เพราะหัวใจหลักของการทำธุรกิจคือ ราคาขายที่มากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนลดลง หลายบริษัทจึงใช้วิธีร่วมมือกับอีกบริษัท เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยใช้สินค้าและบริการทำ Barter

Business Model ตอนที่ 5 กลยุทธ์ลดต้นทุนทางธุรกิจด้วย ‘Barter’

Barter ไม่ใช่แค่การโปรโมทสินค้าหรือเป็นที่สนับสนุนทางการเงินของ third-parties เพื่อทำการตลาดอีกต่อไป ลดต้นทุนทางธุรกิจโดยใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าของแต่บริษัทเอง

รู้จักกลยุทธ์ Barter กันไหมคะ?

ในบางครั้งทำไมบางบริษัทถึงมีโควตาตั๋วเครื่องบินของสายการบินให้ได้บินฟรีตลอดๆ

บริษัทเหล่านี้ทำข้อตกลงบางอย่างร่วมกันที่เรียกว่า ‘Barter’

เพราะหัวใจหลักของการทำธุรกิจ คือ ราคาขายที่มากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนลดลง หลายบริษัทจึงใช้วิธีร่วมมือกับอีกบริษัท เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยใช้สินค้าและบริการ มาทำการแลกเปลี่ยนระหว่างกันในแบบที่ไม่มีเรื่องของเงินมาเกี่ยวข้อง เช่น หากคุณทำธุรกิจร้านอาหารคุณอาจออกบัตรลดส่วนพิเศษให้กับสื่อออนไลน์เจ้าหนึ่ง ได้ใช้บริการ แต่แลกเปลี่ยนด้วยการประชาสัมพันธ์และฝากโปรโมชัน

อาจจะดูเหมือนคล้ายกับธุรกิจประเภทการเป็นผู้สนับสนุน (sponsorship) แต่ Barter ไปไกลกว่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การโปรโมทสินค้าหรือเป็นที่สนับสนุนทางการเงินของ third-parties เพื่อทำการตลาดอีกต่อไป The Business Model Navigator: 55 Models That Will Revolutionise Your Business ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า หลักการแลกเปลี่ยน คือ ลักษณะของลดต้นทุนทางธุรกิจโดยใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าของแต่บริษัทเอง เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจแบบ Win-Win เช่น P&G เองก็เป็นหนึ่งบริษัทที่ใช้หลักการนี้เช่นกัน ด้วยการที่ P&G เข้าไปมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมบันเทิง เช่นวิทยุและรายการทีวี เพื่อโปรโมทแบรนด์และสินค้า โดย P&G จะได้ผลตอบรับในรูปแบบของการตลาดกลับมา ส่วนในฝั่งของผู้ผลิตรายการก็จะได้สินค้านั้นมาโดยไม่เสียเงิน หรือฝั่งเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Google เองก็ใช้การแลกเปลี่ยนเช่นกัน โดยนำบริการช่วยเหลือการสั่งงานด้วยเสียงใส่ลงในสมาร์ทโฟนของระบบ Android  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมยาเองก็มักจะส่งยาให้ฟรีกับแพทย์และโรงพยาบาล เพื่อให้ในการรักษาดูแลคนไข้ เป็นเครื่องมือที่ใช่ส่งเสริมแบรนด์ ในรูปแบบแนะนำสินค้าที่มีอยู่แล้วให้กับลูกค้าใหม่ๆ

ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมสื่อเท่านั้น แต่หลักการนี้ใช้ได้ผลในสินค้าประเภทแม่และเด็ก โดยเฉพาะสินค้าสำหรับเด็กแรกเกิด หลักการนี้จะทำให้บริษัทได้ลูกค้ารายใหม่ๆ เข้ามาจากการที่บริษัทส่งตัวอย่างอาหารเด็กไปให้พ่อแม่เด็กฟรี เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้กับแบรนด์ของตัวเอง

“แม้แต่ในสมัยก่อน PepsiCo ก็ใช้หลักการนี้ในการแลกเปลี่ยนสินค้ากับกลุ่มโซเวียด ด้วยการเสนอระหว่างการส่ง Pepsi cola drink แลกกันกับการส่งออกวอดก้าอย่างถูกกฏหมายไปยังสหรัฐอเมริกา”

Pay with a tweet เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

Business Model ตอนที่ 5 ลดต้นทุนทางธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Barter
Pay with a tweet

ในยุคที่ Social Media มีอิทธิพลต่อตลาดสินค้าและบริการ Twitter คือ หนึ่งในบริษัทที่ผ้ประกอบการลงโปรโมทสินค้าหรือโฆษณา โดยที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์จะได้ตัวอย่างสินค้าฟรี เมื่อมีการ Tweet หรือโปรโมทสินค้าชิ้นนั้นให้กับผู้ติดตาม ซึ่งวิธีการนี้หรือ Pay with a tweet เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะทวิตเตอร์เองนั้นมีผู้ใช้งาน 550 ล้านราย และยังเป็น social media ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งการขยายหลักการแบบแลกเปลี่ยนในตลาดออนไลน์ที่เรียกว่ากลยุทธ์ Barter นี้ ยังนับว่าเป็นต้นแบบกลยุทธ์ที่บางคนเรียกว่า รีวิวหรือพรีวิวสินค้า นั่นเอง

แลกเปลี่ยนจะกลายเป็นกลยุทธ์ที่สมบรูณ์แบบสำหรับธุรกิจที่ต้องการ Partner ที่เข้ามาช่วยเติมเต็มธุริกิจของตัวเอง ในที่นี้ Partner นั้นไม่ได้หมายถึงแค่ Suppliers หรือลูกค้าเท่านั้น แต่ยังหมายถึงคู่แข่งด้วยเช่นกัน แต่ต้องเป็นคู่แข่งที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับคนอื่นอยู่แล้ว

การจะการแลกเปลี่ยนสินค้านั้นจำเป็นที่จะต้องคิดนอกกรอบ แต่ก็จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการเลือก Partner เช่นกันโดยเฉพาะ Partner ที่ทำธุรกิจหมือนกันหรือธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป

ออกแบบ Business Model Canvas ฟรี!

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/