Freemium กลายเป็นหนึ่งใน Business Model แปลกใหม่ที่ร้อนแรงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสาย Startup หรือพวก Technology

- Posted in
Business Model ตอนที่ 18 ตีแผ่กลยุทธ์ Freemium
-
- Posted byby sukchai
- 1 minute read
Freemium กลายเป็นหนึ่งใน Business Model แปลกใหม่ที่ร้อนแรงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสาย Startup หรือพวก Technology
เบื้องหลัง Freemium จริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่?
ฟรีเมี่ยมเป็นการผสมคำกันระหว่าง Free และ Premium ซึ่งธุรกิจประเภทนี้มักจะเสนอบริการขั้นพื้นฐานหรือฟังค์ชั่นแบบทั่วไปให้กับลูกค้าก่อน แต่ถ้าลูกค้าต้องการที่ใช้บริการเพิ่มหรือฟังค์ชั่นอื่นๆ ลูกค้าก็จะต้องจ่ายเงินเพิ่ม
สมัยนี้มีหลาย Business มากๆ ที่เริ่มใช้แนวนี้จากเดิมที่ใช้ระบบสมาชิก (Member) หรือการรับเงินจากลูกค้าหลังขายสินค้าและบริการ ก็แทนที่ด้วยโมเดลที่ทำให้คุณได้เงินล่วงหน้ามาแทน เช่น บรรดาแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน ที่ให้ลูกค้าดาวน์โหลดมาใช้ฟรีแต่ถ้าต้องการคุณสมบัติที่ Beyond มากขึ้นก็ต้องเสียเงินมากขึ้นกลายเป็น Free + Premium
ยุทธศาสตร์หาเงิน Freemium ของไมโครซอฟท์
ในปี 2015 บริษัทเทคโนโลยีเบอร์หนึ่งระดับโลกอย่าง ไมโครซอฟ ได้เปิดเผยยุทธศาสตร์ในโมเดลธุรกิจตามการรายงานของ The Verge ว่า พวกเขาใช้ยุทธศาสตร์ฟรีเมี่ยม เพื่อหาเงินแทนการขายซอฟต์แวร์แบบเดิม และเชื่อว่าระบบการรับจ้างผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วนให้กับแบรนด์ต่างๆ (Original Equipment Manufacturer : OEM) ใช้งานไม่ได้แล้วในโครงสร้าง Business Model ของโลกปัจจุบัน
“ไมโครซอฟท์เริ่มจากลยุทธ์แรกคือ การแจก Office for iPad ให้ใช้ฟรี เพื่อสร้างฐานผู้ใช้ (Acquire) จากนั้นทำให้ผู้ใช้หมั่นใช้งานต่อเนื่อง และทำการเก็บ Data เพื่อหาว่าใครเป็นแฟนของไมโครซอฟท์ที่ใช้งานอย่างเหนียวแน่น เป็นกลยุทธ์เพื่อบอกตากการกระจาย Product ไปยังผู้อื่น และหาว่าผู้ใช้ใดบ้างที่ยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้ฟีเจอร์เพิ่ม”
โดย Data ที่ได้มาจะกลายเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการทำฟรีเมียม ผ่านอัตราส่วนของการเข้าชมเว็บไซต์หรือเนื้อหา การลงชื่อสมัคร และยอดดาวน์โหลด พวกนี้คือการกระทำบางอย่างที่เราต้องการจากผู้ที่ใช้งาน (Conversion rate) ซึ่งเราสามารถวัดจำนวนของลูกค้าที่ใช้ฟรีหรือเสียเงินได้
ทำไมกลยุทธ์ฟรีเมียม จึงประสบความสำเร็จถล่มทลาย?
- ทุกคนชอบของฟรี ส่วนสิ่งที่ผู้บริโภคเสียไม่ใช่เงิน แต่คือข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเล็กๆ น้อย ซึ่งสำหรับธุรกิจแล้ว ข้อมูลของลูกค้า โดยเฉพาะส่วนของ พฤติกรรม คือสิ่งที่ธุรกิจยุคใหม่ต้องการมากที่สุด และ ฟรีเมี่ยม ได้เข้ามาทำลายข้อกำจัดในการที่ผู้บริโภคหวงแหนข้อมูลส่วนตัวเป็นยอมมอบให้แบรนด์ ผ่านการลงทะเบียน สมัครสมาชิก เพื่อแลกกับการได้ใช้สินค้าและบริการแบบฟรีๆ หากไม่ต้องการเสียเงินก็เพียงไม่ต้องอัพเกรด
- ของเคยมีจนชิน ถ้าใช้จนเข้ามือและมันแก้ไขบางอย่างให้ชีวิตลูกค้าสบายขึ้น สุดท้ายพวกเขาก็ต้องยอมจ่าย และบอกเลยว่าโมเดลนี้ไม่ได้ถูกจำกัดแค่วงการเทคโนโลยีหรือซอฟท์แวร์เท่านั้น ทุกวันนี้สื่อก็เริ่มแล้ว เช่น Netflix และ AIS Play ที่ทดลองให้ผู้ใช้งานดู Series และภาพยนตร์ฟรีก่อน 1 เดือนจากนั้น จะเก็บเงินในเดือนถัดไป
- Freemium กระจายได้เร็วเหมือนไวรัลคอนเทนต์ ยุคโซเชียลมีเดียคือยุคของสินค้าดีบริการดีต้องแชร์หรือบอกต่อ เมื่อมีบริการใหม่ๆ (ยิ่งฟรีด้วย) นั่นหมายถึงคุณแทบไม่ต้องมีต้นทุนในการโปรโมทมากเลย ของฟรีเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนบอกต่อๆ กันอยู่แล้ว
ในปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจนิยมนำฟรีเมี่ยมมาใช้ จากการเข้าถึงของอินเทอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทกับคนมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการจะใช้บริการออนไลน์ต่างๆ ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรามักจะเจอบริการแบบฟรีเมียมในแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Spotify, Dropbox, Joox, Netflix และ Skype เป็นต้น ที่มีโมเดลคล้ายๆ กับไมโครซอฟท์อย่าง Spotify ที่ให้บริการฟังเพลงออนไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถฟังเพลงได้ฟรีตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้าลูกค้าใช้บริการแบบฟรีเมี่ยม ลูกค้าสามารถฟังเพลงได้ไม่จำกัดพร้อมกับเพลงที่มีคุณภาพสูง ไม่มีโฆษณาคั่น รวมถึงยังสามารถโหลดเพลงไว้ฟังแบบออฟไลน์ได้อีกด้วย หรือ Dropbox ที่เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์จัดเก็บข้อมูลออนไลน์หรือ Cloud storage ที่เป็นที่นิยมเว็บหนึ่ง ในตอนแรกหลังจากลูกค้าสมัครบริการแล้ว Dropbox จะให้พื้นที่ในการจะเก็บไฟล์ฟรีมาในจำนวนหนึ่ง ถ้าหากลูกค้าต้องการพื้นที่เพิ่มก็จะต้องค่าบริการเพิ่ม หรืออัพเกรดมาเป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง เพื่อให้ได้รับการบริการแบบฟรีเมียม
DIGITAL BUSINESS CONSULT
สร้างโอกาสทางธุรกิจในยุค Digital ด้วยชุดความรู้จากประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ให้คุณทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีแบบแผน และเป็นรูปธรรม จัดตั้งและบริหารโดย ดร.โดม อุดมธิปก ไพรเกษตร เพื่อสนับสนุนที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ SMEs และนักการตลาดรุ่นใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ประยุกต์แนวคิด และใช้เครื่องมือ Digital เพื่อให้คุณดำเนินธุรกิจก้าวทัน Digital 4.0 ในปัจจุบัน
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกเสนอโดย Alexander Osterwalder จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้น Business Model Ontology ซึ่งเป็นการสรุปและออกแบบจำลองธุรกิจหรือ Business Model แบบให้เห็นภาพชัดเจน สามารถใช้ได้ทั้งกับธุรกิจของเราและคู่แข่ง ผ่านการประเมินธุรกิจที่มีฟังก์ชัน 9 ช่อง คลิกเลย! https://bmc.digitalbusinessconsult.asia/
