กดคลิกเพิ่มเลย! พบกับกลยุทธ์ธุรกิจจูงใจให้ลูกค้าจ่ายเงินเพิ่ม และ 5 กลุ่มธุรกิจที่เหมาะกับ Business Model แบบ Add-on

- Posted in
Business Model : ตอนที่ 1 ‘กลยุทธ์ธุรกิจ’ ดึงเงินลูกค้าให้จ่ายมากกว่าราคาที่ระบุ
-
- Posted byby sukchai
- 1 minute read
กดคลิกเพิ่มเลย! พบกับ ‘กลยุทธ์ธุรกิจ’ จูงใจให้ลูกค้าจ่ายเงินเพิ่ม และ 5 กลุ่มธุรกิจที่เหมาะกับ Business Model แบบ Add-on
“โปร 0 บาทของสายการบินโลว์คอสกลับมาอีกแล้ว กดไปกดมาจาก 0 บาท บวกภาษีสนามบิน
เพิ่ม Add-on ค่าประกัน เพิ่มน้ำหนักกระเป๋า และอาหารว่างบนเครื่องบิน สรุปไปๆ มาราคาเริ่มไม่น่ารัก”
“สั่งพิซซ่าเจ้าดังในราคาโปรโมชัน เพิ่มกด Add-on เปลี่ยนหน้า Seafood เพิ่มโคล่าราคาพิเศษ ปีกไก่
ขนมปังกระเทียม ฯลฯ จบท้ายค่าส่ง สรุปยอดบิลมาราคาเกินจากโปรโมชันมาหลักร้อย”
‘กลยุทธ์ธุรกิจ’ ที่จูงใจเหล่านี้ คือ 1 ใน Business Model ที่บริษัทใหญ่ๆ มักออกแบบมาเพื่อเป็นตัวเลือกเพิ่มเติมของสินค้า ซึ่งหากอยากได้ลูกค้าจำเป็นต้องจ่ายเพิ่มเข้ามา เรียกว่าได้ว่าเป็นสิทธิพิเศษจากราคาปกติ
แบบแผนของ Add-on คือ การที่เราตั้งราคาสินค้าไว้ให้ถูกที่สุด โดยส่วนมากจะเป็นสินค้าที่คนทั่วไปรู้จักดีอยู่แล้ว แต่สร้าง Features ขึ้นมาเพิ่มเติมให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้สะดวกสบาย หรือทำออกมาในราคาที่พิเศษขึ้น ซึ่งลูกค้าเองก็มีสิทธิ์เลือกความพอใจในการจ่ายเงินนี้ และบริษัทก็สามารถเพิ่มรายได้ในการเก็บเงินจากลูกค้าได้มากขึ้น
รูปแบบ Business Model ที่ต้อง Add-on สินค้า บริการ หรือข้อเสนอพิเสษเพิ่มเติมตามความพึงพอใจของลูกค้าแบบนี้ เหมาะกับธุรกิจที่ระบุกลุ่มเป้าหมายยาก (Hard to Segment) หมายความว่าลูกค้ามีความต้องการ Function ที่หลากหลาย เช่น การเลือกสเปกคอมพิวเตอร์หรือในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มักจะเสนอ Features ที่เหมาะสมกับลูกค้าหรือให้ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม (Extras) กับลูกค้าคนสำคัญ
5 กลุ่มธุรกิจที่เหมาะกับ Business Model แบบ Add-on
Services
ธุรกิจด้าน Services มักจะเพิ่ม Features บริการเสริมให้กับลูกค้า และลูกค้าก็ยอมจ่ายมากขึ้น เพื่อแลกกับความต้องการ
สายการบิน
สายการบิน Low Cost ในยุโรปที่ค่าตั๋วเครื่องบินราคาถูกนั้น จะมีค่าบริการเสริมเพิ่มเติม เช่น หากต้องการเพิ่มน้ำหนักกระเป๋า อาหาร-เครื่องดื่มระหว่างเดินทาง ที่นั่งพิเศษ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลูกค้าจะต้องจ่ายเพิ่ม
Delivery
ธุรกิจเดลิเวอรีเองก็มีตัวเลือกให้ลูกค้าเพิ่มของในรถเข็น ซึ่งอาจใช้เทคนิคราคาพิเศษเมื่อซื้อบางอย่าง หรือหากอยากได้ Function ที่มากขึ้นก็อาจจะให้จ่ายเพิ่ม
Software Service
บริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุด ของยุโรปและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอย่าง SAP AG (เอสเอพี เอจี) ที่ปกติขายโปรแกรมแบบ Standard ให้กับลูกค้าทุกคน แต่กำไรหลักกลับได้มาจากการขายบริการเสริมเพิ่มให้กับลูกค้า ในลักษณะ Features พิเศษ หากอยากได้ก็จำเป็นต้องจ่ายเพิ่ม
Business to Business (B2B)
นักลงทุนส่วนใหญ่มีต้องการลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนสูงสุด เพราะฉะนั้นพวกเขาจะเลือกของที่ราคาถูกก่อน จากนั้นกำไรจาก B2B ก็คือบริการที่ลูกค้า Add-on เพิ่มเข้ามา เช่น การจัดส่งไว การซื้อแพคเกจจิ้งเพิ่มความปลอดภัย หรือซื้อประกันสินค้าเสียหายและสูญหาย เป็นต้น
จริงๆ แล้ว Business Model แบบ Add-on มีนานแล้ว แต่ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้กับธุรกิจด้าน Services ที่ลูกค้ามีความต้องการที่จ่ายมากขึ้น เพื่อให้ได้รับในสิ่งที่ดีกว่าเดิม หรืออุตสาหกรรมที่สร้างสินค้าต้นแบบไว้แล้วค่อยมีบริการเสริมต่างๆตามมาที่หลัง
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/
