“E- Market Place Platfrom” ตัวช่วยเติมเต็มรายได้ธนาคาร?? (มีคลิป)

    โดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด

เรื่องข้อมูลส่วนตัวในบัตรประชาชนถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นในการพูดคุยครั้งที่แล้ว เป็นเรื่องที่หลาย ๆคนให้ความสนใจเพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ชิดตัวเรามาก ๆ ซะจนกระทั่งถูกมองข้ามไม่ใส่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะดำเนินการอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น วันนี้ (7 ก.พ.)ไปร่วมพูดคุยกันต่อกับรายการ  SME CHAMPION ทางคลื่น FM. 89.5 สถานีวิทยุราชมงคล ธัญบุรี

ต้องขอเรียนว่าถ้ามองในแง่ของโลกที่เป็น Off Line การให้บัตรประชาชนหรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีชื่อสกุล เบอร์โทร อีเมล์ เลขที่บัตรประชาชน ต้องบอกว่าถ้ามีเลขบัตรประชาชนด้วยเป็นเรื่องน่าซีเรียส

เพราะฉะนั้นเวลาไปไหนก็แล้วแต่ที่เขาต้องขอข้อมูลจากเราแบบนี้ ก็ต้องดูก่อนว่าคนขอมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน แล้วเอาไปใช้อะไร อย่างกรณีขึ้นตึกที่เราได้คุยกันก่อนหน้านี้ ถ้าแค่แลกบัตรแล้วไม่ได้ถ่ายพร้อมบัตรหรือสแกนอย่างนั้นก็โอเค แต่ถ้าสแกนเมื่อไหร่ซีเรียสทันที

ทีนี้มาดูบนโลกออนไลน์ต้องบอกว่าความซีเรียสมันจะมากกว่านั้น ซึ่งบนโลกออนไลน์เรามักเผลอบ่อย ๆจากการสมัครขอข้อมูลกดลิงค์ บางทีเราไม่ได้สมัครขอข้อมูลอะไรเลยแต่ไปดาวน์โหลดพวกไฟล์อะไรต่าง ๆแล้วให้ข้อมูลไป

ถ้าเขาขอแค่ตัวชื่อ สกุล อีเมล์ หรือเบอร์โทรฯก็ยังไม่มีปัญหา แต่ข้อควรระวังก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาขออีเมล์เราแล้วขอให้เราตั้งรหัส ซึ่งรหัสที่ให้ควรเป็นรหัสคนละรหัสที่เราใช้เข้าอีเมล์เรา หรือเป็นรหัสที่เราใช้ในการทำธุรกรรมอื่น ๆของเรา ควรเป็นรหัสคนละชุดเลย

ทีนี้หลายคนอาจจะบอกว่ารหัสเยอะแล้วหากลืมขึ้นมาจะทำอย่างไร ก็ขอเรียนว่าไม่ต้องกลัวเวลาลืม เพราะมันจะมีปุ่ม ๆหนึ่งบอกว่าลืมรหัสกดปุ๊บมันจะส่งกลับมาที่อีเมล์ที่เราให้ไว้ เราก็ไปตั้งรหัสใหม่

“ผมนี่ลืมประจำเพราะมันหลายตัวแล้วไม่เคยจำด้วย อย่างผมซื้อสินค้าบริการจากอะเมซอนซึ่งก็ไม่ได้ซื้อทุกวัน ผมตั้ง Password แล้วลืมแต่ Password นั้นมันใช้อีเมล์ แต่ตัว User ใช้อีเมล์ผมตัว Password นี่ไม่เกี่ยว

ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมจำไม่ได้ผมก็กดลืมรหัส มันก็จะส่งลิงค์กลับมาที่อีเมล์ต้นทางให้ผมกรอกรหัสไปใหม่เป็นการยืนยันใหม่เหมือนใช้ครั้งต่อครั้ง อันนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งสั้น ๆง่าย ๆ เพราะฉะนั้นตั้งรหัสอย่าซ้ำกลับรหัสอีเมล์ หรือรหัสที่ใช้กับธนาคารนะครับ ใครที่ใช้อยู่ก็รีบเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย ถ้าไม่เกิดอะไรก็ดีหน่อย แต่ถ้าเกิดแย่เลยครับ”

มาถึงอีกประเด็นที่น่าสนใจ นั่นคือกรณีที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาพูดถึงเรื่อง E- Market Place Platfrom หลายคนคงสงสัยว่ามันคือใคร ไปร่วมหาคำตอบกันในเรื่องนี้กันเลยดีกว่าว่าสิ่งนี้มันช่วยะไร ดีแค่ไหน อย่างไร

ต้องเรียนว่าตัว E- Market Place Platfrom นั้น จริง ๆไม่ต้องไปขอแบงค์ชาติ อย่างเช่นกรณีของ Lasada นี่ก็เป็น  E- Market Place Platfrom ฯลฯ แต่สิ่งที่แบงค์ชาติอนุญาตคืออนุญาตให้ธนาคารฯกับบริษัทลูกของธนาคารทำE- Market Place Platfrom ได้

คือเดิมทีแบงค์ชาติไม่อนุญาตให้ธนาคารฯทำอย่างอื่นนอกจากการเป็นธนาคาร หรือถ้ามีบริษัทลูกก็ให้บริษัทลูกทำอะไรที่มันเกี่ยวเนื่องกับธนาคารเท่านั้น ห้ามไปเปิดทำอย่างอื่นเช่นถ้ามีบริษัทขนส่งก็ขนส่งเงิน ห้ามขนส่งอย่างอื่น นี่คือหลักการของแบงค์ชาติที่ได้ให้ไว้กับธนาคารฯ

ทีนี้วันนี้ธนาคารฯมีรายได้ลดลงอย่างตามที่เป็นข่าวช่วง 1-2 สัปดาห์ที่แล้ว เราพูดถึงเรื่อง SCB บอกว่ารีบเปลี่ยนตัวเอง ลดสาขา หารายได้จากทางอื่นนี่คือเรื่องเดียวกัน คือว่าแบงค์ชาติอนุญาตให้ทุกแบงค์เปิด E- Market Place Platfrom

ทีนี้วิธีแบงค์เปิด  E- Market Place Platfrom ก็คือว่าเปิดจากแอพฯนี่แหละ เพราะทุกธนาคารฯเขามีแอพฯอยู่แล้ว เขาให้ซื้อขายสินค้าอีคอมเมิร์ทผ่านแอพฯของแบงค์ได้ แบงค์ก็เอาลูกค้าที่เป็นฝั่งสินเชื่อมาขายของให้กับฝั่งที่เป็นคอนซูเมอร์ หรือฝั่งสินเชื่อกับฝั่งสินเชื่อที่เป็นบิสซิเนสกับบิสซิเนสมาเจอกันมาซื้อขายกัน ก็แค่นี้เองโดยหลักการ

“จริง ๆแล้ว  E- Market Place Platfrom คือช่องทางในการซื้อขายเพียงแต่ว่าคนที่เป็นเจ้าของตัว E- Market Place Platfrom จะไม่ได้ผลิตสินค้าของตัวเองมาขายในเงื่อนไขของแบงค์ชาติ คือไม่ให้แบงค์ผลิตสินค้าของตัวเองออกมาขาย แล้วก็ไม่ให้แบงค์ทำหน้าที่ลอจิสติกขนส่งให้ลูกค้า หลักการมีแค่นี้เอง”

ซึ่งมันจะทำให้แบงค์มีรายได้จากค่าธรรมเนียมในการที่คนซื้อสินค้า มีรายได้จากค่าธรรมเนียมอื่นๆเพิ่มขึ้น แล้วแบงค์ก็จะเข้าใจว่าลูกค้าตัวเองคนไหนขายของดีไม่ดี ถ้าขายของดีแล้วไม่มีเงินก็ปล่อยสินเชื่อต่อได้อีก

ขณะที่ฝั่งเป็นคอนซูเมอร์ใครที่ใช้บัตรเครดิตอยู่แล้วก็รูดบัตรเครดิตของแบงค์ไป แล้วผ่อนจ่าย แบงค์ก็ได้ หลายอย่างมาจากโมเดลนี้ ทีนี้แบงค์เองก็มีต้นทุนในการโปรโมทต่ำ ลูกค้านี่ใช้แอพฯอยู่แล้วไง ทุกวันนี้คนเริ่มใช้แอพฯของธนาคารในการทำธุรกรรมต่าง ๆเยอะมากขึ้น เพราะฉะนั้นอันนี้มันไม่เหมือน LASADA เขาโปรโมทเยอะมาก เพื่อให้คนรู้ว่ามีสินค้าอะไร มีโปรโมชั่นอะไร แต่ว่าในแง่ของแบงค์ต้นทุนตรงนี้ต่ำ

ทีนี้มันก็มีประเด็นคำถามว่าแล้วธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้ประโยชน์มั้ย บอกเลยว่าได้ประโยชน์เต็ม ๆ เพราะเอสเอ็มอีก็ต้องไปเปิดกับธนาคาร 6 ธนาคาร ซึ่งได้แก่ กสิกรไทย ,SCB กรุงไทย,กรุงศรี ฯลฯ แบงค์เหล่านี้ก็สามารถทำตรงนี้ได้

ฉะนั้นใครเป็นเอสเอ็อีก็ไปเปิดบัญชีกับทุกแบงค์ เพราะว่าถ้าเราไม่ไปเปิดบัญชีกับทุกแบงค์เราก็ไม่มีสิทธิไปขายของไง  เพราะว่าเขาก็ต้องเลือกลูกค้าเขาก่อนเหมือนกับที่มีคนถามว่าไปขายอีคอมเมิร์ทกับ Platfrom ไหนดีก็ต้องบอกว่าขายมันทุก Platfrom แหละ

“ที่ไหนที่มีตลาดเราก็ไปที่นั่น คือถ้าต้นทุนไม่สูงก็ไปที่นั่น เพียงแต่ว่าเวลาโฟกัสอาจจะโฟกัสที่ไหนก็ตามที่มีลูกค้าซื้อคุณก็ไปที่นั้นก่อน ส่วนการไปเปิดร้านนะเปิดได้ทุกที่ต้นทุนมันนิดเดียว แล้วผมคิดว่าช่วงแรกทางแบงค์คงเปิดโปรโมชั่นให้ทุกคนไปเปิดร้านฟรี เพียงแต่ว่าสินค้าต้องมีคุณภาพ”

น่าสนใจมาก ๆเลยสำหรับเอสเอ็มอีเพราะมีตลาดเพิ่มขึ้นมหาศาล แล้วรับรองว่าไม่มีการเบี้ยวเงินเพราะลูกค้าต้องเปิดบัญชีกับแบงค์อยู่แล้ว คนซื้อก็มีบัญชีกับแบงค์ คนซื้อก็มั่นใจว่าคนขายมันไม่เบี้ยวแน่ เพราะว่าคนขายมันก็ลูกค้าแบงค์ เพราะถ้าเบี้ยวคุณหมดสิทธิ์ได้สินเชื่อเลยนะ เพราะนั้นมันเป็น Eco System คือระบบนิเวศน์ที่ดีในแง่ของการอีคอมเมิร์ท ซึ่งเรื่องนี้ผมพูดมาประมาณ 2-3 ปีแล้วกับบางแบงค์ว่าต้องทำเรื่องนี้อย่างจริง ๆจัง ๆครับ