Business Model ตอนที่ 17 ขยายแบรนด์ให้แข็งแกร่งด้วย ‘โมเดลแฟรนไชส์’

Business Model ตอนที่ 17 ขยายแบรนด์ให้แข็งแกร่งด้วย ‘โมเดลแฟรนไชส์’

เมื่อพูดถึงระบบ แฟรนไชส์ มันทำให้คุณเห็น Business Model แบบไหนกัน หลายคนต้องคิดถึงแฟรนไชส์บะหมี่หรือลูกชิ้นแน่ๆ เพื่อสำหรับฉันแล้วกับนึกถึงธุรกิจอย่างสตาร์บักส์ เคเอฟซี และแมคโนนัลด์มากกว่า หรือหากเป็นของไทยก็คงเป็นคาเฟ่อะมาซอน

เมื่อพูดถึงระบบแฟรนไชส์มันทำให้คุณเห็น Business Model แบบไหนกัน? 

มั่นใจได้เลยว่าหลายคนต้องคิดถึงแฟรนไชส์บะหมี่หรือลูกชิ้นแน่ๆ 

แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่แค่นั้น เพราะที่ Digital Business Consult นึกถึงก็คือ รูปแบบ Business Model อย่างสตาร์บักส์ เคเอฟซี หรือแมคโนนัลด์มากกว่า  ซึ่งหากเป็นของไทยก็คงเป็นคาเฟ่อะมาซอนจาก ปตท.

ระบบของธุรกิจแฟรนไชส์ค่อนข้างทำให้ Business Model ในธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดมาก เมื่อเลือกใช้อย่างเหมาะสม ยิ่งโมเดลของต่างประเทศธุรกิจฟาสต์ฟู้ดตะวันตก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่เขาใช้ Business Model นี้มากว่า 100 ปีแล้ว หรือแม้กระทั่งแบรนด์ชาไข่มุกยังเลือกส่งออกแบรนด์ด้วยระบบแฟรนไชส์เลย ใครที่ยังตีกรอบว่าระบบแฟรนไชส์ไม่รุ่งอาจต้องคิดใหม่

 

กลับมาที่จุดแข็งสำหรับผู้ประกอบการที่มองหาการขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดดทำไมจึงควรเลือก Franchising ในการวาง Business Model รู้ไหม?

ไม่ใช่ประโยชน์แค่เหมาะกับธุรกิจที่การขยายสาขาไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่เพราะคุณสามารถส่งออกไม่ใช่แค่สินค้าและบริการ แต่เป็นการส่งออกแบรนด์ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าเหมือนการส่งออกสินค้าและบริการแบบทั่วไป เนื่องจากระบบแฟรนไชส์นั้นสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในประเทศที่เจ้าของแฟรนไชส์เข้าไปทำธุรกิจ

 

ระบบ Franchising เป็นแบบนี้

            เจ้าของสิทธิ์หรือเจ้าของกิจการ (Franchisor) ให้สิทธิ์รับสิทธิ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบบริหารแบบเดียวกันกับธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์

*เหตุผลนี้จึงทำให้ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) จะได้รับประโยชน์จากเจ้าของสิทธิ์ในแง่ของกระบวนการผลิตสินค้า อุปกรณ์ เครื่องหมายการค้า ความรู้ต่างๆ ในเรื่องการขายและการตลาด ภาพลักษณ์ และชื่อเสียง เป็นต้น

 

สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อมคือ Franchise Organization

Franchise Organization คือ ทีมจากเซ็นเตอร์กลางของบริษัทแม่เจ้าของกิจการ (Franchisor) เป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะที่ทำให้แบรนด์แฟรนไชส์ของไทยไปไหนไม่ไกล และไม่แกร่งพอก็มาจากการไม่มีส่วนนี้ไม่โมเดลธุรกิจหรือบริหารไม่ดีพอ

โครงสร้างของ Franchise Organization ประกอบไปด้วย

  1. Franchise Team ดูแลกำกับเรื่องการใช้จ่ายส่วนกลางและทำให้เหล่า Franchisee สามารถดำเนินธุรกิจไปต่อได้ เพื่อให้ระบบแฟรนไชส์ไม่ล้ม เป็นเหมือนหน่วย Business Development นั่นเอง
  2. Operation Support คอยดูแลเหล่า Franchisee
  3. Marketing Support ดูแลเรื่องการสร้างฐานลูกค้าในแต่ละสาขาของ Franchisee
  4. Technical Support ทำหน้าที่เรื่องของเครื่องไม้เครื่องมือ ระบบต่างๆ และ Store
  5. Legal Support ดูแลเงื่อนไขสัญญาและคอยตรวจดูสาขาของ Franchisee
  6. Admin ประสานงานต่างๆ

แหล่งที่มารายได้ของ Franchisor จึงไม่ได้มาจากแค่การขายสินค้าและบริการเท่านั้น แต่ยังมาจากขายสิทธิ์ให้ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) กำไรและรายได้จากการมีแฟรนไซส์อยู่ทั่วโลก

 

ธุรกิจใดบ้างที่เหมาะกับ Franchise Business Model

ธุรกิจประเภทร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น Subway, pizza hut, KFC, Starbucks, McDonalds หรือร้านสะดวกซื้อต่างเช่น 7-11 ก็เลือกที่จะใช้โมเดลแบบแฟรนไชส์ขยายกิจการไปทั่วโลก ตัวอย่างเช่น McDonalds ที่เปิดให้บริการทั่วทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ซึ่งแฟรนไซส์ของร้านนั้นจะได้รับสูตรอาหาร ข้อมูลต่างๆ อุปกรณ์ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งร้านอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ ซึ่งกลายมาตรฐานที่ไม่ว่าร้านไหนก็ต้องปฏิบัติตาม โดยเจ้าของสิทธิ์ McDonalds นั้นจะได้กำไรและรายได้จากการที่มีแฟรนไซส์อยู่ทั่วโลก

นอกจานี้ แม้แต่ธุรกิจโรงแรมเองก็อาศัยการทำแฟรนไซส์เข้ามาเปิดกิจการโรงแรมในประเทศอื่นๆ ซึ่งโรงแรมนั้นก็จะมีมาตรฐานที่กำหนดไว้เหมือนกันหมดทั่วทุกประเทศ โดยทำให้ง่ายต่อการควบคุมคุณภาพและบริการต่างๆ

การจะทำธุรกิจแฟรนไซส์นั้น จึงต้องมั่นใจก่อนว่า Business พร้อมที่บริหารและจัดการแบรนด์เหล่านั้นให้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ตามมาตราฐานที่จะต้องรักษาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์เหล่านั้นเสียชื่อเสียง

 

 

DIGITAL BUSINESS CONSULT

สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/