‘เทคนิคบริหารเงินทุนหมุนเวียน’ ให้เกิดรายได้ แทนที่เมื่อได้เงินมาจะหักไปจ่าย Suppliers เลย ก็ยืดระยะเอาเงินไปต่อยอดสร้างกำไรก่อน

- Posted in
Business Model ตอนที่ 6 ‘วิชามาร’ เทคนิคบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดรายได้
-
- Posted byby sukchai
- 1 minute read
ระยะเวลาการจ่ายเงินมีผลโดยตรงกับการสร้างรายได้ของบริษัท สำหรับคนที่อยู่ในฐานะ Suppliers เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ เหตุใดบริษัทที่เราดีลงานด้วยถึงมีขั้นตอนการจ่ายเงินที่ซับซ้อน หรือส่งมอบง่ายไปแล้ว แต่เงินที่ได้ถึงต้องรอถัดไปในแต่รอบห่างกัน 60 – 90 วัน
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ง่ายต่อการจ่ายเงินเป็บของทางบัญชีเท่านั้น แต่เป็นการดำเนินธุรกิจที่เรียกว่า ระยะเวลาหมุนเวียนเงิน (Negative cash conversion cycle) หมายความว่า ระยะเวลาที่บริษัทสามารถหมุนเวียนเงินได้ก่อนที่จะต้องจ่ายเงินให้กับ Suppliers แทนที่เมื่อได้เงินมาจะหักไปจ่าย Suppliers เลย ก็ยืดระยะเอาเงินไปต่อยอดสร้างกำไรก่อน แต่การจำทำแบบนี้ได้หมายความคุณต้องประเมินและเข้าใจเรื่องเวลาในการจัดการสินค้าตั้งแต่วัตถุดิบ (raw materials), กระบวนการทำงาน (work-in process), ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (finished product) รวมถึงระยะเวลาที่สามารถจ่ายเงินได้ช้าที่สุดทั้งของลูกค้าและ Suppliers
“เรื่องนี้เป็นเรื่องของเงินต่อเงิน” ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด เกริ่นขึ้น ก่อนอธิบายต่อว่า บริษัทเหล่านี้เลือกที่จะ ‘รับเงินสดและจ่ายเครดิต’ ต้นทุนทั้งหมดจะเป็นการวางบิลจ่ายเป็นเครดิตไว้ แต่ตอนรับเงินลูกค้าเขารับเงินสด จะทำให้ Cash Flow เป็นบวกตลอดเวลา
Agoda เป็นอีกหนึ่ง Business Model ที่น่าสนใจมาก และใช้วิธีการดำเนินธุรกิจที่เรียกว่า ระยะเวลาหมุนเวียนเงิน เช่นกัน โดยที่ Agoda เก็บเงินค่าโรงแรมจากคนที่จองห้องพักก่อน แต่จ่ายให้โรงแรมหลังจากที่ลูกค้าเข้าไปโรงแรมแล้ว
ถ้าในประเทศไทย Business Model ที่ใช้วิธีการดำเนินธุรกิจที่เรียกว่า ระยะเวลาหมุนเวียนเงิน คือ 7-11 ร้านสะดวกซื้อแห่งนี้รับเงินสดจากลูกค้า อีกทั้งยังมีรูปแบบที่เติมเงินผ่านบัตรสมาชิก ทำให้มีเงินทุนมุนเวียนจำนวนมาก แต่จ่ายให้เหล่า Suppliers ทีหลัง ในการทำธุรกิจประเภทนี้ บริษัทจะต้องมีเวลารับเงินจากลูกค้านานกว่าที่จะจ่ายเงินให้ suppliers ส่งผลให้สามารถสร้างกำไรได้เร็วก่อนที่จะต้องนำเงินนั้นไปจ่ายให้กับ suppliers เพื่อที่จะได้นำสินค้าเหล่านั้นกลับมาขายให้ลูกค้าต่ออีกที
“เซเว่นเองจะนำสินค้าทั้งหมดมาลงที่ร้านก่อน หลังจากนั้นเมื่อขายสินค้าและได้เงินจากลูกค้าแล้ว จึงค่อยนำเงินที่ได้นั้นไปจ่ายให้กับเจ้าของสินค้าอีกที ซึ่งระยะเวลาที่เซเว่นต้องรอจ่ายเงินให้กับเจ้าของนั้น เซเว่นสามารถนำเงินไปหมุน หรือไปทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นก่อนได้ ซึ่งธุรกิจประเภทนี้จะช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับตัวธุรกิจเอง เช่น การลงทุนใหม่ๆ” ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด อธิบายเพิ่มเติม

ระยะเวลาหมุนเวียนเงิน = ช่วงเวลาขายสินค้า + ช่วงเวลารับเงิน – ช่วงเวลาจ่ายเงิน
Cash conversion cycle = Inventory conversion period (ICP) + Receivable conversion period (RCP) – Payables conversion period (PCP)
ข้อควรระวัง
- ต้องมั่นใจว่าธุรกิจเรานั้นมีเงื่อนไขในการชำระเงินที่เป็นประโยชน์กับผู้ขาย
- ต้องมั่นใจว่าลูกค้าเรานั้นจะจ่ายเงินทันที
ส่วนในการทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั้น สามารถนำกลยุทธ์ Build-to-order หรือสินค้าสั่งทำ มาใช้ได้ เพื่อทำให้สต๊อกหรือการเก็บสินค้าเอาไว้ในคลังให้สั้นที่สุด (short stock turnover time)
เช็คเงินสดก็เป็นกลยุทธ์สร้างกำไรจาก ‘ระยะเวลาหมุนเวียนเงิน’ ของธนาคาร
ธนาคารที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จะเป็นคนเก็บเงินจากผู้ถอนเงินแล้วจ่ายให้กับผู้รับเงินหลังจากที่นำเช็คไปขึ้นเงินแล้ว ทำให้เช็คเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกำไรเพิ่มขึ้นโดยใช้ระยะเวลาหมุนเวียนเงิน หรือแม้แต่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เอง Dell ก็ใช้กลยุทธ์ Build-to-order เพื่อให้ negative cash conversion cycle นั้นประสบความสำเร็จ โดยมีหลักการดังนี้
- ระยะเวลาที่รับออเดอร์จากลูกค้า t=o
- ระยะเวลาผลิตสินค้าตามออเดอร์ให้ลูกค้ารวมถึงการจัดส่งสินค้า (เช่น ระยะเวลา 10 วัน)
- ระยะเวลาที่ลูกค้าได้รับของ
- ระยะเวลาที่จ่ายเงินให้ suppliers
ในระหว่างที่มีการผลิตสินค้า Dell จะได้เงินจากการชำระสินค้ามาแล้ว ซึ่งสามารถนำเวลาเหล่านั้นไปทำกำไรอย่างอื่นได้ก่อนที่จะถึงระยะเวลาที่จะต้องจ่ายเงินให้กับ suppliers เป็นธุรกิจที่เหมาะกับบริษัทที่มีอำนาจในการต่อรองจ่ายเงินรูปแบบต่างๆ ให้กับ suppliers เพราะปัจจุบันลูกค้าเองก็มักจะนิยมจ่ายเงินก่อนแล้วค่อยรับสินค้าไปในวันหลัง
ออกแบบ Business Model Canvas ฟรี!
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/
