขาก็มีกองทุนกยศ.ซึ่งเปลี่ยนเป็นกรอ.ระบุว่าถ้ากู้ในสาขาที่ขาดแคลนสามารถกู้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจนทุกคนมีสิทธิ์กู้
แต่ถ้าเรียนในสาขาที่ไม่ขาดแคลนนี่ต้องจนจริง ๆ หรือบางทีรัฐบาลก็ไม่ปล่อยกู้เลยมันก็จะมีเงื่อนไขซึ่งตอนนี้เขาก็ใช้เงื่อนไขนี้แต่ว่ากว่าจะเปลี่ยนมันก็ต้องใช้เวลา อีกอย่างหนึ่งพอพูดถึงสาขาที่ขาดแคลนอย่างบางสาขาที่ขาดแคลน เช่นพวกวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะพวกวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ กับพวกวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิศวคอมฯพวกนี้หรือแม็คคาทรอนิกส์ ซึ่งมันเป็นสาขาที่กำลังต้องการมาก
นอกจากปัจจัยเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้วที่มีผลต่อการลงทุนของต่างชาติแล้ว ยังมีเรื่องของตลาดก็ต้องดูว่ามีผู้บริโภคเยอะมั้ย ความยากง่ายในการทำธุรกิจ เปิดบริษัทยากหรือเปล่า ขั้นตอนในการเปิดบริษัทใช้เวลานานหรือไม่ เวลาเขาจะมาลงทุนเอาเงินเข้าออกประเทศง่ายหรือเปล่า
การขอวีซ่าเพราะเขามาทีไม่ใช่แค่เอาเงินมาต้องเอาคนของเขามาด้วยใช่มั้ย ดังนั้นการขอวีซ่าให้กับพนักงานที่เป็นต่างชาติง่ายหรือไม่ ยากหรือเปล่า ซึ่งพวกนี้รัฐบาลแก้ได้ไม่ยาก แล้วรัฐบาลชุดนี้ได้แก้เรื่องพวกนี้เยอะ แก้กฏหมาย แก้ระเบียบอะไรต่าง ๆที่จะทำให้ต่างชาติเข้าทำธุรกิจในไทยง่ายขึ้น
กลับมาที่เรื่องกรณีที่สื่อต่างชาติอย่าง สำนักข่าว U.S. News & World Report นำเสนอข่าวนี้ออกมา สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นผลบวกแล้วมันทำมาทุกปี ขณะที่ผลของเราก็ดีตลอดก็ไม่มีอะไร สำหรับผมแล้วก็ถือว่าเป็นสีสันในเชิงบวก แต่ถ้าเป็น Doing Business ผมให้น้ำหนักมากกว่า
ไหน ๆก็แตะ ๆเรื่องการศึกษาไปบ้างแล้ว ก็อยากจะขอพูดต่อกันอีกสักนิด จริง ๆแล้วเวลาเราพูดถึงเรื่องการปรับตอนนี้มันปรับหลายเรื่องไง เร็ว ๆนี้ได้แชร์ข่าวชิ้นหนึ่งจากกรณีที่หมออุดม รัฐมนตรีช่วยศึกษาฯประกาศว่ากุมพันธ์นี้จะให้มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรใหม่ที่เป็นหลักสูตรประเภทแอ็ดวานซ์ หรือหลักสูตรก้าวหน้า คืออาจจะเรียนหมอ 2 ปี เรียนวิศวะ 2 ปี แล้วได้ปริญญาแต่ไม่ได้เป็นหมอนะ แต่ว่าเป็นหลักสูตรที่เรียกว่าผสมผสาน
“ตอนนี้เรื่องแบบนี้เมืองไทยมันต้องทำ แล้วปัญหาในอดีตคือว่าเงื่อนไขของสกอ.มันยาก ลองคิดดูนะสมัยก่อนสมมติเราคิดจะเปิดหลักสูตรลอจิสติกส์ ก็ต้องมีอาจารย์ที่จบหลักสูตรทางด้านลอจิสติกส์มาก่อนหรืออาจารย์ที่เคยทำวิจัยด้านลอจิสติกส์มาก่อน ถ้าลอจิสติกส์มันเป็นเรื่องใหม่ในเมืองไทยก็จบแล้วเจออีกดอกหนึ่งสมมติว่าเราจะเปิดหลักสูตรโซเชียลมีเดีย แล้วต้องหาคนเปิดโซเชียลมีเดียจากไหนถ้ามันเป็นเรื่องแรกของโลกล่ะ”
เพราะฉะนั้นหลักสูตรใหม่ ๆในประเทศตะวันตก มันเอาจากคนที่ทำงานมาถ่ายทอดเป็นวิชาการ คือมันไม่ใช่เอาคนจบสาขานั้นซึ่งบางทีมันไม่เคยมีสาขานั้นในโลก อันนี้ถือเป็นเรื่องที่ตลกของเมืองไทยเรา อันนี้จริง ๆก็พูดยากเพราะว่าบ้านเรานั้นมันไม่ได้มีการวางแผนในเรื่องของการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการทุกส่วน คือสกอ.เองมหวิทยาลัยเองก็ไม่ได้ทันคิดในเรื่องนี้
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะพูดถึง นั่นคือกรณีที่มีการระบุว่าเราขาดแคลนกำลังคนที่เป็นอาชีวะ มันจะไม่ขาดแคลนได้ไง เอาง่าย ๆเคยลองนึกถึงว่าวิทยาลัยอาชีวะส่วนใหญ่อยู่ในเมือง หลานผมอยากให้เรียนอาชีวะที่จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 60 กิโลเมตรถ้าจะเรียนอาชีวะแต่ถ้าเรียนมัธยมปลายนะไม่เกิน 5 กิโลเมตร คำถามคือต้นทุนอันไหนมันสูงกว่า เพราะไหนต้องมีค่าเดินทาง ต้นทุนในการใช้ชีวิตอีกนะ พอมันอยู่ไกลปุ๊บนอกจากค่าเดินทาง ค่ากินอยู่ จะบอกให้ไปพักเลยก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการหาที่พักนะ ฉะนั้นการเรียนอาชีวะกลายเป็นต้นทุนสูงกว่าเรียนมัธยมปลาย แล้วคนจะเรียนอาชีวะหรือ
“ถ้าแก้ตรงนี้ไม่ได้ก็คือจบเลยถามว่าใครจะส่งลูกหลานไปเรียน ฉะนั้นเด็กที่จบสายสามัญมันถึงเยอะโดยธรรมชาติไง เพราะแทบจะทุกตำบลมีโรงเรียนมัธยมศึกษปลาย”
ส่วนประเด็นที่บอกว่าเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยน้อยลง ก็อยากจะบอกว่าเรื่องนี้มันน้อยลงโดยธรรมชาติ จริง ๆแล้วจำนวนคนมันยังไม่น้อยลงแบบฮวบฮาบเท่ากับว่าจำนวนมหาวิทยาลัยมันเยอะขึ้น มันได้สัดส่วนกันที่ไหนทุกจังหวัดมีมหาวิทยาลัยหมดแล้ว ถามว่าสมัยก่อนเราอยากเรียนบัญชีสามารถนับมหาวิทยาลัยเรียนได้ อยากเรียนนิติศาสตร์นับมหาวิทยาลัยเรียนได้ อยากเรียนรัฐศาสตร์นับมหาวิทยาลัยเรียนได้
เอาที่สาขาฮิต ๆอย่างบริหารธุรกิจมีสาขาฮิตอยู่ 5-6 สาขานับมหาวิทยาลัยได้ แต่ตอนนี้ทุกมหาวิทยาลัยเปิดแล้วมันไม่หายได้ไงล่ะ
“ถามว่าเรื่องนี้ภาครัฐรู้หรือไม่ รู้แต่คนที่รู้แก้หรือเปล่า แล้วเวลาเราพูดถึงภาครัฐนี่พูดถึงข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำรู้แต่มีอำนาจแก้หรือเปล่า รู้แล้วอยากแก้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นเวลาแก้ปัญหาในเมืองไทยเรื่องหนึ่งมันกระทบหลายส่วน”
แต่จริง ๆมันก็น่าจะแก้ได้เพราะมันขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจังของรัฐบาล จริง ๆ 4 ปีที่เราอยู่ในรัฐบาลของคสช.เราก็หวังว่ารัฐบาลน่าจะทำอะไรได้เยอะ แต่รัฐบาลกลับไม่ทำในบางเรื่องที่ควรทำ เสียเวลาไปทำในบางเรื่อง ก็เลยคิดว่าน่าเสียดาย ?????