กลยุทธ์ Aikido เมื่อนำมาใช้ในธุรกิจจึงหมายความว่า “การทำดึงจุดแข็งของคู่แข่งให้กลายเป็นจุดอ่อน” มักจะหลีกเลี่ยวางตำแหน่ง สินค้าและแบรนด์ให้ตรงข้ามกับคู่แข่ง

- Posted in
Business Model : ตอนที่ 3 ทลายจุดแข็งคู่แข่ง ให้เป็นจุดอ่อน ด้วยโมเดลธุรกิจ ‘Aikido’
-
- Posted byby sukchai
- 1 minute read
ทำไมต้อง Aikido?
Aikido เป็นคอนเซปต์ เดิมทีใช้สำหรับศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น ที่น่าสนใจสำหรับการนำมาประยุกต์ธุรกิจ เพราะคอนเซปต์ของ Aikido คือการดึงพลังของคู่ต่อสู่มาเพื่อเป็นพลังป้องกันตัว เมื่อนำมาใช้กับธุรกิจ กลยุทธ์ Aikido จึงหมายความว่า “การดึงจุดแข็งของคู่แข่งให้กลายเป็นจุดอ่อน”
โดยปกติแล้วสินค้าและบริการ มีความแตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม แตกต่างกันทั้งเรื่องมาตรฐาน ทำให้การตีโจทย์เมื่อต้องผลิตสินค้าออกมานั้น มักจะหลีกเลี่ยงหรือวางตำแหน่ง (Position) สินค้าและแบรนด์ให้ตรงข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงกับคู่แข่ง
“ย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีก่อน ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มขยายตัวอย่างมาก หากสังเกตดูจะพบว่า ก่อนที่อิชิตันจะเข้าตลาดนั้น มี 2 เจ้าใหญ่ที่วางขายอยู่แล้วคือ โออิชิ 20 บาท และเพียวริคุ 10 บาท พออิชิตันจะเข้าตลาดก็วาง Position ให้อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 แบรนด์ขายในราคา 15 – 16 บาท และทำให้ลักษณะชาเขียวออร์แกนิค”
เป็นการมองหาตำแหน่งให้สินค้าและแบรนด์ โดยใช้ความแตกต่าง เพื่อเลี่ยงการเผชิญหน้ากัน และยังเป็นการเปิดตลาดใหม่ที่ไม่มีใครทำ
กลยุทธ์เลี่ยงการปะทะ เหตุผลที่ Apple กวาดตลาดด้านเทคโนโลยีราบ
ปกติเวลาที่เราจะมองหาคู่แข่งในตลาดเรามักจะมองหาคู่แข่งที่ทำอุตสาหกรรมหรือสินค้าที่เหมือนกัน ในตำแหน่งเดียวกัน เช่น ตลาดโทรศัทพ์เคลื่อนที่สมัยก่อน ที่มีการออกแบบราคาและฟังก์ชั่นไม่ต่างกันมาก ระหว่าง Nokia, Motorola, Sony และ Samsung เป็นต้น แต่เมื่อการเข้ามา Disrupt ของ Apple ที่ไม่ได้วาง Position สินค้าอย่าง iPhone เดียวกันกับคู่แข่ง หรือเข้ามาท้าชนตรงๆ แต่เลือกที่จะเลี่ยงโดยการหาตำแหน่งใหม่ให้ตัวเองในตลาด สร้างจุดแข็งใหม่ที่ตลาดไม่มี อาทิ ฟังก์ชั่น ราคา คุณภาพ เทคโนโลยี ซึ่งจุดแข็งเหล่านี้จะทำให้คู่แข่งไม่กล้าสู้กับความแตกต่าง หรือตามความแปลกใหม่นี้ไม่ทัน
เมื่อเรารู้ว่าตลาดปัจจุบันเป็นอย่างไร เราก็สามารถเปลี่ยนตลาดให้เป็นรูปแบบอื่นได้ โดยการทำให้จุดแข็งที่เคยมีของคู่แข่งให้กลายเป็นจุดอ่อนแทน ปัจจัยในความต่างนี้จะทำให้เราได้ลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้สินค้าและบริการมากขึ้น ความต่างเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญหรือใหม่ แต่มันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ได้
ไม่ได้มี Apple แต่กลยุทธ์ธุรกิจนี้ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1976
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1967 รูปแบบ Aikido Business Model ถูกนำมาใช้กับแบรนด์สัญชาติฝรั่งเศสอย่าง L’Oréal Corporate Group และแบรนด์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว The Body Shop
โดย The Body Shop ใช้ความแตกต่างในแง่การขายสินค้าที่เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถนำกลับมาใช้ได้ซ้ำ ไม่ทดลองเครื่องสำอางกับสัตว์และใส่ส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติลลงไป โดยเฉพาะการไม่นำเครื่องสำอางทดลองกับสัตว์นั้น ถือว่าเป็นมิติใหม่ในวงการเครื่องสำอางทีเดียว เนื่องจากยังไม่มีรายใดในอุตสาหกรรมนั้นทำมาก่อน
หลักการของ Aikido จึงค่อนข้างเป็นการวางรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่มีเสน่ห์ และใช้ความกล้า เป็นการคิดนอกกรอบ (Think Outside of the Box) ที่จะพลิกจุดแข็งของคู่แข่งให้กลายเป็นจุดอ่อน ผู้ประกอบการต้องอาศัยความระมัดระวัง รอบคอบ และเอาใจใส่ เพื่อดูว่าเส้นทาง Business Model ที่วางไว้นั้น สามารถทำได้จริงหรือไม่
โลกของธุรกิจจำเป็นต้องศึกษาทั้งธุรกิจ คู่แข่ง สภาพตลาด และฐานลูกค้า เพื่อให้การวางแผนทั้งหมดนั้นออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด
ออกแบบ Business Model Canvas ฟรี!
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/
